เมนู

ผู้เสด็จอุบัติในตระกูลศากยะ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อปราชิโต ได้แก่
ผู้อันมารไร ๆ มีกิเลสมารเป็นต้นให้พ่ายแพ้ไม่ได้แล้ว [คือชนะ] แท้จริง
พระศาสดาทรงเป็นพระสัพพาภิภู ผู้ทรงครอบงำโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้ได้
โดยแท้จริง เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้อันใครให้แพ้มิได้. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น
เพราะมีนัยอันกล่าวมาแล้ว.
จบ อรรถกถาอุปจาลาเถรีคาถา
จบ อรรถกถาสัตตกนิบาต

อัฏฐกนิบาต


1. สีสูปจาลาเถรีคาถา


[462] พระสีสูปจาลาเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า
ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณี สมบูรณ์ด้วยศีล สำรวมดี
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บรรลุสันตบทที่ใคร ๆ ทำให้
เสียหายมิได้ มีโอชารส.

มารผู้มีบาปกล่าวว่า
แม่นางจงตั้งจิตปรารถนาไว้ในหมู่เทพชั้น ดาว-
ดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิม-
มิตวสวัตดี ที่แม่นางเคยอยู่มาแล้วแต่ก่อนเถิด.

พระสีสูปจาลาเถรีกล่าวว่า
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้น
นินมานรดี ชั้นปรนิมิตวสวัตดี พากันไปจากภพสู่
ภพ ทุก ๆ กาล นำหน้าอยู่แต่ในสักกายะ ล่วง
สักกายะไปไม่ได้ ก็แล่นไปหาชาติและมรณะ โลก
ทั้งปวงถูกไฟไหม้ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง โลกทั้งปวง
หวั่นไหวแล้ว พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ที่ไม่
หวั่นไหว ชั่งไม่ได้ อันปุถุชนเสพไม่ได้โปรดข้าพเจ้า
ใจของข้าพเจ้ายินดีนักในธรรมนั้น ข้าพเจ้าฟังคำสั่ง
สอนของพระองค์แล้ว ยินดีอยู่ในพระศาสนา วิชชา
3 ข้าพเจ้าก็บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าก็ทำเสร็จแล้ว ข้าพเจ้ากำจัดความเพลิดเพลิน
ในสิ่งทั้งปวงได้แล้ว ทำลายกองแห่งความมืดได้แล้ว
ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ดูก่อนมารผู้
กระทำที่สุด ถึงตัวท่านข้าพเจ้าก็กำจัดได้แล้ว.

จบ สีสูปจาลาเถรีคาถา
จบ อัฏฐกนิบาต

อรรถกถาอัฏฐกนิบาต


1. อรรถกถาสีสูปจาลาเถรีคาถา


ใน อัฏฐกนิบาต คาถาว่า ภิกฺขุนี สีลสมฺปนฺนา เป็นต้น เป็น
คาถาของพระสีสูปจาลาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เรื่องของพระสีสูปจาลาเถรีแม้นั้น กล่าวไว้แล้วในเรื่องของพระจาลา-
เถรี ก็พระสีสูปจาลาเถรีแม้นี้ ทราบว่าท่านพระธรรมเสนาบดีบวชแล้ว ก็เกิด
ความอุตสาหะขึ้นเอง บวชแล้ว ทำบุพกิจเสร็จ เข้าไปตั้งวิปัสสนาพาก
เพียรพยายามอยู่ ไม่นานก็บรรลุพระอรหัต ครั้นบรรลุแล้ว อยู่ด้วยสุขใน
ผลสมาบัติ วันหนึ่ง พิจารณาการปฏิบัติของตนเกิดโสมนัส ก็กล่าวคาถาเป็น
อุทานว่า
ข้าพเจ้าเป็นภิกษุณีผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สำรวมดี
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ได้บรรลุสันตบท อันใคร ๆ ให้
เสียหายมิได้ มีโอชารส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลสมฺปนฺนา ได้แก่ ประกอบบริบูรณ์
ด้วยศีลภิกษุณี ที่บริสุทธิ์. บาทคาถาว่า อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตา ได้แก่
สำรวมดีแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ 6 คือเป็นผู้ละราคะในอิฏฐารมณ์มี
รูปเป็นต้น ละโทสะในอนิฏฐารมณ์และละโมหะในการเพ่งอารมณ์ที่ไม่สม่ำเสมอ
ชื่อว่าปิดอินทรีย์ด้วยดีแล้ว. บาทคาถาว่า อเสจนกโมชวํ ได้แก่ อริย-
มรรคหรือนิพพาน ซึ่งเป็นโอสถระงับโรคคือกิเลส แม้ทั้งหมด. ความจริง
แม้อริยมรรคควรกล่าวว่าสันตบท เพราะผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ และเพราะ
ไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลส มารประสงค์จะให้พระเถรีเคลื่อนจากสมาบัติโดย