เมนู

บรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้า ซึ่งถูกความโศก
ครอบงำไว้.
วันนี้ ข้าพเจ้านั้น ถอนความโศกศัลย์ได้แล้ว
หายอยาก ดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระมุนี-
พุทธเจ้า ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ.

จบ ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา

อรรถกถาฉักกนิบาต


1. อรรถกถาปัญจสตมัตตาเถรีคาถา1


ในฉักกนิบาต คาถาว่า ยสฺส มคฺคํ น ชานาสิ เป็นต้น เป็น
คาถาของพระปัญจสตมัตตาเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
หญิงแม้เหล่านั้น บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ สั่ง
สมกุศล ซึ่งเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพ ๆ นั้น มีธรรมเครื่องปรุง
แต่งวิโมกข์อันสร้างสมมาโดยลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็เกิดในเรือนครอบครัว
นั้น ๆ เติบโตเป็นสาวแล้ว มารดาบิดาก็จัดให้มีสามี ได้บุตรหลายตนใน
ตระกูลนั้น ๆ เมื่ออยู่ครองเรือน มีบุตรก็ตายหมด เพราะพวกเขามีชาติ
เสมอกัน ทำกรรมมาเหมือนกัน ถูกความเศร้าโศกถึงบุตรครอบงำแล้ว เข้า
ไปหาพระปฏาจาราเถรี ไหว้แล้วก็นั่งบอกถึงเหตุแห่งความเศร้าโศกของตน.
พระเถรี เมื่อบรรเทาความโศกของหญิงเหล่านั้น จึงแสดงธรรมด้วยคาถา
4 คาถาเหล่านี้ว่า
1. บาลีว่า ปัญจสตาปฏาจาราเถรีคาถา.

ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วหรือไปแล้ว
เหตุไฉนท่านจึงร้องไห้ถึงสัตว์ที่มาแล้วนั้น ว่าบุตร
ของเรา ส่วนท่านรู้ทางของสัตว์นั้น ผู้มาแล้วหรือไป
แล้ว จึงไม่เศร้าโศกถึงสัตว์นั้นเลย เพราะว่าสัตว์ทั้ง
หลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา.
สัตว์อันเขามิได้เชื้อเชิญ ก็มาจากที่นั้น เขามิได้
อนุญาต ก็ไปจากที่นี้ เขามาจากที่ไหนกันแน่หนอ อยู่
ได้ 2-3 วัน ก็ไปแล้วสู่ทางอื่นจากที่นี้ก็มี กำลังไปสู่
ทางอื่นจากที่นั้นก็มี เขาละ [ตาย]ไปแล้ว ท่องเที่ยวอยู่
โดยรูปของมนุษย์ จักไปก็มี เขามาอย่างใด ก็ไป
อย่างนั้น จะคร่ำครวญเพราะเหตุนั้นไปทำไม.

หญิงเหล่านั้น ได้ฟังธรรมของพระปฏาจาราเถรีนั้นแล้ว เกิดความ
สังเวชใจจึงพากันบวชในสำนักของพระเถรี ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนา
กัมมัฏฐาน ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4 เพราะ
ธรรมเครื่องอบรมบ่มวิมุตติแก่เต็มที่แล้ว. ลำดับนั้นพระเถรี 500 รูป
เหล่านั้นพิจารณาการปฏิบัติของตนเพราะบรรลุพระอรหัตแล้ว พร้อมด้วย
คาถาโอวาทที่ว่า ท่านไม่รู้ทางของสัตว์ใด เป็นต้น จึงต่างคนต่างกล่าวคาถา
เหล่านี้เป็นอุทานว่า
แม่เจ้า ช่วยถอนความโศกศัลย์ของข้าพเจ้า ซึ่ง
แอบอยู่ในหัวใจ เห็นได้ยากออกได้แล้ว แม่เจ้า ช่วย
บรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้าซึ่งถูกความโศก
ครอบงำไว้ วันนี้ข้าพเจ้าถอนความโศกศัลย์ได้แล้ว

หายหิว ดับสนิทแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงพระมุนีพุทธเจ้า
ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ.

พระเถรีจำนวน 500 รูป ต่างคนต่างกล่าวคาถาเหล่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส มคฺคํ น ชานาสิ อาคตสฺส
คตสฺส วา
ความว่า ท่านไม่รู้ทางมาของสัตว์ใด ซึ่งมาแล้วในที่นี้ หรือ
ทางไปของสัตว์ใดซึ่งไปแล้วจากที่นี้ ท่านกล่าวหมายเอาการเข้าถึงภพที่เป็น
อดีตและอนาคตติดต่อกัน. บทว่า ตํ กุโต จาคตํ สตฺตํ ความว่า ไฉน
คือเพราะเหตุไร ท่านจึงทำความยึดถือให้เกิดขึ้นอย่างเดียวว่า บุตรของเรา
แล้วร้องไห้ถึงสัตว์ผู้นั้น ซึ่งเป็นเสมือนบุรุษผู้มาพบกันในระหว่างทางกับผู้ที่
มายังทางมาทางไปอันไม่รู้จักแล้ว คือทางที่มาจากคติไรๆ อย่างนี้ ไม่ทันทำ
ความคุ้นเคยกันโดยประการทั้งปวง อธิบายว่า ไม่มีเหตุที่จะร้องไห้ในข้อนี้
เพราะบุตรยังไม่ทันทำกิจหน้าที่ปฏิการะตอบแทนเลย.
บทว่า มคฺคญฺจ โขสฺส ชานาสิ ความว่า ส่วนท่านรู้ทางมา
ของสัตว์นั้น ซึ่งท่านยอมรับรู้ว่าบุตรผู้มาแล้ว และทางไปของเขาผู้ไปแล้ว
บทว่า น นํ สมนุโสเจสิ ความว่า ท่านก็ไม่ควรเศร้าโศกถึงเขาอย่างนี้เลย.
เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา เพราะปัจจุบันสัตว์
ทั้งหลายยังละเว้นเป็นต่าง ๆ คือพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้ง
ปวง เพราะคนไม่มีอำนาจในของรักนั้น จะป่วยกล่าวไปไยในภพภายภาคหน้า
เล่า.
บทว่า อยาจิโต ตโตคจฺฉิ1 ความว่า เขาอันใคร ๆ มิได้วอนเชิญ
จากปรโลกนั้น ก็มาในที่นี้ บาลีว่า อาคโต มาแล้ว ดังนี้ก็มี ความก็อย่าง
นั้นเหมือนกัน. บทว่า อนนุญฺญาโต อิโต คโต ความว่า เขาอันใคร ๆ
มิได้อนุญาตจากอิธโลก [โลกนี้] ก็ไปปรโลก [โลกอื่น]. บทว่า กุโตจิ ได้แก่
1. ม. ตตาคจฺนิ

จากคติใดคติหนึ่งมีนิรยะเป็นต้น. บทว่า นูน คือสงสัย. บทว่า วสิตฺวา
กติปาหก
ความว่า พักอยู่ในที่นี้เพียงน้อยวัน. บทว่า อิโตปิ
อญฺเญน คโต
ความว่า เขาไปทางภพอื่นจากภพแม้นี้ คือเข้าถึงภพแม้อื่น
จากภพนี้ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า ตโตปญฺเญน คจฺฉติ ความว่า
เขาจักไปทางอื่นจากภพแม้นั้น คือจักเข้าถึงภพอื่น.
บทว่า เปโต ความว่า เขาจากไปคือเข้าถึงภพนั้น ๆ แล้ว ก็ไปจาก
ภพนั้น. บทว่า มนุสฺสรูเปน นั่นเป็นเพียงตัวอย่าง ความว่า โดยความ
เป็นมนุษย์และโดยความเป็นดิรัจฉานเป็นต้น. บทว่า สํสรนฺโต ได้แก่
เวียนว่ายอยู่ด้วยอำนาจความเกิดไป ๆ มา ๆ. บทว่า ยถาคโต ตถา คโต
ความว่า เขามิได้รับเชิญก็มาจากคติที่ยังไม่รู้อย่างใด เขาอันใครๆ มิได้อนุญาต
ก็ไปจากคติที่ยังไม่รู้อย่างนั้น.
บทว่า กา ตตฺถ ปริเทวนา ความว่า จะคร่ำครวญไปไยในข้อ
นั้น คือในกามาวจรที่ไม่อยู่ในอำนาจเช่นนั้น อธิบายว่าประโยชน์อะไรเล่า
ด้วยการคร่ำครวญ คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
ก็ในคาถาเหล่านั้น 5 คาถาแรก พระปฏาจาราเถรีอบรมหญิง 500
เหล่านั้น แยกเป็นคน ๆ ไป โดยการบรรเทาความเศร้าโศก. ส่วน 6 คาถา พึง
เห็นว่าภิกษุณีประมาณ 500 รูปเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของพระปฏาจารา-
เถรีนั้น พากันบวชได้บรรลุคุณวิเศษแล้วได้กล่าวเฉพาะเป็นคน ๆ ไป.
บทว่า ปญฺจสตา ปฏาจารา ความว่า ภิกษุณี 500 รูปเหล่านี้
ได้ชื่อว่า ปฏาจารา เพราะได้รู้คำที่พระปฏาจาราเถรีกล่าว เพราะได้โอวาทใน
สำนักของพระปฏาจาราเถรี.
จบ อรรถกถาปัญจสตมัตตาเถรีคาถา

2. วาสิฏฐีเถรีคาถา


[452] พระวาสิฏฐีเถรี กล่าวคาถาเป็นอุทานว่า
ข้าพเจ้าถูกความเศร้าโศกถึงบุตรบีบคั้น มีจิต
ฟุ้งซ่าน หมดความรู้สึก เปลือยกาย สยายผม เที่ยว
ซมซานไปตามที่ต่างๆ.
ข้าพเจ้าได้เที่ยวไปในถนน กองหยากเยื่อ ในป่า
ช้า ในตรอกใหญ่ตรอกน้อย อด ๆ อยาก ๆ ตลอด
สามปี.
ภายหลังได้พบพระสุคต ผู้ฝึกคนที่ยังไม่ได้ฝึก
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง หาภัยแต่ที่ไหนมิได้ กำลัง
เสด็จไปยังกรุงมิถิลา กลับได้สติแล้ว เข้าไปถวาย
พระโคดมพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรด
ข้าพเจ้าด้วยพระกรุณา ข้าพเจ้าฟังธรรมพระองค์
แล้วออกบวชไม่มีเรือน เพียรพยายามในคำสอนของ
พระศาสดา ได้ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันรุ่งเรืองเกษม.
ข้าพเจ้าถอนและความโศกอันมีพระอรหัตเป็น
ที่สุดได้หมดแล้ว เพราะข้าพเจ้ากำหนดรู้วัตถุที่ตั้ง เหตุ
เกิดแห่งความโศกทั้งหลายได้.

จบ วาสิฏฐีเถรีคาถา