เมนู

12. มุทิตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระมุทิตเถระ



[334] เรามีความต้องการเลี้ยงชีพ ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
ภายหลังกลับได้ศรัทธา มีความเพียรบากบั่นมั่นคง โดย
ตั้งใจว่า ร่างกายของเรานี้จงแตกทำลายไป เนื้อหนัง
ของเราพึงเหือดแห้งไป แข้งขาทั้งสองของเราจะหลุดจาก
ที่ต่อแห่งเข่าทั้งสอง ตกลงไปที่พื้นดินก็ตามที เมื่อเรา
ยังถอนลูกศร คือ ตัณหาไม่ได้ เราจักไม่กิน ไม่ดื่ม
จักไม่ออกจากวิหาร และจักไม่เอนกายนอน ขอท่านจงดู
ความเพียรและความบากบั่นของเรา ผู้อยู่ด้วยความตั้งใจ
อย่างนั้น เราได้บรรลุวิชชา 3 แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธ-
ศาสนาเสร็จแล้ว.

จบมุทิตเถรคาถา

พระเถระที่กล่าวคาถาองค์ละ 4 คาถา รวมเป็น 52 คาถา รวม
เป็นพระเถระ 13 องค์ คือ :-

1. พระนาคสมาลเถระ 2. พระภคุเถระ 3. พระสภิยเถระ
4. พระนันทกเถระ 5. พระชัมพุกถระ 6. พระเสนกเถระ 7. พระ-
สัมภูตเถระ 8. พระราหุลเถระ 9. พระจันทนเถระ 10. พระธรรมิกเถระ
11. พระสัปปกเถระ 12. พระมุทิตเถระ.
จบจตุกกนิบาตที่ 4

อรรถกถามุทิตเถรคาถาที่ 12



คาถาแห่งท่านพระมุทิตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพชึ ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่งเห็น
พระศาสดามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเตียง ๆ หนึ่ง.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดี ในโกศลรัฐ ได้นามว่า มุทิตะ
ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ก็สมัยนั้นตระกูลนั้นได้ถูกพระราชาพัวพันอยู่ด้วย
กรณียกิจบางอย่างทีเดียว. ท่านมุทิตะได้กลัวแต่ราชภัย ได้หนีเข้าไปสู่ป่า
เข้าไปยังที่อยู่ของพระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง.
พระเถระรู้ว่าท่านกลัวจึงปลอบว่า อย่ากลัวเลย. ท่านถามว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ ภัยของกระผมนี้จักสงบโดยกาลประมาณเท่าไรหนอ เมื่อ
พระเถระกล่าวว่า ล่วงไป 7-8 เดือน จึงกล่าวว่า กระผมไม่สามารถจะ
ยับยั้งอยู่ได้ตลอดกาลประมาณเท่านั้น กระผมจักบวชขอรับ ขอท่านจงบวช
ให้กระผมเถิดดังนี้แล้วจึงบวช เพื่อรักษาชีวิตไว้, พระเถระให้เธอบวชแล้ว .
ท่านครั้นบวชแล้ว ได้ศรัทธาในพระศาสนา แม้เมื่อภัยสงบแล้ว
การทำสมณธรรมนั่นแหละให้รุ่งโรจน์ เรียนพระกรรมฐาน เมื่อการทำ
วิปัสสนากรรม จึงกระทำปฏิญญาโดยนัยมีอาทิว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต
แล้วจักไม่ออกไปภายนอกจากห้องที่อยู่นี้ จึงบำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระ-
อรหัต. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ในอปทาน1ว่า

1. ขุ. อ. 33/ข้อ 112.