เมนู

เถรคาถา จัตตาลีสนิบาต


1. มหากัสสปเถรคาถา


ว่าด้วยสถานที่และข้อปฏิบัติที่ดีงาม


[398] ผู้มีปัญญาเห็นว่า ไม่ควรอยู่คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะ
เป็นเหตุทำใจให้ฟุ้งซ่านได้สมาธิโดยยาก การสงเคราะห์
ชนต่าง ๆ เป็นความลำบากดังนี้ จึงไม่ชอบใจหมู่คณะ
นักปราชญ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับตระกูลทั้งหลาย เพราะเป็น
เหตุทำใจให้ฟุ้งซ่านได้สมาธิโดยยาก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ
ตระกูลนั้น ย่อมต้องขวนขวายในการเข้าไปสู่ตระกูล มัก
ติดรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้
นักปราชญ์ได้กล่าวการกราบไหว้และการบูชาในตระกูล
ทั้งหลายว่าเป็นเปือกตม และเป็นลูกศรที่ละเอียดถอน
ได้ยาก บุรุษผู้เลวทรามย่อมละสักการะได้ยากยิ่ง.

เราลงจากเสนาสนะแล้ว ก็เข้ารูปบิณฑบาตยัง
นคร เราได้เข้าไปหาบุรุษโรคเรื้อน ผู้กำลังบริโภคอาหาร
ด้วยความอ่อนน้อม บุรุษโรคเรื้อนนั้นได้น้อมเข้ามาซึ่งคำ
ข้าวด้วยมือโรคเรื้อน เมื่อเขาใส่คำข้าวลงนิ้วมือของเขาก็
ขาดตกลงในบาตรของเรานี้ เราอาศัยชายคาเรือนฉันข้าว
นั้นอยู่ ในเวลาที่กำลังฉันและฉันเสร็จแล้ว เรามิได้มี
ความเกลียดชังเลย ภิกษุใดไม่ดูหมิ่นปัจจัยทั้งสี่ คือ
อาหารบิณฑบาตที่จะพึงลุกขึ้นยืนรับ 1 บังสุกุลจีวร 1

เสนาสนะคือโคนไม้ 1 ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า 1 ภิกษุ
นั้นแล สามารถจะอยู่ในจาตุรทิศได้ ในเวลาแก่ภิกษุ
บางพวกเมื่อขึ้นเขาย่อมลำบาก แต่พระมหากัสสปะผู้เป็น
ทายาทของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แม้ใน
เวลาแก่เป็นผู้แข็งแรงด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ย่อมขึ้นไปได้
ตามสบาย พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน ละความกลัว
ภัยได้แล้ว กลับจากบิณฑบาตแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌาน
อยู่ พระมหากัสสปะผู้หมดอุปาทาน เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
ถูกไฟไหม้อยู่ เป็นผู้ดับไฟได้แล้ว กลับจากบิณฑบาต
แล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ พระมหากัสสปะผู้
หมดอุปาทาน ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ กลับจาก
บิณฑบาตแล้ว ขั้นสู่ภูเขาเพ่งฌานอยู่ ภูมิภาคอันประกอบ
ด้วยระเบียบแห่งต้นกุ่มทั้งหลาย น่ารื่นรมย์ใจ กึกก้อง
ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ ล้วนแล้วด้วยภูเขา ย่อม
ทำให้เรายินดี ภูเขามีสีเขียวดุจเมฆ งดงาม มีธารน้ำ
เย็นใสสะอาด ดารดาษไปด้วยหญ้ามีสีเหมือนแมลง-
ค่อมทอง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาอันสูงตระหง่าน
แทบจดเมฆเขียวชอุ่ม เปรียบปานดังปราสาท กึกก้อง
ด้วยเสียงช้างร้อง น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ย่อมยังเราให้ยินดี
ภูเขาที่ฝนตกรดแล้ว มีพื้นน่ารื่นรมย์ เป็นที่อาศัยของ
เหล่าฤาษี เซ็งแซ่ด้วยเสียงนกยูง ย่อมยังเราให้รื่นรมย์

สถานที่เหล่านั้น เหมาะสำหรับเราผู้ยินดีในการเพ่งฌาน
มีใจเด็ดเดี่ยว มีสติ เหมาะสำหรับเราผู้ใคร่ประโยชน์
รักษาตนดีแล้ว ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เหมาะสำหรับเรา
ผู้ปรารถนาความผาสุก มีใจเด็ดเดี่ยว เหมาะสำหรับเรา
ผู้ปรารถนาประกอบความเพียร มีใจแน่วแน่ ศึกษาอยู่
ภูเขาที่มีสีดังดอกผักตบ ปกคลุมด้วยหมู่เมฆบนท้องฟ้า
เกลื่อนกล่นด้วยหมู่นกต่าง ๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขา
อันไม่เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน มีแต่หมู่เนื้ออาศัย ดารดาษ
ด้วยหมู่นกต่าง ๆ ย่อมยังเราให้รื่นรมย์ ภูเขาที่มีน้ำใส
สะอาด มีแผ่นหินเป็นแท่งทึบ เกลื่อนกล่นด้วยค่างและ
มฤคชาติ ดารดาษไปด้วยสาหร่าย ย่อมยังเราให้รื่นรมย์
เราผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาเห็นธรรมโดยชอบ ย่อมไม่มี
ความยินดีด้วยดนตรีเครื่อง 5 เช่นนั้น ภิกษุไม่พึงทำ
การงานให้มากนัก พึงเว้นคนผู้มิใช่กัลยาณมิตรเสีย ไม่
ควรขวนขวายในลาภผล ท่านผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ย่อมจะ
ต้องขวนขวายและติดในรสอาหาร ย่อมละทิ้งประโยชน์
อันจะนำความสุขมาให้ ภิกษุไม่พึงทำการงานให้มากนัก
พึงเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เสีย เมื่อภิกษุขวนขวายใน
การงานมาก ก็จะต้องเยียวยาร่างกายลำบาก ผู้มีร่างกาย
ลำบากนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความสงบใจ ภิกษุไม่รู้สึกตน
ด้วยเหตุสักว่าการท่องบ่นพระพุทธวจนะ ย่อมเที่ยวชูคอ

สำคัญตนประเสริฐกว่าผู้อื่น ผู้ใดไม่ประเสริฐ เป็นพาล
แต่สำคัญตนว่าประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา นักปราชญ์
ทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญผู้นั้น ซึ่งเป็นผู้มีใจกระด้างเลย
ผู้ใดไม่หวั่นไหวเพราะมานะ 3 อย่าง ที่ถือว่าตัวเราเป็น
ผู้ประเสริฐกว่าเขา 1 เสมอเขา 1 เลวกว่าเขา 1
นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้นแหละว่า เป็นผู้มี
ปัญญา มีวาจาจริง ตั้งมั่นดีแล้วในศีลทั้งหลาย และว่า
ประกอบด้วยความสงบใจ ภิกษุใดไม่มีความเคารพใน
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้เหินห่าง
จากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น ภิกษุเหล่าใด
เข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะไว้ชอบทุกเมื่อ มีพรหมจรรย์
อันงอกงาม ภิกษุเหล่านั้นมีภพใหม่สิ้นแล้ว ภิกษุผู้ยังมี
ใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก ถึงจะนุ่งห่มผ้าบังสุกุล ภิกษุนั้นย่อม
ไม่งดงามด้วยผ้าบังสุกุลนั้น เหมือนกับวานรคลุมด้วย
หนังราชสีห์ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับ
กลอก มีปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ ย่อม
งดงามเพราะผ้าบังสุกุล ดังราชสีห์ในถ้ำฉะนั้น เทพเจ้า
ผู้มีฤทธิ์ มีเกียรติยศเป็นอันมากประมาณหมื่น และ
พรหมทั้งปวง ได้พากันมายืนประนมอัญชลี นอบน้อม
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้มีฌาน
ใหญ่ มีใจตั้งมั่น เปล่งวาจาว่า ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย
ขอนอบน้อมแต่ท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นอุดมบุรุษ ขอนอบ

ขอนอบน้อมแด่ท่าน ท่านย่อมเข้าฌานอยู่เพราะอาศัยอา-
รมณ์ใด ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมรู้ไม่ถึงอารมณ์เหล่านั้นของ
ท่าน น่าอัศจรรย์จริงหนอ วิสัยของท่านผู้รู้ทั้งหลายลึกซึ้ง
ยิ่งนัก ข้าพเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้นับว่าเป็น
ผู้เฉียบแหลมดุจนายขมังธนู ก็ยังรู้ไม่ถึง ความยิ้มแย้ม
ได้ปรากฏมีแก่ท่านพระกัปปินเถระ เพราะได้เห็นท่าน
พระสารีบุตรผู้ควรแก่สักการบูชา อันหมู่ทวยเทพบูชา
อยู่เช่นนั้นในเวลานั้น ตลอดทั่วพุทธอาณาเขต ยกเว้น
แต่สมเด็จพระมหามุนีองค์เดียวเท่านั้น เราเป็นผู้ประ-
เสริฐสุดในทางธุดงคคุณ ไม่มีใครเทียมเท่าเลย เราเป็น
ผู้คุ้นเคยกับพระบรมศาสดา เราทำคำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว ถอนตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว พระสมณโคดมผู้ทรงพระคุณ
หาปริมาณมิได้ มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะ ทรงสลัด
ภพทั้ง 3 ออกได้แล้ว ย่อมไม่ทรงติดอยู่ด้วยจีวร บิณฑ-
บาตและเสนาสนะ เปรียบเหมือนบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ
ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นจอมนักปราชญ์ มีสติปัฏฐานเป็น
พระคอ มีศรัทธาเป็นพระหัตถ์ มีปัญญาเป็นพระเศียร
ทรงพระปรีชามก ทรงดับเสียแล้วซึ่งกิเลสแลกองทุกข์
ตลอดกาลทุกเมื่อ.

จบมหากัสสปเถรคาถา

ในจัตตาลีสนิบาตนี้ มีพระมหากัสสปเถระองค์เดียวเท่านั้น
ได้ภาษิตคาถาไว้ 40 คาถา.

จัตตาลีสนิบาตจบบริบูรณ์

อรรถกถาจัตตาลีสนิบาต


อรรถกถากัสสปเถรคาถาที่ 1


ในจัตตาลีสนิบาต

คาถาของท่านพระมหากัสสปเถระ มีคำเริ่ม
ต้นว่า น คเณน ปุรกฺขโต จเร ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
พระเถระนี้ได้เป็นกุฎุมพีมีสมบัติ 80 โกฏิ นามว่า เวเทหะ ในหังสวดีนคร.
ท่านเป็นอุบาสกพุทธมามกะ ธรรมมามกะ สังฆมามกะ อยู่. ในวันอุโบสถ
วันหนึ่ง เขาบริโภคอาหารดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์แห่งอุโบสถ ถือเอา
ของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปยังวิหาร บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ก็ในขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่ 3 นามว่า มหานิสภเถระ
ในเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเรา ผู้ถือธุดงค์นี้
นิสภะเป็นเลิศ. อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงเลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา
เมื่อมหาชนลุกไป จึงถวายบังคมพระศาสดา เชื้อเชิญว่า พรุ่งนี้ขอพระองค์
จงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
ภิกษุสงฆ์มีมากแล. เขาทูลถามว่า มีเท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่ามี
6,800,000 รูป. เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงรับ