เมนู

10. ปาราสริยเถรคาถา


ว่าด้วยความประพฤติของภิกษุเมื่อก่อนอย่างหนึ่งขณะนี้อย่างหนึ่ง


[394] พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ ผู้มีจิตแน่วแน่เป็น
อารมณ์เดียว ชอบสงัด เจริญฌาน นั่งอยู่ในป่าใหญ่
มีดอกไม้บานสะพรั่ง ได้มีความคิดว่า เมื่อพระผู้เป็นอุดม
บุรุษเป็นนาถะของโลก ยังทรงพระชนม์อยู่ ความประ-
พฤติของภิกษุทั้งหลายเป็นอย่างหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จ
ปรินิพพานไปแล้ว เดี๋ยวนี้ปรากฏเป็นอย่างหนึ่ง คือภิกษุ
ทั้งหลายแต่ปางก่อน เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้
นุ่งห่มผ้าเป็นปริมณฑล ก็เพียงเพื่อจะป้องกันความหนาว
และลม และปกปิดความละอายเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายแต่
ปางก่อน ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม
น้อยก็ตาม มากก็ตาม ก็เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเท่านั้น
ไม่ติดไม่พัวพันเลย. ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อน (แม้จะถูก
ความเจ็บไข้ครอบงำ) ไม่ขวนขวายหาเภสัชปัจจัยอันเป็น
บริขารแห่งชีวิต เหมือนการขวนขวายหาความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ท่านเหล่านั้นขวนขวายพอกพูนวิเวก มุ่ง
แต่เรื่องวิเวก อยู่ในป่า โคนไม้ ซอกเขาและถ้ำเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลายแต่ปางก่อนเป็นผู้อ่อนน้อม มีศรัทธาตั้งมั่น
เลี้ยงง่าย อ่อนโยน มีน้ำใจไม่กระด้าง ไม่ถูกกิเลส
รั่วรด ปากไม่ร้าย เปลี่ยนแปลงตามความคิดอันเป็น

ประโยชน์ของตนแลผู้อื่น เพราะเหตุนั้น ภิกษุแต่ปางก่อน
เป็นผู้มีข้อปฏิบัติในการก้าวไปข้างหน้า ถอยกลับ การ
บริโภคปัจจัย การซ่องเสพโคจร และมีอิริยาบถละมุน
ละไม ก่อให้เกิดความเลื่อมใส เหมือนสายน้ำมันไหล
ออกไม่ขาดสายฉะนั้น บัดนี้ ท่านเหล่านั้น สิ้นอาสวะ
ทั้งปวงแล้ว มักเจริญฌานเป็นอันมาก ประกอบแล้วด้วย
ฌานใหญ่ เป็นพระเถระผู้มั่นคงพากันนิพพานไปเสีย
หมดแล้ว บัดนี้ ท่านเช่นนั้นเหลืออยู่น้อยเต็มที. เพราะ
ความสิ้นไปแห่งกุศลธรรมและปัญญา คำสั่งสอนของ
พระชินเจ้า อันประกอบแล้วด้วยอาการอันประเสริฐทุก
อย่าง จะสิ้นไปในเวลาที่ธรรมทั้งหลายอันลามก และ
กิเลสทั้งหลายเป็นไปอยู่. ภิกษุเหล่าใดปรารถนาความ
เพียรเพื่อความสงัด ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีพระสัท-
ธรรมที่เหลือเป็นข้อปฏิบัติ กิเลสเหล่านี้เจริญงอกงาม
ขึ้น ย่อมครอบงำคนเป็นอันมากไว้ในอำนาจ ดังจะเล่น
กับพวกคนพาล เหมือนปิศาจเข้าสิงทำคนให้เป็นบ้า เพ้อ
คลั่งอยู่ฉะนั้น นรชนเหล่านั้นถูกกิเลสครอบงำ ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ ตามส่วนแห่งอารมณ์นั้น ๆ ในกิเลสวัตถุ ดุจ
ในการโฆษณาที่มีสงครามฉะนั้น. พากันละทิ้งพระสัท-
ธรรม ทำการทะเลาะซึ่งกันและกัน ยึดถือตามความเห็น
ของตน สำคัญสิ่งนี้เท่านั้นประเสริฐ นรชนทั้งหลายที่ละ
ทิ้งทรัพย์สมบัติ บุตรและภรรยา ออกบวชแล้ว พากันทำ

กรรมที่ไม่ควรทำ แม้เพราะเหตุแห่งภิกษาหารเพียงทัพพี
เดียว ภิกษุทั้งหลายฉันภัตตาหารเต็มอิ่มแล้ว ถึงเวลานอน
ที่นอนหงาย ตื่นแล้วก็กล่าวแต่ถ้อยคำที่พระศาสดาทรงติ
เตียน ภิกษุผู้มีจิตไม่สงบในภายใน พากันเรียนทำแต่
ศิลปะที่ไม่ควรทำ มีการประดับร่มเป็นต้น ย่อมไม่หวัง
ประโยชน์ในทางบำเพ็ญสมณธรรมเสียเลย ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มุ่งแต่สิ่งของดี ๆ ให้มาก จึงนำเอาดินเหนียวบ้าง น้ำมัน
บ้าง จุรณเจิมบ้าง น้ำบ้าง ที่นั่งที่นอนบ้าง อาหารบ้าง ไม่
สีฟันบ้าง ผลมะขวิดบ้าง ดอกไม้บ้าง ของควรเคี้ยว
บ้าง บิณฑบาตบ้าง ผลมะขามป้อมบ้าง ไปให้แก่
คฤหัสถ์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายพากันประกอบเภสัช
เหมือนพวกหมอรักษาโรค ทำกิจน้อยใหญ่อย่างคฤหัสถ์
ตบแต่งร่างกายเหมือนหญิงแพศยา ประพฤติตนเหมือน
กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่. บริโภคอามิสด้วยอุบายเป็นอันมาก
คือทำให้คนหลงเชื่อ หลอกลวง เป็นพยานโกงตามโรง
ศาล ใช้เล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ อย่างนักเลง. เที่ยวแส่หา
ในการอ้างเลศ การพูดเลียบเคียง การพูดปริกัป มีการ
เลี้ยงชีพเป็นเหตุ ใช้อุบายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก.
ย่อมยังบริษัทให้บำรุงตนเพราะเหตุแห่งการงาน แต่มิให้
บำรุงโดยธรรม เที่ยวแสดงธรรมตามถิ่นต่าง ๆ เพราะ
เหตุแห่งลาภ มิใช่เพราะนุ่งประโยชน์ ภิกษุเหล่านั้น
ทะเลาะวิวาทกันเพราะเหตุแห่งลาภสงฆ์ เป็นผู้เหินห่าง

จากอริยสงฆ์ เลี้ยงชีวิตด้วยการอาศัยลาภของผู้อื่น ไม่มี
หิริ ไม่ละอาย จริงอย่างนั้น ภิกษุบางพวกไม่ประพฤติ
ตามสมณธรรมเสียเลย เป็นเพียงคนโล้น คลุมร่างไว้
ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น ปรารถนาแต่การสรรเสริญ
ถ่ายเดียว มุ่งหวังแต่ลาภและสักการะ เมื่อธรรมเป็น
เครื่องทำลายมีประการต่าง ๆ เป็นไปอยู่อย่างนี้ การ
บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือการตามรักษาธรรมที่ได้
บรรลุแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย เหมือนเมื่อพระศาสดายัง
ทรงพระชนม์อยู่ มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไปในบ้าน เหมือน
กับบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้า ตั้งสติเที่ยวไปในถิ่นที่มีหนาม
ฉะนั้น พระโยคีเมื่อตามระลึกถึงวิปัสสนาที่ปรารภแล้ว
ในกาลก่อน ไม่ทอดทิ้งวัตรสำหรับภาวนาวิธีเหล่านั้นเสีย
ถึงเวลานี้จะเป็นเวลาสุดท้ายภายหลัง ก็พึงบรรลุอมตบท
ได้ พระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะมีอินทรีย์อันอบรม
แล้ว เป็นพราหมณ์ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีภพใหม่
สิ้นไปแล้ว ครั้นกล่าววิธีปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ปรินิพพาน
ในสาลวัน.

จบปาราสริยเถรคาถา

รวมพระเถระ


ในวีสตินิบาตนี้ พระเถระ 10 รูปนี้ คือ พระอธิมุตตเถระ 1
พระปาราสริยเถระ 1 พระเตลุถามิเถระ 1 พระรัฐปาลเถระ 1 พระ-
มาลุงกยปุตตเถระ 1 พระเสลเถระ 1 พระภัททิยถาลิโคธาปุตตเถระ 1