เมนู

อรรถกถาวีสตินิบาต


1. อรรถกถาอัมพปาลีเถรีคาถา


ในวีสตินิบาต คาถาว่า กาฬกา ภมรวณฺณสทิสา เป็นต้น
เป็นคาถาของ พระอัมพปาลีเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ
สร้างสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆ บรรพชาอุป-
สมบทในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี สมาทานสิกขาบทของ
ภิกษุณีอยู่ วันหนึ่ง ไหว้พระเจดีย์ ทำประทักษิณเวียนขวา เมื่อพระขีณา-
สวเถรีเดินไปก่อน พลันถ่มน้ำลาย ก้อนน้ำลายก็ตกไปที่ลานพระเจดีย์ พระ
ขีณาสวเถรีไม่เห็นก็เดินไป ภิกษุณีรูปนี้. เดินไปข้างหลังเห็นก้อนน้ำลายนั้นก็
คำว่า อีแพศยาชื่อไรนะ ถ่มน้ำลายลงที่ตรงนี้ ภิกษุณีรูปนี้ รักษาศีลในเวลา
เป็นภิกษุณี เกลียดการเข้าอยู่ในครรภ์ ก็ตั้งจิตไว้ให้อยู่ในอัตภาพเป็นอุปปา-
ติกะ. ด้วยการตั้งจิตนั้น ในอัตภาพสุดท้าย ภิกษุณีรูปนั้น ก็บังเกิดเป็น
อุปปาติกะ ที่โคนต้นมะม่วง ในพระราชอุทยาน กรุงเวสาลี. พนักงานเฝ้า
อุทยานเห็นเด็กหญิงนั้นก็นำเข้าพระนคร. เพราะบังเกิดที่โคนต้นมะม่วง นาง
จึงถูกเรียกว่า อัมพปาลี. ครั้งนั้น พวกพระราชกุมาร [เจ้าขาย] มากพระ
องค์ เห็นนางสะสวยน่าชมน่าเลื่อมใส ทั้งแสดงคุณพิเศษมีเสน่ห์น่ารักน่าใคร่
เป็นต้น ต่างก็ปรารถนาจะทำให้เป็นหม่อมห้ามของตนๆ จึงเกิดทะเลาะวิวาทกัน
คณะผู้พิพากษาได้รับคำฟ้องของนาง เพื่อระงับการทะเลาะวิวาทของพวกราช-
กุมารเหล่านั้น จึงตั้งนางไว้ในตำแหน่งคณิกาหญิงแพศยา ว่าจงเป็นของทุกๆคน.
นางได้ศรัทธาในพระศาสดาสร้างวิหารไว้ในสวนของตน มอบถวายแก่ภิกษุ-

สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ภายหลัง ฟังธรรมในสำนักของพระวิมล-
โกณฑัญญเถระ บุตรของตน ก็บวชเจริญวิปัสสนา อาศัยความที่สรีระของตน
คร่ำคร่าลง เพราะชรา ก็เกิดสังเวชใจ เมื่อจะชี้แจงถึงความที่สังขารไม่เที่ยง
อย่างเดียว จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้ามีสีดำเสมือนสีแมลงภู่
มีปลายงอน เดี๋ยวนี้ ผมเหล่านั้นก็กลายเป็นเสมือน
ป่านปอ เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน มวยผมของข้าพเจ้าเต็มด้วยดอกไม้
หอมกรุ่น เหมือนผอบที่อบกลิ่น เดี๋ยวนี้ ผมนั้นมี
กลิ่นเหมือนขนแพะ เพราะชรา พระดำรัสของพระ-
พุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็น
อื่น.
แต่ก่อน ผมของข้าพเจ้าดกงามด้วยปลายที่รวบ
ไว้ด้วยหวีและเข็มเสียบ เหมือนป่าไม่ทึบที่ปลูกไว้
เป็นระเบียบ เดี๋ยวนี้ ผมนั้นก็บางลงในที่นั้น ๆ เพราะ
ชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน มวยผมดำ ประดับทอง ประดับด้วย
ช้องผมอย่างดี สวยงาม เดี๋ยวนี้ มวยผมนั้น ก็ร่วง
เลี่ยนไปทั้งศีรษะเพราะชรา พระดำรัสของพระ-
พุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปร
เป็นอื่น.

แต่ก่อน คิ้วของข้าพเจ้าสวยงามคล้ายรอยเขียน
ที่จิตรกรบรรจงเขียน เดี๋ยวนี้ กลายเป็นห้อย ย่นลง
เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ
จริง เป็นคำจริงแต่ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน ดวงตาทั้งคู่ของข้าพเจ้าดำขลับมีประ-
กายงาม คล้ายแหวนมณี เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำลายเสีย
แล้วจึงไม่งาม พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่
ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน เมื่อวัยสาว จมูกของข้าพเจ้าโด่งงาม
เหมือนเกลียวหรดาล เดี๋ยวนี้ กลับเหี่ยวแฟบ เพราะ
ชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง
เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน ใบหูทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเหมือน
ตุ้มหูที่ช่างทำอย่างประณีตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เดี๋ยวนี้
กลายเป็นห้อยย่น เพราะชรา พระดำรัสของพระ-
พุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปร
เป็นอื่น.
แต่ก่อน ฟันของข้าพเจ้าสวยงามเหมือนหน่อตูม
ของต้นกล้วย เดี๋ยวนี้กลับหักดำ เพราะชรา พระดำรัส
ของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้
ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน ข้าพเจ้าพูดเสียงไพเราะเหมือนนก
ดุเหว่า ที่มีปกติเที่ยวไปในไพรสณฑ์ในป่าใหญ่ ส่ง


เสียงร้องไพเราะ เดี๋ยวนี้ คำพูดของข้าพเจ้า ก็พูด
พลาดเพี้ยนไปในที่นั้น ๆ เพราะชรา พระดำรัสของ
พระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแต่ ไม่
แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน คอของข้าพเจ้าสวยงามกลมเกลี้ยง
เหมือนสังข์ขัดเกลี้ยงเกลาดีแล้ว เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
งุ้มค้อมลง เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้
ตรัส แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน แขนทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม
เปรียบเสมือนไม่กลอน กลมกลึง เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
ลีบเหมือนกึ่งแคคด เพราะชรา พระดำรัสของพระ-
พุทธเจ้าตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็น
อย่างอื่น.
แต่ก่อน มือทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงาม ประดับ
ด้วยแหวนทองงามระยับ เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเสมือน
เหง้ามัน เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
แต่ความจริง เป็นคำจริงแต่ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน ถันทั้งสองของข้าพเจ้าอวบอัดกลมกลึง
ประชิดกันและงอนสล้างสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
หย่อนยานเหมือนถุงหนังที่ไม่มีน้ำ เพราะชรา พระ-
ดำรัสของพระพุทธเจ้า ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริง
แท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน กายของข้าพเจ้าเกลี้ยงเกลาดังแผ่นทอง
สวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็นสะพรั่งด้วยเส้นเอ็นอัน

ละเอียด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน ขาอ่อนทั้งสองข้างของข้าพเจ้าสวยงาม
เปรียบเหมือนงวงช้าง เดี๋ยวนี้ กลายเป็นเหมือนข่อ
ไม้ไผ่ เพราะชรา พระดำรัวของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส
แต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน แข้งทั้งสองของข้าพเจ้าประดับด้วย
กำไลทองเกลี้ยงเกลาสวยงาม เดี๋ยวนี้ กลายเป็น
เหมือนต้นงาขาด เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธ-
เจ้าผู้ตรัสแต่ความจริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
แต่ก่อน เท้าทั้งสองของข้าพเจ้าสวยงามเปรียบ
เสมือนรองเท้าหุ้มปุยนุ่น เดี๋ยวนี้ แตกเป็นริ้วรอย
เพราะชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสแต่ความ
จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.
บัดนี้ ร่างกายนี้ เป็นเช่นนี้ คร่ำคร่าเป็นแหล่ง
ที่อยู่แห่งทุกข์เป็นอันมาก ปราศจากเครื่องลูบไล้ เป็น
เรือนชรา พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ตรัส แต่ความ
จริง เป็นคำจริงแท้ ไม่แปรเป็นอื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬกา แปลว่ามีสีดำ. บทว่า
ภมรวณฺณสทิสา ความว่า ผมแม้ดำก็สีเสมือนแมลงภู่ คือเขียวสนิท.
บทว่า เวลฺลิตคฺคา แปลว่า มีปลายงอน อธิบายว่า งอน คือช้อนขึ้นตั้ง
แต่โคนจนถึงปลาย. บทว่า มุทฺธชา แปลว่า ผม. บทว่า ชราย ได้แก่
เพราะชราเป็นเหตุ คือเพราะความงามที่ถูกชราทำลายเสียแล้ว. บทว่า
สาณวากสทิสา ได้แก่ เสมือนป่าน เสมือนปอ ความว่า เสมือนเปลือก

ป่านและเสมือนเปลือกไม้ ดังนี้. บทว่า สจฺจวาทิวจนํ อนญฺญถา
ความว่า พระดำรัสเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง ถูกชราครอบงำไว้ ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสความจริง ความแท้ เป็นคำจริงอย่างเดียวไม่แปร
เป็นอย่างอื่น ความเท็จไม่มีอยู่ในพระดำรัสนั้น.
บทว่า วาสิโต ว สุรภี กรณฺฑโก ความว่า ผมมีกลิ่นหอม
เหมือนกล่องเครื่องประดับ ที่อบให้จับกลิ่น ด้วยดอกไม้ของหอมและผอบ
เป็นต้น. บทว่า ปุปฺผปูร มม อุตฺตมงฺคภูโต ความว่า แต่ก่อนมวยผม
ของข้าพเจ้าไม่มีมลทิน เต็มด้วยดอกไม้มีดอกจำปา ดอกมะลิ เป็นต้น. บทว่า ตํ
ได้แก่สิ่งที่เกิดบนศีรษะคือผม. ต่อมาภายหลังคือบัดนี้ กลายเป็นมีกลิ่นเหมือน
ขนของตนเอง คือกลายเป็นมีกลิ่นเป็นขนตามปกติ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า
สโลมคนฺธิกํ ได้แก่มีกลิ่นเสมอกับขนแพะ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เอฬก-
โลมคนฺธิกํ
มีกลิ่นเหมือนขนแพะ ดังนี้ก็มี.
บทว่า กานนํว สหิตํ สุโรปิตํ ความว่า เหมือนป่าเล็ก ที่มี
ต้นไม้มีกิ่งตรงและยาว ซึ่งอยู่ตอนบน เขาปลูกไว้ดี ชิดกัน ตั้งอยู่ทึบ.
โกจฺฉสูจิวิจตคฺคโสภิตํ ความว่า แต่ก่อนผมมีปลายรวบไว้ด้วยการเสียบ
มวยผมด้วยหวีและเข็มเสียบทอง สวยงาม หรือผมเป็นเสมือนแปรงเพราะดก
ชื่อว่าสวยงามเพราะมีปลายรวบไว้ด้วยเข็มงาที่ซื้อมาจากตลาด. บทว่า ตํ
ได้แก่ ผม. บทว่า วิรลํ ตหึ ตหึ ได้แก่ ที่บาง คือผมร่วงในที่นั้น ๆ
บทว่า กณฺหขนฺ กํ สุวณฺณมณฺฑิตํ ได้แก่ กลุ่มผมดำ ประดับ
ด้วยเครื่องประดับมีวชิระทองเป็นต้น. แต่อาจารย์พวกใดกล่าวว่า ประดับ
ด้วยลูกศรทองสวยงาม ความของอาจารย์พวกนั้น ก็ว่าประดับด้วยการเสียบ
มวยผมด้วยเข็มทองสวยงาม. บทว่า โสภเต สุเวณีหิลงฺกตํ ความว่า
ประดับด้วยช้องผมที่เสมือนมาลัยดอกราชพฤกษ์ อันงาม ย่อมส่องประกายมา

แต่ก่อน. บทว่า ตํ ชราย ขลิตํ สิรํ กตํ ความว่า ศีรษะที่งามอย่าง
นั้นนั้น เดี๋ยวนี้ ถูกชราทำให้เลี่ยนคือ ทำผมให้ร่วง ขาดเป็นฝอยๆ.
บทว่า จิตฺตการสุกตาว เลขิกา ความว่า แต่ก่อนคิ้วของข้าพเจ้า
เหมือนดังรอยเขียนที่จิตรกรช่างศิลป์บรรจงเขียนด้วยสีเขียว. บทว่า โสภเต
สุ ภมุก ปุเร มม
ความว่า แต่ก่อนคิ้วที่สวยของข้าพเจ้าก็นับว่างาม. บทว่า
วลีหิ ปลมฺพิตา ได้แก่ ก็ตั้งห้อยลงเพราะรอยย่นที่เกิดที่ริมหน้าผาก.
บทว่า ภสฺสรา แปลว่ามีประกาย. บทว่า สุรุจิรา แปลว่า งาม
ดี. บทว่า ยถา มณิ แปลว่า เหมือนแหวนตรามณี. บทว่า เนตฺตาเหสุํ
แปลว่า ได้เป็นดวงตาที่งาม. บทว่า อภินีลมายตา แปลว่า เขียวจัด
กว้าง. บทว่า เต ได้แก่ ดวงตา. บทว่า ชรายภิหตา แปลว่า อันชรา
ทำลายเสียแล้ว.
บทว่า สณฺทตุงฺคสทิสี จ ได้แก่ โด่ง งาม และรับกับส่วนแห่ง
ดวงหน้า และอวัยวะนอกนั้น. บทว่า โสภเต ความว่า จมูกของข้าพเจ้า
งามดังเกลียวหรดาลที่ฟันตั้งไว้. บทว่า สุ อภิโยพฺพนํ ปติ ความว่า จมูก
ในสมัยแรกรุ่นที่งามนั้น บัดนี้ก็เป็นเหมือนลดลงและเหมือนถูกกัน [ไม่ให้
โด่ง] เพราะชราห้ามความงามไว้. ด้วยบทว่า กงฺกณํว สุกตํ สุนิฏฺฐิตํ
พระอัมพปาลีเถรี กล่าวหมายถึงความกลมกลึง ประหนึ่งเครื่องประดับปลาย
แขนทอง ที่นายช่างทำอย่างดี. บทว่า โสภเต ก็คือ โสภนฺเต แปลว่า
งาม หรือบาลีก็ว่า โสภนฺเต. คำว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กณฺณปาฬิโย
[กลีบหู] ได้แก่ ใบหู. บทว่า วลิภิปฺปลมฺภิตา ความว่า ก็เหี่ยวย่นเพราะ
ความเหี่ยวที่เกิดขึ้นในที่นั้น ๆ เป็นเกลียวดั่งท่อนผ้าที่บิด ตกห้อยลง.

บทว่า ปตฺตลิมกุลวณฺณสทิสา ได้แก่ ฟัน มีสีและสัณฐานดัง
หน่อตูมของต้นกล้วย. บทว่า ขณฺฑิตา ได้แก่ หัก คือถึงความหัก แตก
หลุดหล่นไป. บทว่า อสิตา ได้แก่ ถึงความเป็นฟันดำ เพราะสีเสียไป.
บทว่า กานนมฺหิ วนสณฺฑจารินี โกกิลาว มธุรํ นิกูชิหํ
ความว่า ส่งเสียงพูดจาไพเราะดังนกดุเหว่า เที่ยวหาอาหารอยู่ในป่า จับกิ่งไม้
ร้องเพลงอยู่ในป่า. บทว่า ตํ ได้แก่ พูดจาส่งเสียงนั้น. บทว่า ขลิตํ ตหึ
ตหึ
ได้แก่ พูดผิดเพี้ยนไปในที่นั้น ๆ เพราะลักษณะชรา มีฟันหักเป็นต้น.
บทว่า สณฺหกมฺพุริว สุปฺปมชฺชิตา ได้แก่ คอเหมือนสังข์ทอง
ที่เขาขัดอย่างดี ก็กลมเกลี้ยง. บทว่า สา ชราย ภคฺคา วินามิตา ความว่า
[คอ] ค้อมน้อมลง เพราะชราปรากฏ โดยเนื้อค่อย ๆ สิ้นไป.
บทว่า วฏฺฏปลิฆสทิโสปมา ได้แก่ เทียบเท่ากับไม้กลอนอัน
กลม. บทว่า ตา ได้แก่ แขนแม้ทั้งสองนั้น บทว่า ปาฏลิปฺปลิตา ได้
แก่ เสมือนกิ่งแคที่คดเพราะเก่าแก่.
บทว่า สณฺหนุทฺทิกสุวณฺณมณฺฑิตา ได้แก่ ประดับด้วยแหวน
อันเกลี้ยงและสุกใสที่ทำด้วยทอง. บทว่า ยถา มูลนูลิกา แปลว่า ก็เสมือน
เหง้ามัน.
บทว่า ปีนวฏฺฏสหิตุคฺคตา ได้แก่ เต่ง กลม ประชิดกันและ
กัน ชู งอนขึ้น. บทว่า โสภเต สุ ถนกา ปุเร มม ความว่า ถันแม้
ทั้งสองของข้าพเจ้ามีรูปตามที่กล่าวแล้ว งามเหมือนหม้อทอง แท้จริงคำนี้เป็น
เอกวจนะ ลงในอรรถพหุวจนะ เป็นคำปัจจุบันกาล ลงในอรรถอดีตกาล.
บทว่า เถวิกีว ลมฺพนฺติ โนทกา ความว่า ถันของข้าพเจ้าแม้ทั้งสองนั้น
เหี่ยวยาน เหมือนกะถุงน้ำที่ไม่มีน้ำ ที่เขากินน้ำหมดแล้ว อันเขาวางไว้ที่
ท่อนไม้ไผ่.

บทว่า กจญฺจนสฺส ผลกํว สุมฏฺฐํ ความว่า ร่างกายของข้าพเจ้า
งามเหมือนแผ่นทอง ที่นายช่างเอาชาดหญิงคุทาแล้วขัดนาน ๆ. บทว่า โส
วลีหิ สุขุมาหิ โอตโต
ความว่า ร่างกายของข้าพเจ้านั้น บัดนี้ก็เหี่ยว คือ
หนังเหี่ยวย่นในที่นั้น ๆ เพราะเกลียวละเอียด ๆ.
บทว่า นาคโภคสทิโสปนา ได้แก่ เปรียบเท่ากับงวงของพระยา
ช้าง หัตถ์ในที่นี้ท่านเรียกว่า โภคะ งวง เพราะเป็นเครื่องจับกิน. บทว่า เต
ได้แก่ ขาทั้งสอง. บทว่า ยถา เวฬุนาลิโย ความว่า บัดนี้ได้เป็นเสมือน
ปล้องไม้ไผ่.
บทว่า สณฺหนูปุรสฺวณฺณมณฺฑิตา ความว่า ประดับด้วยเครื่อง
ประดับเท้าทอง อันเกลี้ยงเกลา. บทว่า ชงฺฆา ได้แก่ กระดูกแข้ง. บทว่า
ตา ได้แก่ แข้งเหล่านั้น. บทว่า ติลทณฺฑการิว ความว่า ได้เป็นเหมือน
ต้นงาแห้งที่ขาดเหลืออยู่ เพราะผอม เหตุมีเนื้อเหลือน้อย. อักษรทำการต่อบท.
บทว่า ตูลปุณฺณสทิโสปมา ได้แก่ เสมือนรองเท้าที่พันด้วยปุยงิ้ว
[นุ่น] เต็ม เพราะเป็นของอ่อนนุ่ม. เท้าทั้งสองของข้าพเจ้านั้น บัดนี้
กระทบอะไรก็ปริแตก เกิดเป็นริ้วรอย.
บทว่า เอทิโส แปลว่า เห็นปานนี้. ร่างกายได้มีได้เป็นประการ
ตามที่กล่าวมาแล้ว. บทว่า อยํ สมุสฺสโย แปลว่า ร่างกายของข้าพเจ้านี้.
บทว่า ชชฺชโร ได้แก่ ผูกไว้หย่อน ๆ. บทว่า พหุทุกฺขานมาลโย ได้
แก่ เป็นที่อยู่ของทุกข์ทั้งหลายเป็นอันมาก ซึ่งมีชราเป็นต้นเป็นเหตุ. บทว่า
โสปเลปปติโต ความว่า ร่างกายนี้นั้น ตกไปจากเครื่องลูบไล้ ตกไปเพราะ
สิ้นเครื่องปรุงแต่งลูบไล้ มีแต่บ่ายหน้าตกไป อีกอย่างหนึ่ง แจกบทว่า โสปิ
อเลปปติโต
ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า ชราฆโร ได้แก่ ก็เป็น

เสมือนเรือนคร่ำคร่า อีกอย่างหนึ่ง ได้เป็นเรือนของชรา. เพราะฉะนั้น
พระดำรัสของพระศาสดาของข้าพเจ้า จึงเป็นสัจวาจาของพระผู้ทรงเป็นสัจ-
วาที ชื่อว่า ตรัสแต่ความจริง เพราะทรงทราบสภาวะตามเป็นจริงของธรรม
ทั้งหลายโดยชอบนั่นเทียว จึงตรัส คือเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หากลายเป็น
อย่างอื่นไปไม่.
พระเถรีนี้ พิจารณาทบทวนอนิจจตาความไม่เที่ยงในธรรมที่เป็นไป
ในภูมิ 3 ทั้งหมด โดยมุข คือการกำหนดความไม่เที่ยงในอัตภาพของตน
อย่างนี้แล้ว ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะในอัตภาพตนนั้น ตาม
แนวอนิจจลักษณะนั้น มักเขม้นเจริญวิปัสสนาอยู่ ก็บรรลุพระอรหัต โดย
ลำดับมรรค.
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า
พระอัมพปาลีเถรี เปล่งอุทานเป็นคาถาพรรณนา อปทาน1ของท่านว่า
ข้าพเจ้าเกิดในสกุลกษัตริย์ เป็นภคินีของ
พระมหามุนีพระนามว่าปุสสะ ผู้มีพระรัศมีงามดังมาลัย
ประดับศีรษะ ข้าพเจ้าฟังธรรมของพระองค์แล้วมีใจ
เลื่อมใส ถวายมหาทานแล้วปรารถนารูปสมบัติ นับ
แต่กัปนี้ไป 31 กัป พระชินเจ้าพระนามว่าสิขี เป็น
นายกเลิศของโลก ทรงส่องโลกให้สว่าง ทรงเป็น
สรณะของ 3 โลก เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้นข้าพเจ้า
เกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงอมรปุระที่น่ารื่นรมย์ โกรธ

1. ขุ. 33/ข้อ 179 อัมพปาลีเถรีอปทาน.

ขึ้นมาก็ด่าภิกษุณีผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว [อริยุปวาท] ว่า
ท่านเป็นหญิงแพศยาประพฤติอนาจาร ประทุษร้าย
ศาสนาของพระชินเจ้า ครั้นด่าอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้า
ก็ตกนรกอันร้ายกาจ เพียบพร้อมด้วยทุกข์ใหญ่หลวง
เพราะบาปกรรมนั้น จุติจากนรกนั้นแล้ว มาเกิดใน
หมู่มนุษย์ มีลามกธรรมทำให้เดือดร้อน ครองความ
เป็นหญิงแพศยาอยู่ถึงที่หกหมื่นปี ก็ยังไม่หลุดพ้นจาก
บาปอันนั้น เหมือนอย่างกลืนพิษร้ายเข้าไป ข้าพเจ้า
เสพเพศพรหมจรรย์ [บวชเป็นภิกษุณี] ในศาสนาพระ
ชินเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยผลแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้า
ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นไตรทศ [ดาวดึงส์] เมื่อถึงภพ
สุดท้าย ข้าพเจ้าเกิดเป็นโอปปาติกะ ที่ระหว่างกิ่งมะม่วง
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อว่าอัมพปาลี ข้าพเจ้าอัน
หมู่สัตว์นับโกฏิห้อมล้อมแล้ว ก็บวชในศาสนาของ
พระชินเจ้า บรรลุฐานะอันมั่นคงไม่สั่นคลอน เป็น
ธิดาเกิดแต่พระอุระของพระผู้เป็นพุทธะ ข้าแต่พระ-
มหามุนี ข้าพเจ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญในฤทธิ์ทั้งหลาย ใน
ความหมดจดแห่งโสตธาตุ [หูทิพย์] เป็นผู้เชี่ยวชาญ
เจโตปริยญาณ [รู้ใจผู้อื่น] ข้าพเจ้ารู้ขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในภพก่อน ๆ [ระลึกชาติได้] ชำระทิพยจักษุหมด
จด [ตาทิพย์] หมดสิ้นอาสวะทุกอย่าง [อาสวักขย-

ญาณ] บัดนี้จึงไม่มีภพใหม่ [ไม่ต้องเกิดอีก] ข้าพเจ้า
มีญาณสะอาดหมดจด ในอรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิ-
สัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา
เพราะอำนาจของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด กิเลสทั้ง
หลาย ข้าพเจ้าก็เผาเสียแล้ว ภพทุกภพข้าพเจ้าก็ถอน
เสียแล้ว ข้าพเจ้าตัดพันธะเหมือนกะช้างตัดเชือก ไม่มี
อาสวะ อยู่ในสำนักพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ข้าพเจ้า
ก็มาดีแล้ว. วิชชา 3 ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสอน
ของพระพุทธะ ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ปฏิสัมภิทา 4
วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 ข้าพเจ้ากระทำให้แจ้ง
แล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว.

ก็พระอัมพปาลีเถรี ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พิจารณาทบทวนข้อ
ปฏิบัติของตนแเล้ว ก็เอื้อนเอ่ยคาถาเหล่านั้นเป็นอุทานแล.
จบ อรรถกถาอัมพปาลีเถรีคาถา

2. โรหิณีเถรีคาถา


[468] พระโรหิณีเถรี กล่าวอุทานเป็นคาถา ซึ่งเป็นคำที่บิดา
และตนเองพูดจาโต้ตอบกันว่า
บิดาถามข้าพเจ้าว่า
ลูกเอ๋ย ลูกหลับก็พูดว่าสมณะ ตื่นก็พูดว่าสมณะ
ระบุแต่สมณะเท่านั้น เห็นทีลูกบวชเป็นสมณะเสียแน่
แท้ โรหิณีเอ๋ย ลูกถวายข้าวน้ำอย่างสมบูรณ์แก่เหล่า
สมณะ พ่อขอถาม บัดนี้ เพราะเหตุไร เหล่า
สมณะจึงเป็นที่รักของลูก พวกสมณะไม่ชอบทำงาน
เกียจคร้าน อาศัยแต่ของที่คนอื่นให้เลี้ยงชีพ หวังแต่
จะได้ชอบของอร่อย เพราะเหตุไร เหล่าสมณะจึงเป็น
ที่รักของลูก.

ข้าพเจ้าตอบว่า
ท่านพ่อขา ท่านพ่อสอบถามไล่เลียงเอากะลูก
เรื่องคุณของสมณะ เสียตั้งนาน ลูกจักระบุปัญญา ศีล
และความพากเพียรของสมณะเหล่านั้นแก่ท่านพ่อดังนี้.
สมณะทั้งหลายรักงาน ไม่เกียจคร้าน ทำแต่
งานที่ประเสริฐสุด จึงละราคะโทสะได้ เพราะเหตุนั้น
เหล่าสมณะจึงเป็นที่รักของลูก.
สมณะทั้งหลาย กำจัดมูลรากทั้ง 3 ของบาป
[ โลภะ โทสะ โมหะ] ทำแต่งานสะอาด จึงละ
บาปนั้นได้หมด เพราะเหตุนั้น เหล่าสมณะจึงเป็นที่
รักของลูก.