เมนู

เถรคาถา มหานิบาต


1. วังคีสเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระวังคีสเถระ


พระวังคีสเถระ เมื่อบวชแล้วใหม่ ๆ ได้เห็นสตรีหลายคนล้วนแต่
แต่งตัวเสียงดงาม พากันไปวิหาร ก็เกิดความกำหนัดยินดี เมื่อบรรเทา
ความกำหนัดยินดีได้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา 9 คาถาสอนตนเอง ความว่า
[401] ความตรึกทั้งหลาย กับความคะนองอย่างเลวทราม
เหล่านี้ได้ครอบงำเราผู้ออกบวชเป็นบรรพชิต เหมือนกับ
บุตรของคนสูงศักดิ์ซึ่งมีธนูมาก ทั้งได้ศึกษาวิชาธนูศิลป์
มาอย่างเชี่ยวชาญ ยิงลูกธนูมารอบ ๆ ตัวเหล่าศัตรู ผู้
หลบหลีกไม่ทันตั้งพันลูกฉะนั้น. ถึงแม้หญิงจะมามากยิ่ง
กว่านี้ ก็จักทำการเบียดเบียนเราไม่ได้ เพราะเราได้ตั้ง
อยู่ในธรรมเสียแล้ว ด้วยว่าเราได้สดับทางอันเป็นที่ให้
ถึงนิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระ-
อาทิตย์อย่างชัดแจ้ง ใจของเราก็ยินดีในทางนั้นแน่นอน
ดูก่อนมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านยังเข้ามารุกรานเราผู้เป็นอยู่
อย่างนี้ ท่านก็จะไม่ได้เห็นทางของเราตามที่เราทำไม่ให้
ท่านเห็น.

ภิกษุควรละความไม่ยินดี ความยินดี และความตรึก
อันเกี่ยวกับบุตรและภรรยาเป็นต้นเสียทั้งหมดแล้ว ไม่
ควรจะทำตัณหาดังป่าชัฏในที่ไหน ๆ อีก เพราะไม่มี

ตัณหาดังป่าชัฏ ชื่อว่าเป็นภิกษุ. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งอาศัยแผ่นดินก็ดี อยู่ในอากาศก็ดี และมีอยู่ใต้แผ่นดิน
ก็ดี เป็นของไม่เที่ยงล้วนแต่คร่ำคร่าไปทั้งนั้น ผู้ที่แทง
ตลอดอย่างนี้แล้ว ย่อมเที่ยวไปเพราะเป็นผู้หลุดพ้น ปุถุ-
ชนทั้งหลายหมกมุ่นพัวพันอยู่ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง
โผฏฐัพพะที่มากระทบ และอารมณ์ที่ได้ทราบ ภิกษุควร
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในเบญจกามคุณ
เหล่านี้เสีย เพราะผู้ใดไม่ติดอยู่ในกามคุณเหล่านี้ บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่าเป็นมุนี. มิจฉาทิฏฐิซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ
62 ประการ เป็นไปกับด้วยความตรึก อันไม่เป็นธรรม
ตั้งลงมั่น ในความเป็นปุถุชน. ในกาลไหน ๆ ผู้ใดไม่
เป็นไปในอำนาจของกิเลส ทั้งไม่กล่าวถ้อยคำหยาบคาย
ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ. ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีใจมั่นคงมา
นมนานแล้ว ไม่ลวงโลก มีปัญญารักษาตน ไม่มีความ
ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ได้บรรลุสันติบทแล้ว หวังคอย
เวลาเฉพาะปรินิพพาน.

เมื่อพระวังคีสเถระกำจัดมานะที่เป็นไปแก่ตนไว้แล้ว เพราะอาศัย
คุณสมบัติ คือความมีไหวพริบของตน จึงได้กล่าวคาถา 4 คาถาต่อไปอีก
ความว่า
ดูก่อนท่านผู้สาวกของพระโคดม ท่านจงละทิ้งความ
เย่อหยิ่งเสีย จงละทิ้งทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดเสีย

ด้วย เพราะผู้หมกมุ่นอยู่ในทางแห่งความเย่อหยิ่ง จะ
ต้องเดือดร้อนอยู่ตลอดกาลช้านาน. หมู่สัตว์ผู้ยังมีความ
ลบหลู่คุณท่าน ถูกมานะกำจัดแล้วไปตกนรก หมู่ชนคน
กิเลสหนา ถูกความทะนงตัวกำจัดแล้ว พากันตกนรก
ต้องเศร้าโศกอยู่ตลอดกาลนาน กาลบางครั้ง ภิกษุปฏิบัติ
ชอบแล้ว ชนะกิเลสด้วยมรรค จึงไม่ต้องเศร้าโศก ยังกลับ
ได้เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลายเรียกภิกษุ
ผู้ปฏิบัติชอบอย่างนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม. เพราะเหตุนั้น
ภิกษุในศาสนานี้ไม่ควรมีกิเลสเครื่องตรึงใจ ควรมีแต่
ความเพียรชอบ ละนิวรณ์แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ และละ
มานะโดยไม่เหลือแล้ว เป็นผู้สงบระงับ บรรลุที่สุดแห่ง
วิชชาได้. ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ และจิตใจ
ของข้าพเจ้าก็เร่าร้อนเพราะกามราคะเหมือนกัน ดูก่อน
ท่านผู้สาวกของพระโคดม ขอพระคุณจงกรุณาบอกธรรม
เครื่องดับความเร่าร้อนด้วยเถิด.

ท่านพระอานนทเถระกล่าวคาถา ความว่า
จิตของท่านเร่าร้อนก็เพราะความสำคัญผิด เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจงละทิ้งนิมิตอันงามซึ่งประกอบด้วยราคะเสีย
ท่านจงอบรมจิตให้มีอารมณ์อันเดียว ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยว
ด้วยการพิจารณาสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของไม่สวยงาม จง
อบรมกายคตาสติ จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย

ท่านจงเจริญอนิมิตคานุปัสสนา จงตัดอนุสัยคือมานะเสีย
แต่นั้นท่านจักเป็นผู้สงบระงับ เที่ยวไป เพราะละมานะ
เสียได้.

คราวหนึ่ง พระวังคีสเถระเกิดความปลาบปลื้มใจในสุภาษิตสูตร
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว จึงกราบทูลขึ้นในที่เฉพาะพระ-
พักตร์ด้วยคาถา 4 คาถา ความว่า
บุคคลควรพูดแต่วาจา ที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อนเท่านั้น
อนึ่ง วาจาใดที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น วาจานั้นแลเป็นวาจา
สุภาษิต บุคคลควรพูดแต่วาจาที่น่ารักใคร่ ทั้งเป็นวาจา
ที่ทำให้ร่าเริงได้ ไม่พึงยึดถือวาจาชั่วช้าของคนอื่น พึง
กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นของเก่า สัตบุรุษทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในคำสัตย์
ทั้งที่เป็นอรรถเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด
เป็นพระวาจาปลอดภัย เป็นไปเพื่อบรรลุนิพพาน เพื่อทำ
ซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นวาจาสูงสุดกว่า
วาจาทั้งหลาย.

ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระกล่าวคาถา 3 คาถา ด้วยอำนาจสรรเสริญ
พระสารีบุตรเถระ ความว่า
ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาลึกซึ่ง เป็นนักปราชญ์ เป็น
ผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง มีปัญญามากแสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลาย ย่อบ้าง พิสดารบ้าง เสียงของท่านผู้กำลัง

แสดงธรรมอยู่ไพเราะ เหมือนกับเสียงนกสาริกา มี
ปฏิภาณปรากฏรวดเร็ว เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร
เมื่อท่านแสดงธรรมด้วยเสียงอันน่ายินดี น่าสดับฟัง
ไพเราะจับใจ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังคำอันไพเราะ ก็มีใจ
ร่าเริงเบิกบาน พากันตั้งใจฟัง.

ในวันเทศนาพระสูตรเนื่องในวันปวารณา ครั้งหนึ่ง พระวังคีส-
เถระเห็นพระบรมศาสดาซึ่งกำลังประทับอยู่ มีภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม จึง
กล่าวคาถาชมเชยพระองค์ขึ้น 4 คาถา ความว่า
วันนี้วัน 15 ค่ำ เป็นวันปวารณาวิสุทธิ์ ภิกษุประมาณ
500 รูปมาประชุมกัน ล้วนแต่เป็นผู้ตัดเครื่องเกาะเกี่ยว
ผูกพันเสียได้สิ้น ไม่มีความทุกข์ สิ้นภพสิ้นชาติแล้ว
เป็นผู้แสวงหาคุณธรรมอันประเสริฐทั้งนั้น พระเจ้าจักร-
พรรดิมีหมู่อำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จเลียบแผ่นดินอัน
ไพศาลนี้ มีมหาสมุทรเป็นอาณาเขตไปรอบ ๆ ได้ฉันใด
พระสาวกทั้งหลายผู้มีวิชชา 3 ละมัจจุราชได้แล้ว พา
กันเข้าไปห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงชนะสงคราม
แล้ว ผู้นำพวกชั้นเยี่ยมฉันนั้น พระสาวกทั้งมวลล้วนแต่
เป็นพุทธชิโนรส ก็ในพระสาวกเหล่านี้ไม่มีความว่างเปล่า
จากคุณธรรมเลย ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ผู้
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้ทรงประหารลูกศร คือตัณหา
ได้แล้ว.

ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระได้กล่าวคาถา 4 คาถา ชมเชยพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมอันเกี่ยวกับเรื่องนิพพานแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ความว่า
ภิกษุมากกว่าพัน ได้เข้าไปเฝ้าพระสุคตเจ้าผู้กำลัง
ทรงแสดงธรรมอันปราศจากธุลี คือนิพพานอันไม่มีภัย
แต่ที่ไหน ๆ ภิกษุทั้งหลายก็พากันตั้งใจฟังธรรมอัน
ไพบูลย์ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าอันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม เป็นสง่างาม
แท้หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่านาคะ ผู้
ประเสริฐ ทรงเป็นพระฤาษีสูงสุดกว่าบรรดาฤาษี คือ
พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงโปรยฝนอมฤต-
ธรรมรดพระสาวกทั้งหลาย คล้ายกับฝนห่าใหญ่ฉะนั้น
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระวังคีสสาวกของพระองค์ออก
จากที่พักกลางวัน มาถวายบังคมพระยุคลบาทของพระ-
องค์อยู่ ด้วยประสงค์จะเฝ้าพระองค์.

คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
พระวังคีสะไม่ตั้งใจจะศึกษาเล่าเรียน พระองค์จึงตรัสพระคาถา 4 พระ-
คาถา ความว่า
พระวังคีสะครอบงำทางผิดแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทั้ง
ทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจได้สิ้นแล้ว จึงเที่ยวไปอยู่ เธอ
ทั้งหลายจงดูพระวังคีสะผู้ปลดเปลื้องเครื่องผูกเสียแล้ว ผู้

อันตัณหามานะทิฏฐิไม่อิงแอบเลย ทั้งจำแนกธรรมเป็น
ส่วน ๆ ได้ด้วยนั้น เป็นตัวอย่างเถิด พระวังคีสะได้บอก
ทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงนำคือกามเป็นต้น
เสีย ก็ในเมื่อพระวังคีสะได้บอกทางอันไม่ตายนั้นไว้ให้
แล้ว ภิกษุทั้งหลายที่ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้งอยู่ในความ
เป็นผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรม. พระ-
วังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทงตลอดแล้วซึ่ง
ธรรมฐิติทั้งปวง ได้เห็นพระนิพพาน แสดงธรรมอันเลิศ
ตามกาลเวลาได้อย่างฉับพลัน เพราะรู้มาเอง และทำให้
แจ้งมาเอง. เมื่อพระวังคีสะแสดงธรรมด้วยดีแล้วอย่างนี้
จะประมาทอะไรต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้งเล่า เพราะเหตุ
นั้นแหละ ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจศึกษาไตรสิกขาด้วย
ปฏิปทาอันเลิศในกาลทุกเมื่อเถิด.

ครั้งหนึ่ง พระวังคีสเถระ กล่าวคาถาชมเชยท่านพระอัญญาโกณ-
ฑัญญะ 3 คาถา ความว่า
พระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระ-
พุทธเจ้า มีความเพียรอย่างแก่กล้า ได้วิเวกอันเป็นธรรม
เครื่องอยู่ เป็นสุขเป็นนิตย์ สิ่งใดที่พระสาวกผู้กระทำ
ตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ สิ่งนั้นทั้งหมด ท่าน

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้ไม่ประมาทศึกษาอยู่ ก็บรรลุ
ตามได้แล้ว ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพ
มาก มีวิชชา 3 ฉลาดในการรู้จิตของผู้อื่น เป็นทายาท
ของพระพุทธเจ้า ได้มาถวายบังคมพระยุคลบาทของ
พระบรมศาสดาอยู่.

ครั้งหนึ่ง พระวิ่งคีสเถระ เมื่อจะกล่าวชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า
และพระเถระทั้งหลาย มีพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น จึงได้กล่าว
คาถา 3 คาถา ความว่า
เชิญท่านดูพระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึง
ฝั่งแห่งความทุกข์ กำลังประทับอยู่เหนือยอดเขากาลสิลา
แห่งอิสิคิลิบรรพต มีหมู่สาวกผู้มีวิชชา 3 ละมัจจุราช
ได้แล้วนั่งเฝ้าอยู่ พระมหาโมคคัลลานเถระผู้เรื่องอิทธิ-
ฤทธิ์มาก ตามพิจารณาดูจิตของภิกษุผู้มหาขีณาสพ
เหล่านั้นอยู่ ท่านก็กำหนดได้ว่าเป็นดวงจิตที่หลุดพ้นแล้ว
ไม่มีอุปธิ ด้วยใจของท่าน ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้พากันห้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่า โคดม ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณธรรมทุกอย่าง ทรง
เป็นจอมปราชญ์ เสด็จถึงฝั่งแห่งทุกข์ ทรงเต็มเปี่ยม
ด้วยพระอาการเป็นอันมาก.

คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระกล่าวคาถาสรรเสริญพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ซึ่งกำลังประทับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์หมู่ใหญ่ เทวดาและนาค

นับจำนวนพัน ที่ริมสระโบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้เมืองจัมปา 1 คาถา
ความว่า
ข้าแต่พระมหามุนีอังคีรส พระองค์ไพโรจน์ล่วงโลก
นี้กับทั้งเทวโลกทั้งหมดด้วยพระยศ เหมือนกับพระจันทร์
และพระอาทิตย์ที่ปราศจากมลทิน สว่างจ้าอยู่บนท้องฟ้า
อันปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น.

คราวหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระพิจารณาดูข้อปฏิบัติที่ตนได้บรรลุ
แล้ว เมื่อจะประกาศคุณของตน จึงกล่าวคาถา 10 คาถา ความว่า
เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้กาพย์กลอน เที่ยวไปในบ้าน
โน้นเมืองนี้ แต่เดี๋ยวนี้ ข้าพระองค์ ได้เห็นพระสัมพุทธ-
เจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์ผู้เป็นมหามุนี เสด็จ
ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ได้ทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ข้า-
พระองค์ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส เกิดศรัทธา
ข้าพระองค์ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จึงรู้แจ้งขันธ์
อายตนะ และธาตุแจ่มแจ้งแล้ว ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมา เพื่อประโยชน์
แก่สตรีและบุรุษเป็นอันมากหนอ ผู้กระทำตามคำสั่งสอน
ของพระองค์ พระองค์ผู้เป็นมุนีได้ทรงบรรลุโพธิญาณ
เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุและภิกษุณี ซึ่งได้บรรลุสัมมัตต-
นิยามหนอ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์

มีพระจักษุทรงแสดงอริยสัจ 4 คือทุกข์ เหตุเกิดทุกข์
ความดับทุกข์ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ เพื่อทรงอนุเคราะห์แก่สัตว์
ทั้งปวง อริยสัจธรรมเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว
อย่างไร ข้าพระองค์ก็เห็นอย่างนั้น มิได้เห็นผิดเพี้ยน
ไปอย่างอื่น ข้าพระองค์บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว ทำ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว การที่ข้าพระองค์
ได้มาในสำนักของพระองค์ เป็นการมาดีของข้าพระองค์
หนอ เพราะข้าพระองค์ได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ ใน
บรรดาธรรมที่พระองค์ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว ข้าพระองค์
ได้บรรลุถึงความสูงสุดแห่งอภิญญาแล้ว มีโสตธาตุอัน
หมดจด มีวิชชา 3 ถึงความเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ เป็นผู้
ฉลาดในการกำหนดรู้จิตของผู้อื่น.

ครั้งหนึ่ง ท่านพระวังคีสเถระนึกถึงพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็น
พระอุปัชฌาย์ของตน ที่มรณภาพแล้วว่า จะได้สำเร็จนิพพานหรือไม่
จึงกราบทูลถามพระบรมศาสดาด้วย 12 คาถา ความว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระศาสดา ผู้มีพระปัญญาไม่
ทราบว่า ภิกษุรูปใดมีใจไม่ถูกมานะทำให้เร่าร้อน เป็นผู้
เรืองยศ ตัดความสงสัยในธรรมที่ตนเห็นมาได้แล้ว ได้
มรณภาพลงที่อัคคาฬววิหาร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ภิกษุรูปนั้นเป็นพราหมณ์มาแต่กำเนิด มีนามตามที่พระ-

องค์ทรงประทานตั้งให้ว่า พระนิโครธกัปปเถระ ผู้มุ่งแต่
ความหลุดพ้น ปรารภความเพียร เห็นธรรมอันมั่นคง
ได้ถวายบังคมพระองค์แล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะทรงมี
พระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมดปรารถนาจะ
ทราบพระสาวกองค์นั้น โสตของข้าพระองค์ทั้งหลาย
เตรียมพร้อมที่จะฟังพระดำรัสตอบ. พระองค์เป็นพระ-
ศาสดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย ซึ่งจะหาศาสดาอื่นเทียม
เท่ามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญากว้างขวาง ขอ
พระองค์ทรงตัดความเคลือบแคลงสงสัย ของข้าพระองค์
ทั้งหลายเถิด และขอได้โปรดตรัสบอกพระนิโครธกัปป-
เถระผู้ปรินิพพานไปแล้วแก่ข้าพระองค์ด้วย ข้าแต่พระ-
องค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ใน
ท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด เหมือนท้าวสักก-
เทวราชผู้มีพระเนตรตั้งพัน ตรัสบอกแก่เทวดาทั้งหลาย
ฉะนั้น กิเลสเครื่องร้อยรัดชนิดใดชนิดหนึ่งในโลกนี้ ที่
เป็นทางก่อให้เกิดความหลงลืม เป็นฝ่ายแห่งความไม่รู้
เป็นมูลฐานแห่งความเคลือบแคลงสงสัย กิเลสเครื่อง
ร้อยรัดเหล่านั้น พอมาถึงพระตถาคตเจ้าย่อมพินาศไป
พระตถาคตเจ้าผู้มีพระจักษุยิ่งกว่านรชนทั้งหลาย ก็ถ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า จะเป็นบุรุษชนิดที่ทรงถือเอาแต่เพียง
พระกำเนิดมาเท่านั้นไซร้ ก็จะไม่พึงทรงประหารกิเลส

ทั้งหลายได้ คล้ายกับลมที่รำเพยพัดมาครั้งเดียว ไม่อาจ
ทำลายกลุ่มหมอกที่หนาได้ฉะนั้น โลกทั้งปวงที่มืดอยู่
แล้ว ก็จะยิ่งมืดหนักลง ถึงจะมีสว่างมาบ้าง ก็ไม่สุกใส
ได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้กระทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น
ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปรีชา เหตุนั้น ข้าพระองค์จึงขอเข้า
ถึงพระองค์ ผู้ที่ข้าพระองค์เข้าใจว่าทรงทำแสงสว่างให้
เกิดขึ้นได้เองเช่นนั้น ผู้เห็นแจ้ง ทรงรอบรู้สรรพธรรม
ตามความเป็นจริงได้ ขอเชิญพระองค์โปรดทรงประกาศ
พระนิโครธกัปปเถระ ผู้อุปัชฌายะของข้าพระองค์ที่
ปรินิพพานไปแล้ว ให้ปรากฏในบริษัทด้วยเถิด. พระผู้-
มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเปล่งพระดำรัส ก็ทรงเปล่งด้วย
พระกระแสเสียงกังวาน ที่เกิดแต่พระนาสิก ซึ่งนับเข้า
ในมหาบุรุษลักษณะด้วยประการหนึ่ง อันพระบุญญาธิการ
ตบแต่งมาดี ทั้งเปล่งได้อย่างรวดเร็วและแผ่วเบาเป็น
ระเบียบ เหมือนกับพญาหงส์ทองท่องเที่ยวหาเหยื่อ พบ
ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้นส่งเสียงอยู่
ค่อย ๆ ด้วยจะงอยปากอันแดงฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหมด
ตั้งใจตรง กำลังจะฟังพระดำรัสของพระองค์อยู่ ข้า-
พระองค์จักเผยการเกิดและการตาย ที่ข้าพระองค์ละมา
ได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง

กำจัด เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน 3 จำพวก
มีปุถุชนเป็นต้น ไม่อาจเพื่อจะรู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือ
แสดงได้ ส่วนผู้กระทำความไตร่ตรอง พิจารณาตาม
เหตุผลของตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรมที่ตน
ปรารถนาทั้งแสดงได้ พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยา-
กรณ์อันสมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญา
ที่ตรง ๆ โดยไม่มีการเสียดสีใครเลย การถวายบังคม
ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย อันข้าพระองค์ถวายบังคมดีแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรงทราบ
แล้วจะทรงหลงล้มไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระ-
วิริยะอันไม่ต่ำทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประ-
เสริฐกว่าโลกิยธรรมมาแล้ว ก็ทรงทราบพระเญยยธรรม
ทุกอย่างได้อย่างไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวังเป็นอย่าง
ยิ่งซึ่งพระดำรัสของพระองค์ เหมือนกับคนที่มีร่างอันชุ่ม
เหงื่อคราวหน้าร้อน ปรารถนาน้ำเย็นฉะนั้น ขอพระองค์
ทรงยังฝน คือพระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้ว
ให้ตกลงเถิด พระเจ้าข้า ท่านนิโครธกัปปะได้ประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของท่านนั้น
เป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปา-
ทิเสสนิพพานแล้วหรือ ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์


เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็นพระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้า-
พระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่งหวังนั้น พระเจ้า-
ข้า.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงพยากรณ์ จึงตรัสพระคาถา 1 พระ-
คาถา ความว่า
พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด ซึ่งความทะยานอยาก
ในนามและรูปนี้ กับทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่อง
อยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้นชาติและมรณะได้
หมดสิ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ-
จักษุทั้ง 5 ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ
ก็ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา
4 คาถา ความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีองค์ที่ 7 ข้าพระองค์นี้
ได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่า
คำถามที่ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระ-
องค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์.

สาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำ
อย่างนั้น ได้ตัดข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของ
พญามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์ ได้เด็ดขาด.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระนิโครธกัปปเถระ
กัปปายนโคตร ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมาร
ที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้วหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้า-
พระองค์ขอนมัสการท่านพระนิโครธกัปปเถระ ผู้เป็น
วิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาตบุตรของพระองค์
มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
พระองค์ผู้ประเสริฐ.

ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบวังคีสเถรคาถาที่ 1
จบมหานิบาต

ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์
เฉียบแหลมองค์เดียว ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ 71
คาถา

พระเถระ 264 รูป ผู้พระพุทธบุตร ไม่มีอาสวะ
บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากันบันลือสีหนาท

ประกาศคาถาไว้รวม 1,360 คาถาแล้ว ก็พากันนิพพาน
ไป เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล.

จบเถรคาถา

อรรถกถามหานิบาต


อรรถกถาวังคีสเถรคาถาที่ 1


ในสัตตตินิบาต1 คาถาของท่านพระวังคีสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า
นิกฺขนฺตํ วต มํ สนฺตํ ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้บังเกิดใน
ตระกูลมีโภคะมาก ในนครหังสวดี ไปวิหารฟังธรรม โดยนัยอันมีในก่อน
นั่นแล ได้เห็นพระศาสดาทรงทั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศแห่ง
ภิกษุผู้มีปฏิภาณ จึงกระทำกรรมคือบุญญาธิการแด่พระศาสดา แล้วกระทำ
ความปรารถนาว่า แม้เราก็พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณใน
อนาคตกาล อันพระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว การทำกุศลจนตลอดชีวิต
ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ในเมืองสาวัตถี ได้นามว่า วังคีสะ เรียนจบไตรเพท
ได้ทำให้อาจารย์โปรดปรานแล้ว ศึกษามนต์ชื่อว่า ฉวสีสะ เอาเล็บเคาะ
ศีรษะศพ ย่อมรู้ได้ว่าสัตว์นี้บังเกิดในกำเนิดโน้น.

1. บาลีเป็นมหานิบาต.