เมนู

4. สุมนเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสุมนเถระ


[338] ท่านพระอุปัชฌายะปรารถนาธรรมใด ในบรรดาธรรม
ทั้งหลายเพื่อเรา อนุเคราะห์เราผู้จำนงหวังอมตนิพพาน
กิจที่ควรทำในธรรมนั้นเราทำเสร็จแล้ว ธรรมที่มิใช่สิ่งที่
อ้างว่า ท่านกล่าวมาอย่างนี้ เราได้บรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง
แล้วด้วยตนเอง เรามีญาณอันบริสุทธิ์ หมดความสงสัย
จึงได้พยากรณ์ในสำนักของท่าน เรารู้จักขันธ์ที่เคยอยู่
อาศัยในก่อน ทิพยจักษุเราได้ชำระแล้ว ประโยชน์ของตน
เราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำแล้ว
สิกขา 3 อันเราผู้ไม่ประมาทได้ฟังดีแล้ว ในสำนักของ
ท่าน อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี
ท่านเป็นผู้มีความเอ็นดู อนุเคราะห์สั่งสอนเราด้วยวัตรอัน
ประเสริฐ โอวาทของท่านไม่ไร้ประโยชน์ เราได้ศึกษา
อยู่ในสำนักของท่าน.

จบสมุนเถรคาถา

อรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ 4



คาถาของท่านพระสุมนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยํ ปตฺถยมาโน ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกัปที่ 95 แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อโลกว่างพระ-
พุทธเจ้า บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว เห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งป่วยไข้ได้ถวายชิ้นสมอ.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดี ในโกศลรัฐ ได้นามว่า สุมน
เจริญด้วยความสุข. ก็ลุงของท่านบวชแล้วเป็นพระอรหันต์อยู่ในป่า เมื่อ
ท่านสุมนเจริญวัยแล้วจึงให้ท่านบรรพชา ได้ให้กัมมัฏฐานอันเหมาะแก่
จริต. ท่านประกอบความเพียรในที่นั้น ยังฌาน 4 และอภิญญา 5 ให้เกิด.
ลำดับนั้น พระเถระได้บอกวิปัสสนาวิธีแก่ท่าน, ก็ท่านเจริญวิปัสสนาโดย
ไม่นานเลย ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวไว้ในอปทาน1ว่า
เรากำลังนำผลสมอ ผลมะขามป้อม ผลมะม่วง ผล
หว้า สมอพิเภก กระเบา ผลรกฟ้า มะตูม มาด้วยตนเอง
เราได้เห็นพระมหามุนีผู้มีปกติเพ่งพินิจ ยินดีในฌาน เป็น
นักปราชญ์ ลูกอาพาธเบียดเบียน เสด็จเดินทางไกล
ประทับอยู่ที่เงื้อมเขา จึงได้เอาผลสมอถวายแด่พระสยัมภู
ก็เราพอทำเภสัชเสร็จแล้ว พยาธิหายไปในทันใดนั้นเอง
พระพุทธเจ้าผู้มีความกระวนกระวายอันละได้แล้ว ได้
ทรงทำอนุโมทนาว่า ก็ด้วยการถวายเภสัชอันเป็นเครื่อง
ระงับพยาธินี้ ท่านเกิดเป็นเทวดา เป็นมนุษย์ หรือจะ


1. ขุ. อ. 33/ข้อ 28.

เกิดในชาติอื่น จงเป็นผู้ถึงความสุขในที่ทุกแห่ง และ
ท่านอย่าถึงความป่วยไข้ ครั้นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ไม่ทรง
พ่ายแพ้อะไร เป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้วได้เสด็จเหาะ
ขึ้นสู่นภากาศ เหมือนพญาหงส์ในอัมพรฉะนั้น เฉพาะ
เราได้ถวายสมอแด่พระสยัมภูพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่ ความป่วยไข้จึงมิได้เกิดแก่เราเลยจนถึงชาตินี้
นี้เป็นความเกิดครั้งหลังของเรา ภพสุดท้ายกำลังเป็นไป
วิชชา 3 เราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ พระพุทธศาสนา
เราได้ทำเสร็จแล้ว ในกัปที่ 95 แต่กัปนี้ เราได้ถวายเภสัช
ในกาลนั้น ด้วยการถวายเภสัชนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งเภสัชทาน เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ
... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว วันหนึ่งได้ไปยังที่อุปัฏฐากพระ-
เถระผู้เป็นลุง. พระเถระถามถึงการบรรลุกะท่าน, ท่านเมื่อพยากรณ์การ
บรรลุนั้น จึงพยากรณ์พระอรหัตผล บันลือสีหนาทด้วย 5 คาถา1 ดังนี้
ท่านพระอุปัชฌายะ ปรารถนาธรรมใด ในบรรดา
ธรรมทั้งหลายเพื่อเรา อนุเคราะห์เราผู้จำนงหวังอมต-
นิพพาน กิจที่ควรทำในธรรมนั้นเราทำเสร็จแล้ว ธรรมที่
มิใช่สิ่งที่อ้างว่า ท่านกล่าวมาอย่างนี้ เราได้บรรลุแล้ว ทำ
ให้แจ้งแล้วด้วยตนเอง เรามีญาณอันบริสุทธิ์ หมดความ
สงสัย จึงได้พยากรณ์ในสำนักของท่าน เรารู้จักขันธ์ที่


1. ขุ. เถระ. 26/ข้อ 338.

เคยอยู่อาศัยในก่อน ทิพยจักษุเราได้ชำระแล้ว ประโยชน์
ของตนเราได้บรรลุแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเรา
ได้ทำแล้ว สิกขา 3 อันเราผู้ไม่ประมาท ได้ฟังดีแล้ว
ในสำนักของท่าน อาสวะทั้งปวงของเราสิ้นแล้ว บัดนี้
ภพใหม่ไม่มี ท่านเป็นผู้มีความเอ็นดู อนุเคราะห์สั่งสอน
เราด้วยวัตรอันประเสริฐ โอวาทของท่านไม่ไร้ประโยชน์
ได้ศึกษาอยู่ในสำนักของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปตฺถยาโน ธมฺเมสุ อุปชฺณาโย
อนุคฺคหิ อมตํ อภิกงฺขนตํ
ความว่า ในบรรดาธรรมหาโทษมิได้ มีสมถะ
และวิปัสสนาเป็นต้น พระอุปัชฌาย์ของเรา เมื่อปรารถนาคือหวังธรรมใด
ย่อมอนุเคราะห์เราผู้หวัง อมตะ คือพระนิพพานด้วยอำนาจโอวาท.
บทว่า กตํ กตฺตพฺพกํ มยา ความว่า เรากระทำกิจคือยังกิจมี 16
อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้น ที่พึงทำเพื่อบรรลุพระนิพพานนั้นให้สำเร็จแล้ว
ลำดับนั้นนั่นแล ท่านท่าให้แจ้งมรรคธรรม แม้ทั้ง 4 มรรค ที่
บรรลุแล้วโดยลำดับ คือที่ถึงเฉพาะแล้ว
บทว่า สยํ ธมฺโม อนีติโห ความว่า ธรรมคือพระนิพพาน และ
ธรรมคือผล เราเองนั่นแลได้รู้เองแล้ว ไม่สงสัยแล้ว เห็นแจ้งด้วยตนแล้ว
ได้แก่อริยมรรค เฉพาะที่ถอนความสงสัย กล่าวคือคำสอนที่มาแล้วแต่
อาจารย์ในกาลก่อน ตามความเป็นไปว่า อิติห ธรรมนี้มีมาแต่ก่อนอย่างนี้
อิติ กิร ได้ยินว่า ธรรมนี้มีมาแต่ก่อนอย่างนี้เป็นไปอยู่. เพราะเหตุนั้นท่าน
จึงกล่าวว่า ผู้มีญาณอันหมดจด ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสุทฺธญาโณ ชื่อว่า ผู้มีญาณอันหมดจด
เพราะหมดจดจากกิเลสทั้งปวง.
บทว่า ตวนฺติเก แปลว่า ในที่ใกล้ท่าน.
บทว่า สทตฺโถ ได้แก่พระอรหัต.
บทว่า สิกฺขา ได้แก่อธิศีลสิกขาเป็นต้น.
บทว่า สสฺสุตา ได้แก่ฟังด้วยดี ด้วยอำนาจการทำปริยัติพาหุสัจจะ
และปฏิเวธพาหุสัจจะให้บริบูรณ์.
บทว่า ตว สาสเน ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทในความพร่ำสอนของ
ท่าน.
บทว่า อริยวตา ความว่า สมาทานข้อปฏิบัติมีศีลที่บริสุทธิ์ดีเป็นต้น.
บทว่า อนฺเตวาสิมฺหิ สิกฺขิโต ความว่า เราชื่อว่า เป็นอันเตวาสิก
ศึกษาอธิศีลสิกขาเป็นต้นที่ศึกษาแล้ว ๆ เพราะอยู่จบพรหมจรรย์ที่ประพฤติ
มาในสำนักของท่าน ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสุมนเถรคาถาที่ 4

5. วัฑฒเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระวัฑฒเถระ


[339] โยมมารดาของเราดีแท้ เพราะได้แนะนำเราให้รู้สึก
ตัวเหมือนบุคคลแทงพาหนะด้วยปฏักฉะนั้น เราได้ฟังคำ
ของโยมมารดาที่พร่ำสอนแล้ว ได้ปรารภความเพียร มี
จิตตั้งมั่น ได้บรรลุโพธิญาณอย่างสูงสุด เราเป็นพระ-
อรหันต์ควรแก่ทักษิณา มีวิชชา 3 ได้เห็นอมตธรรม
ชนะเสนาแห่งมารไม่มีอาสวะอยู่ อาสวะของเราเหล่าใด
ได้มีแล้วทั้งภายในทั้งภายนอก อาสวะเหล่านั้นทั้งหมด
เราตัดขาดแล้ว และไม่เกิดขึ้นอักต่อไป โยมมารดาของ
เราเป็นผู้แกล้วกล้า ได้กล่าวเนื้อความนี้กะเรา แม้เมื่อ
เราผู้เป็นบุตรของท่านไม่มีกิเลส กิเลสอันเป็นดังหมู่ไม้
ในป่าของท่านคงจะไม่มีเป็นแน่ ทุกข์เราทำให้สิ้นสุดแล้ว
อัตภาพนี้มีในที่สุด สงสาร คือความเกิดตายสิ้นแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบวัฑฒเถรคาถา

อรรถกถาวัฑฒเถรคาถาที่ 5



คาถาของท่านพระวัฑฒเถระมีคำเริ่มต้นว่า สาธู หิ ดังนี้. เรื่อง
นั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน