เมนู

2. ปาราสริยเถรคาถา

1

ว่าด้วยไม่รักษาอินทรีย์จึงมีโทษ


[386] ความคิดได้มีแล้วแก่ภิกษุผู้ชื่อว่าปาราสริยะ ผู้เป็น
สมณะนั่งอยู่แล้วแต่ผู้เดียว มีจิตสงบสงัด เพ่งฌาน
บุรุษพึงทำอะไรโดยลำดับ พึงประพฤติวัตรอย่างไร ประ-
พฤติมารยาทอย่างไร จึงชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจของตน และ
ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ อินทรีย์ทั้งหลายย่อมมีเพื่อ
ประโยชน์และไม่ใช่ประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลาย อินทรีย์
ที่ไม่รักษาย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ อินทรีย์ที่รักษา
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บุรุษผู้รักษาและคุ้มครอง
อินทรีย์นั่นแล จึงชื่อว่าเป็นผู้กระทำกิจของตน และ
ชื่อว่าไม่เบียดเบียนใคร ๆ. ถ้าผู้ใดไม่ห้ามจักขุนทรีย์อันไป
ในรูปทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้น
จากทุกข์ได้เลย อนึ่ง ผู้ใดไม่ห้ามโสตินทรีย์ อันเป็นไป
อยู่ในเสียงทั้งหลาย ยังไม่เห็นโทษ ผู้นั้นย่อมไม่พ้นจาก
ทุกข์ได้เลย. ถ้าผู้ใดไม่เห็นอุบายเครื่องสลัดออก ซ่อง-
เสพในกลิ่น ผู้นั้นเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในกลิ่น ย่อมไม่พ้น
จากทุกข์ ผู้ใดมัวแต่คำนึงถึงรสเปรี้ยว รสหวานและ
รสขม เป็นผู้กำหนัดยินดีด้วยตัณหาในรส ไม่รู้สึกถึง
ความคิดในใจ (อันเกิดขึ้นในขณะบรรพชาว่า จักทำที่สุด
ทุกข์) ผู้นั้นย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ผู้ใดมัวนึกถึงโผฏ-
ฐัพพะอันสวยงาม ไม่ปฏิกูล ยินดีแล้ว ผู้นั้นย่อมได้


1. ม. ปาราปริยเถรคาถา.