เมนู

6. นทีกัสสปเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระนทีกัสสปเถระ


[340] พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา เพื่อประ-
โยชน์แก่เราหนอ เพราะเราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่ สำคัญว่า
การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์ จึงได้บูชายัญสูงๆ ต่ำๆ
และได้บูชาไฟ แล่นไปสู่การถือทิฏฐิ ลุ่มหลงไปด้วยการ
เชื่อถือ เป็นคนตาบอดให้รู้แจ้ง สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่า
เป็นความบริสุทธิ์ บัดนี้ เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลาย
ภพทั้งปวงหมดแล้ว เราบูชาไฟ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เราขอนมัสการพระตถาคต ความ
ลุ่มหลงทั้งปวงเราละหมดแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
เราทำลายแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.

จบนทีกัสสปเถรคาถา

อรรถกถานทีกัสสปเถรคาถาที่ 6



คาถาของท่านพระนทีกัสสปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อตฺถาย วต เม
ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความ
เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็นพระศาสดากำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ มีจิต
เลื่อมใสได้ถวายผลมะม่วงผลหนึ่ง มีสีเหมือนมโนศิลา ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรก
ของต้นมะม่วงที่ตนปลูกไว้.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นน้องชายของอุรุเวลกัสสปะ ในตระกูล
พราหมณ์ ในมคธรัฐ เจริญวัยแล้ว ไม่ปรารถนาการอยู่ครองเรือน เพราะ
มีอัธยาศัยในการสลัดออก จึงบวชเป็นดาบส พร้อมด้วยดาบส 300 คน
สร้างอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. จริงอยู่ เพราะท่านอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
และเพราะท่านเป็นกัสสปโคตร ท่านจึงได้นามว่า นทีกสัสปะ, พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ประทานอุปสมบทแก่ท่านพร้อมด้วยบริวาร โดยเอหิภิกษุ-
ภาวะ เรื่องทั้งหมดมาแล้วในขันธกะนั่นแล. ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัต
ด้วยอาทิตตปริยายสูตร. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน1ว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเชษฐบุรุษของ
โลก ผู้คงที่ ผู้ทรงยศอันสูงสุด กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
อยู่ ข้าพระองค์มีใจเลื่อมใส ได้ถือเอาผลชมพู่อย่างดีมา
ถวายแด่พระศาสดา ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นนัก-
ปราชญ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่าสัตว์ เชษฐบุรุษ
ของโลก ประเสริฐกว่านรชน เพราะกรรมนั้น ข้าพระองค์
จงเป็นผู้ละความชนะและความแพ้แล้ว ได้ถึงฐานะที่
ไม่หวั่นไหว ในแสนกัปแต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายทาน


1. ขุ. อ. 33/ข้อ 30.

ใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้นข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้
เป็นผลแห่งการถวายผลไม้อย่างดีเป็นทาน ข้าพระองค์เผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ...ฯลฯ...พระพุทธศาสนาข้าพระองค์
ได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ภายหลังพิจารณาการปฏิบัติของ
ตน เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล โดยระบุการถอนทิฏฐิขึ้นเป็นประธาน
จึงได้กล่าวคาถา 5 คาถา1เหล่านี้ว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่แม่น้ำเนรัญชรา เพื่อประ-
โยชน์แก่เราหนอ เพราะเราได้ฟังธรรมของพระองค์แล้ว
ละมิจฉาทิฏฐิได้ เมื่อเราเป็นปุถุชนยังมืดมนอยู่ สำคัญว่า
การบูชายัญนี้เป็นความบริสุทธิ์ จึงได้บูชายัญสูง ๆ ต่ำ ๆ
และได้บูชาไฟ แล่นไปสู่การถือทิฏฐิ ลุ่มหลงไปด้วยการ
เชื่อถือ เป็นคนตาบอดไม่รู้แจ้ง สำคัญความไม่บริสุทธิ์ว่า
เป็นความบริสุทธิ์ บัดนี้ เราละมิจฉาทิฏฐิได้แล้ว ทำลาย
ภพทั้งปวงหมดแล้ว เราบูชาไฟ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เราขอนมัสการพระตถาคต ความ
ลุ่มหลงทั้งปวงเราละหมดแล้ว ตัณหาอันจะนำไปสู่ภพเรา
ทำลายแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย วต เม ความว่า เพื่อ
ประโยชน์ คือเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่เราหนอ.
บทว่า พุทฺโธ ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า.

1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 340.

บทว่า นทึ เนรญฺชรํ อคา ความว่า ได้ไปสู่แม่น้ำชื่อว่าเนรัญชรา.
อธิบายว่า ไปสู่อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ พี่ชายของเรา ใกล้ฝั่งแห่ง
แม่น้ำนั้น .
บัดนี้ เพื่อจะไขความตามที่กล่าวแล้วจึงกล่าวว่า ยสฺสาหํ ดังนี้
เป็นต้น.
บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด.
บทว่า ธมฺมํ สุตฺวา ความว่า ฟังธรรมอันเกี่ยวด้วยสัจจะ 4 คือ
ได้รับฟังตามกระแสแห่งโสตทวาร.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐึ วิวชฺชยึ ความว่า ละซึ่งการเห็นผิดตรงกันข้าม
(ผิดแผก) อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยยัญเป็นต้น
เพื่อจะแสดงให้พิสดาร ซึ่งความที่กล่าวด้วยบทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐึ
วิวชฺชยึ
นี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยชึ ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชึ อุจฺจาวเจ ยญฺเญ ความว่า บูชายัญ
ที่ปรากฏ คือยัญต่าง ๆ มีการบวงสรวงพระจันทร์ และการบูชาด้วย
ข้าวตอกและน้ำที่ควรดื่มเป็นต้น.
บทว่า อคฺคิหุตฺตํ ชุหึ อหํ ความว่า เมื่อรับวัตถุที่เขานำมาบูชา
ด้วยอำนาจการบูชายัญเหล่านั้น จึงบำเรอไฟ.
บทว่า เอสา สุทฺธีติ มญฺญนฺโต ความว่า สำคัญอยู่ว่า ยัญกิริยา
คือการบำเรอไฟนี้ เป็นการบริสุทธิ์โดยความเป็นเหตุให้บริสุทธิ์ คือเป็น
การหมดจดจากสงสารย่อมมีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า อนฺธภูโต ปุถุชฺชโน ความว่า ชื่อว่าเป็นปุถุชนคนบอด
เพราะบกพร่องทางจักขุคือปัญญา ได้แก่ เพราะไม่มีปัญญาจักษุ. การ

ยึดถือคือทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิคหนะ เพราะอรรถว่าล่วงได้โดยยาก เหมือน
พงหญ้าและชัฏภูเขาเป็นต้นฉะนั้น แล่นไป คือเข้าไปสู่รกชัฏคือทิฏฐินั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิคหนปักขันทะ แล่นไปสู่ชัฏคือทิฏฐิ.
บทว่า ปรามาเสน ความว่า ด้วยการก้าวล่วงสภาวะแห่งธรรมเสีย
ยึดถือผิด กล่าวคือ การยึดถือโดยยึดถือว่า นี้เท่านั้นจริง.
บทว่า โมหิโต ความว่า ให้ถึงความเป็นผู้หลงงมงาย.
บทว่า อสุทฺธึ มญฺญิสํ สุทฺธึ ความว่า สำคัญคือเข้าใจหนทาง
อันไม่บริสุทธิ์ ว่าทางบริสุทธิ์ ดังนี้.
ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้นว่า เป็นคนบอด คือคนไม่รู้. เป็นคนบอด
เพราะอวิชชาใด คือไม่รู้ธรรมและอธรรม และสิ่งที่ควรและไม่ควรนั้น
นั่นแล ฉะนั้น จึงสำคัญอย่างนั้น.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ ปหีนา เม ความว่า เมื่อเราฟังธรรมกถา คือ
สัจจะ 4 ในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดาผู้เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติอยู่โดย
อุบายอันแยบคาย เป็นอันละมิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด ด้วยสัมมาทิฏฐิอัน
สัมปยุตด้วยอริยมรรค โดยสมุจเฉทปหาน.
บทว่า ภวา ความว่า ภพทั้งปวงมีกามภพเป็นต้น เราทำลายเสีย
แล้ว คือกำจัดเสียแล้วด้วยศัสตรา คืออริยมรรค.
บทว่า ชุหามิ ทกฺขิเณยฺยคฺคึ ความว่า เราละไฟ มีไฟอันบุคคลพึง
นำมาบูชาเป็นต้น แล้วบูชาคือบำเรอไฟคือพระทักขิไณย คือพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระทักขิไณยบุคคลของโลกพร้อมทั้งเทวโลก และ
เพราะเผาบาปทั้งปวง การบำเรอไฟคือพระทักขิไณยของเรานี้นั้น มิได้มุ่ง
ถึงวัตถุมีนมส้ม เนยข้น เปรียง และเนยใสเป็นต้น เป็นการนมัสการ

พระศาสดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นมสฺสามิ ตถาคตํ
เราขอนมัสการพระตถาคต ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชุหามิ ทกฺขิเณยฺยคฺคึ ความว่า ย่อมบูชา
คือบำเรอตน อันเป็นทักขิเณยยัคคิ ด้วยการกระทำทักขิณาของทายกให้
มีผลมาก และด้วยการเผาบาป. ย่อมบำเรอด้วยประการนั้น ๆ คือจะ
นมัสการเทวดาคือไฟ แต่บัดนี้เราจะนมัสการพระตถาคต.
บทว่า โมหา สพฺเพ ปหีนา เม ความว่า โมหะทั้งปวงต่าง
ด้วยความไม่รู้ในทุกข์เป็นต้น เราละได้แล้ว คือตัดขาดแล้ว เพราะเหตุ
นั้นนั่นแล เราจึงชื่อว่า ทำลายภวตัณหาได้แล้ว.
เม ศัพท์ พึงนำมาประกอบเข้าในบททั้ง 3 ว่าชาติสงสารของเรา
สิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ของเราไม่มี ดังนี้แล.
จบอรรถกถานทีกัสสปเถรคาถาที่ 6

7. คยากัสสปเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระคยากัสสปเถระ


[341] เราลงไปลอยบาปในแม่น้ำคยา ที่ท่าคยผัคคุวันละ
3 ครั้ง คือ เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น เพราะคิด
เห็นว่า บาปใดที่เราทำไว้ในชาติก่อน บัดนี้ เราจะลอย
บาปนั้นในที่นี้ ความเห็นอย่างนี้ ได้มีแก่เราในกาลก่อน
บัดนี้ เราได้ฟังวาจาอันเป็นสุภาษิต เป็นบทอันประกอบ
ด้วยเหตุผล แล้วพิจารณาเห็นเนื้อความได้ถ่องแท้ตาม
ความเป็นจริง โดยอุบายอันชอบ จึงได้ล้างบาปทั้งปวง
เป็นผู้ไม่มีมลทิน หมดจด สะอาด เป็นทายาทผู้บริสุทธิ์
ของพระพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุทรของพระ-
พุทธเจ้า เราได้หยั่งลงสู่กระแสน้ำ คือมรรคอันมีองค์ 8
ลอยบาปทั้งปวงแล้ว เราได้บรรลุวิชชา 3 และได้ทำกิจ
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบคยากัสสปเถรคาถา

อรรถกถาคยากัสสปเถรคาถามีที่ 7



คาถาของท่านพระคยากัสสปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปาโต มชฺฌนฺหิกํ
ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้น อย่างไร ?
พระเถระแม้น ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ 31
แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี บังเกิด