เมนู

2. ภคุเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระภคุเถระ


[324] ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออก
ไปจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้
บันไดจงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่
ที่จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายในเดินจงกรมอยู่
แต่นั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย ได้
บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนวโทษปรากฏแก่ข้าพระองค์
ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของข้าพระองค์
ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จงทอดพระเนตร
ดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้าพระองค์ได้บรรลุ
วิชชา 3 แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

จบภคุเถรคาถา

อรรถกถาภคุเถรคาถาที่ 2



คาถาแห่งท่านพระภคุเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อหํ มิทฺเธน ดังนี้. เรื่อง
นั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตระ
ท่านพระภคุเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา เมื่อ
พระศาสดาปรินิพพานแล้ว บูชาพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้นด้วยดอกไม้ทั้งหลาย.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทพชั้นนิมมานรดี ท่องเที่ยวไป ๆ

มา ๆ ในเทวโลก และมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักย-
ราชตระกูล ได้นามว่าภคุ เจริญวัยแล้ว ออกบวชพร้อมท่านพระอนุรุทธะ
และพระกิมิละ1 อยู่ในพาลกโลณกคาม วันหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความที่ถูก
ถีนมิทธะครอบงำ จึงออกจากวิหาร ขึ้นสู่ที่จงกรมล้มลง ทำการล้มนั้น
นั่นแหละให้เป็นขอสับ บรรเทาถีนมิทธะ เจริญวิปัสสนาบรรลุพระ-
อรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน2ว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้มี
ยศใหญ่ปรินิพพานแล้ว เราได้เอาผอบอันเต็มด้วยดอกไม่
ไปบูชาพระสรีระ เรายังจิตให้เลื่อมใสในบุญกรรมนั้นแล้ว
ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นนิมมานรดี เราถึงจะไปอยู่ยังเทวโลก ก็
ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ฝนดอกไม้ตกจากฟากฟ้า
เพื่อเราตลอดกาลทั้งปวง เราสมภพในมนุษย์ก็เป็นพระ-
ราชาผู้มียศใหญ่ ในอัตภาพนั้นฝนดอกโกสุมตกลงมาเพื่อ
เราทุกเมื่อ เพราะอำนาจที่เอาดอกไม้บูชาที่พระสรีระของ
พระพุทธเจ้าผู้ทรงเห็นเหตุนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของ
เรา ภพที่สุดกำลังเป็นไป ถึงทุกวันนี้ ฝนดอกไม้ก็ตกลง
มาเพื่อเราทุกเวลา ในแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ เราเอาดอกไม้
ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
การบูชาพระสรีระ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ...
พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็แลครั้น ท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ปล่อยให้กาลล่วงไปด้วยสุขอัน
เกิดแต่ผลจิต และสุขอันเกิดแต่พระนิพพาน อันพระศาสดาผู้เสด็จเข้าไป

1. ม. ม. 13/ข้อ 195. กิมพิละ. 2. ขุ. อ. 33/ข้อ 48.

ใกล้เพื่อทรงชื่นชมถึงการอยู่โดดเดี่ยวแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ เธอเป็นผู้ไม่
ประมาทอยู่บ้างหรือ เมื่อจะประกาศการอยู่ด้วยความไม่ประมาทของตน
จึงได้ภาษิต 4 คาถาเหล่านี้ว่า
ข้าพระองค์ถูกความง่วงเหงาหาวนอนครอบงำ ได้ออก
ไปจากวิหารขึ้นสู่ที่จงกรม ล้มลงที่แผ่นดิน ณ ที่ใกล้บันได
จงกรมนั้นนั่นเอง ข้าพระองค์ลูบเนื้อลูบตัวแล้วขึ้นสู่ที่
จงกรมอีก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วในภายใน เดินจงกรมอยู่
แต่นั้นการกระทำไว้ในใจ โดยอุบายอันแยบคาย ได้
บังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ อาทีนรโทษปรากฏแก่ข้า-
พระองค์ ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลงมั่น ลำดับนั้น จิตของ
ข้าพระองค์ก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอพระองค์จง
ทอดพระเนตรดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ ข้า-
พระองค์ได้บรรลุวิชชา 3 แล้ ได้ทำกิจพระพุทธศาสนา
เสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺเธน ปกโต ความว่า ผู้ถูกมิทธะ
อันกำจัดความไม่สามารถเป็นสภาวะ กล่าวคือความเกียจคร้านแห่งกาย
ครอบงำ.
บทว่า วิหารา ได้แก่ จากเสนาสนะ.
บทว่า อุปนิกฺขมึ ได้แก่ออกไปเพื่อเดินจงกรม.
บทว่า ตตฺเถว ปปตึ ฉมา ความว่า ล้มลงที่ภาคพื้น เพราะถูก
ความหลับครอบงำ ที่บันไดจงกรมนั้นนั่นแล,

บทว่า คตฺตานิ ปริมชฺชิตฺวา ความว่า ตามนวดอวัยวะแห่งร่างกาย
ตน โดยล้มลงที่ภาคพื้นเกลือกฝุ่นอยู่.
บทว่า ปุนปารุยฺห จงฺกมนํ ความว่า ไม่ถึงทำหน้าสะยิ้วว่า ยัดนี้
เราล้มแล้ว ขึ้นสู่ที่จงกรมแม้อีก.
บทว่า อชฺฌตฺตํ สุสมาหิโต ประกอบความว่า เรามีจิตตั้งมั่น
แล้วด้วยดี คือเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งจงกรม ด้วยการข่มนิวรณ์
ในกัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
ก็นี้แลเป็นการพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาภคุเถรคาถาที่ 2

3. สภิยเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสภิยเถระ


[325] พวกอื่นเว้นบัณฑิตย่อมรู้สึกว่า พวกเราที่ทะเลาะ
วิวาทกันนี้ จะพากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ พวกใด
มารู้ชัดในท่ามกลางสงฆ์นั้นว่า พวกเราพากันไปสู่ที่ใกล้
มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไปได้จากสำนัก
ของพวกนั้น เมื่อใด เขาไม่รู้ธรรมอันเป็นอุบายระงับการ
ทะเลาะวิวาทตามความเป็นจริง ประพฤติอยู่ดุจไม่แก่
ไม่ตาย เมื่อนั้น ความทะเลาะวิวาทก็ไม่สงบลงได้ ก็ชน
เหล่าใดมารู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
พากันเร่าร้อนอยู่ ชนเหล่านั้นย่อมไม่เร่าร้อน ความ
ทะเลาะวิวาทของพวกเขา ย่อมระงับไปได้โดยส่วนเดียว
การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรอันเศร้าหมอง
และพรหมจรรย์อันบุคคลพึงระลึกด้วยความสงสัย กรรม
3 อย่างนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ผู้ใดไม่มีความเคารพใน
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลจาก
สัทธรรมเหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.

จบสภิยเถรคาถา