เมนู

2. ปาราสริยเถรคาถา

1

ว่าด้วยไม่รักษาอินทรีย์จึงมีโทษ


[386] ความคิดได้มีแล้วแก่ภิกษุผู้ชื่อว่าปาราสริยะ ผู้เป็น
สมณะนั่งอยู่แล้วแต่ผู้เดียว มีจิตสงบสงัด เพ่งฌาน
บุรุษพึงทำอะไรโดยลำดับ พึงประพฤติวัตรอย่างไร ประ-
พฤติมารยาทอย่างไร จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตน และ
ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ อินทรีย์ทั้งหลายย่อมมีเพื่อ
ประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย อินทรีย์
ที่ไม่รักษาย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ อินทรีย์ที่รักษา
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บุรุษผู้รักษาและคุ้มครอง
อินทรีย์นั่นแล จึงชื่อว่าเป็นผู้กระทำกิจของตน และ
ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ. ถ้าผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์อันไป
ในรูปทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้น
จากทุกข์ได้เลย อนึ่ง ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์ อันเป็นไป
อยู่ในเสียงทั้งหลาย ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจาก
ทุกข์ได้เลย. ถ้าผู้ใดไม่เห็นอุบายเครื่องสลัดออก ซ่อง-
เสพในกลิ่น ผู้นั้นเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในกลิ่น ย่อมไม่พ้น
จากทุกข์ ผู้ใดมัวแต่คำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวานและ
รสขม เป็นผู้กำหนัดยินดีด้วยตัณหาในรส ไม่รู้สึกถึง
ความคิดในใจ (อันเกิดขึ้นในขณะบรรพชาว่า จักทำที่สุด
ทุกข์) ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดมัวนึกถึงโผฏ-
ฐัพพะอันสวยงาม ไม่ปฏิกูล ยินดีแล้ว ผู้นั้นย่อมได้


1. ม. ปาราปริยเถรคาถา.

ประสบทุกข์มีประการต่าง ๆ อันมีราคะเป็นเหตุ ก็ผู้ใด
ไม่อาจรักษาใจจากธรรมเหล่านี้ ทุกข์จากอารมณ์ทั้ง 5
นั้น ย่อมติดตามผู้นั้นไป เพราะการไม่รักษาใจนั้น.

ร่างกายนี้เต็มไปด้วยหนองเลือดและซากศพเป็นอัน
มาก อันนายช่างผู้ฉลาดทำไว้ เป็นของเกลี้ยงเกลาวิจิตร
งดงามดุจสมุก คนพาลย่อมไม่รู้สึกว่า ร่างกายนี้เป็นของ
เผ็ดร้อน มีรสหวานชื่นใจ เกี่ยวพันด้วยความรัก เป็น
ทุกข์ เป็นของฉาบไล้ไว้ด้วยสิ่งที่น่าชื่นใจ เหมือนมีดโกน
อันทาแล้วด้วยน้ำผึ้งฉะนั้น.

บุคคลผู้กำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะของหญิง ย่อมต้องประสบทุกข์มีประการ
ต่าง ๆ. กระแสตัณหาในหญิงทั้งปวงย่อมไหลไปในทวาร
ทั้ง 5 ของบุรุษ ผู้ใดมีความเพียร อาจทำการป้องกัน
กระแสตัณหาเหล่านั้นได้ ผู้นั้นเป็นผู้รู้อรรถ ตั้งอยู่ใน
ธรรม เป็นผู้ขยัน มีปัญญาเครื่องพิจารณา แม้บุคคลยัง
เป็นผู้ยินดีในการครองเรือน ก็พึงทำกิจอันประกอบด้วย
อรรถและธรรม. ถ้าประโยชน์ปัจจุบันที่ประกอบแล้ว
ทำให้จมลง พึงเว้นกิจอันไร้ประโยชน์เสีย เมื่อรู้ว่า สิ่งนั้น
ไม่ควรทำ พึงเป็นผู้ไม่ประมาทมีปัญญาสอดส่องในสิ่ง
นั้น. บุคคลพึงยึดเอาแต่กิจที่ประกอบด้วยประโยชน์และ
ความยินดีอันประกอบด้วยธรรม แล้วพึงประพฤติ เพราะ
ว่าความยินดีในธรรมนั้นแล เป็นความยินดีสูงสุด.

ผู้ใดปรารถนาจะชิงเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยอุบายใหญ่
น้อย ฆ่าผู้อื่น เบียดเบียดผู้อื่น ทำคนอื่นให้เศร้าโศก
ฉกชิงเอาสิ่งของของคนอื่น ด้วยความทารุณร้ายกาจ
การกระทำของผู้นั้น เป็นการกระทำอันประกอบด้วยความ
ฉิบหาย. บุคคลผู้มีกำลัง เมื่อผ่าไม้ ย่อมตอกลิ่มด้วย
ลิ่ม ฉันใด ภิกษุผู้ฉลาดย่อมกำจัดอินทรีย์ด้วยอินทรีย์
ฉันนั้น บุคคลผู้อบรมศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ
ปัญญา กำจัดอินทรีย์ 5 ด้วยอินทรีย์ 5 แล้ว เป็น
พราหมณ์ผู้ไม่มีทุกข์ไป. บุคคลนั้นเป็นผู้รู้อรรถ ตั้งอยู่
ในธรรม ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยประการ
ทั้งปวง ย่อมได้รับความสุข.

จบปาราสริยเถรคาถา

อรรถกถาปาราปริยเถรคาถาที่ 2

1

คาถาของท่านพระปาชาปริยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สมณสฺส อหุ
จินฺตา
ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน
ทั้งหลาย ได้สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ
ท่องเที่ยวไปเฉพาะในสุคติเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดเป็นบุตร
ของพราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เมื่อเขาเจริญวัย ได้มีชื่อ

1. บาลี เป็น ปาราสริยเถรคาถา.