เมนู

เถรคาถา โสฬสกนิบาต



1. อัญญาโกณฑัญญเถรคาถา



ว่าด้วยการบรรลุประโยชน์ที่ต้องการ


[383] ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสของ
พระองค์ จึงตรัสพระคาถาที่ 1 ว่า
ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมมีรสอันประเสริฐ จึงเกิดความ
เลื่อมใสอย่างยิ่ง ธรรมอันคลายความกำหนัด เพราะ
ไม่ยึดถือมั่นโดยประการทั้งปวง พระผู้เป็นเจ้าได้แสดง
แล้ว.

ท้าวเธอตรัสชมเชยเทศนาของพระเถระดังนี้แล้ว ทรงนมัสการ
พระเถระ แล้วเสด็จกลับไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ ภายหลังวัน หนึ่ง พระเถระ
เห็นวาระจิตของปุถุชนบางจำพวก ซึ่งถูกมิจฉาวิตกครอบงำ และระลึกถึง
คำสอนอันเป็นปฏิปักษ์ต่อมิจฉาวิตกนั้นแล้ว นึกถึงความที่คนมีใจอัน
พรากแล้วจากการฟังทั้งปวง จึงได้ภาษิตคาถา 2 คาถา อันแสดงซึ่งเนื้อ
ความนั้นว่า
อารมณ์อันวิจิตรมีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ชะรอยจะย่ำยี
บุคคลผู้คิดถึงอารมณ์ว่างาม อันประกอบด้วยราคะใน
ปฐพีมณฑลนี้ ฝนตกลงมาในฤดูฝน พึงระงับธุลีที่ถูกลม
พัดไปได้ฉันใด เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย
ปัญญา เมื่อนั้น ความดำริของพระอริยสาวกนั้นย่อม
ระงับไปฉันนั้น เมื่อใด พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วย

ปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น พระอริยสาวก
นั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใด
พระอริยสาวกพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์
นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใด พระอริยสาวก
พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้น พระอริยสาวกนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทาง
แห่งความหมดจด พระโกณฑัญญเถระองค์ใดเป็นผู้ตรัสรู้
ตามพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า
ละความเกิดและความตายได้แล้ว เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
พรหมจรรย์อันได้ด้วยยาก พระโกณฑัญญเถระองค์นั้น
ได้ตัดบ่วง คือโอฆะ ตะปูตรึงจิตอันมั่นคง และภูเขาที่
ทำลายได้ยากแล้ว ข้ามไปถึงฝั่ง คือนิพพาน เป็นผู้เพ่ง
ฌาน หลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.

ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระโกณฑัญญเถระได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งซึ่ง
เป็นสัทธิวิหาริกของท่าน เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีใจฟุ้งซ่าน
มักใหญ่ใฝ่สูง เพราะการคบหาด้วยมิตรชั่วช้า จึงไปยังที่นั้นด้วยฤทธิ์ แล้ว
ตักเตือนว่า ท่านอย่าทำอย่างนี้ต่อไป ขอท่านจงละมิตรชั่วช้าเสียแล้วคบหา
กัลยาณมิตรทำสมณธรรมเถิด ภิกษุนั้นไม่เชื่อฟังคำของท่าน ท่านจึงเกิด
ความสลดใจ เมื่อจะติเตียนข้อปฏิบัติอันผิด และสรรเสริญการปฏิบัติชอบ

และการอยู่สงัด ด้วยถ้อยคำอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงได้ภาษิตคาถานี้
ใจความว่า
ภิกษุมีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก คบแต่มิตรที่เลวทราม
ถูกคลื่นซัดให้จมอยู่ในห้วงน้ำ คือสงสาร ส่วนภิกษุมีใจ
ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กลับกลอก มีปัญญารักษาตัวรอด สำรวม
อินทรีย์ คบหากัลยาณมิตร เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
ดังเถาหญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าวและน้ำ มีใจ
ไม่ย่อท้อ ถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่ ย่อม
เป็นผู้มีสติอดกลั้นได้อยู่ในป่านั้น เหมือนช้างที่อดทน
ต่อศาสตราวุธในยุทธสงครามฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย
ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ เรารอเวลาตาย เหมือน
ลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงานฉะนั้น เราไม่ยินดีความตาย
ไม่เพลิดเพลินความเป็นอยู่ แต่เรามีสติสัมปชัญญะรอ
เวลาตาย พระศาสดาเราได้คุ้นเคยแล้ว เราทำคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงแล้ว
ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นแล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์
ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตต้องการแล้ว
เพราะฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยสัทธิวิหาริกผู้ว่ายาก
แก่เรา.

จบอัญญาโกณฑัญญเถรคาถา

อรรถกถาโสฬสกนิบาต


อรรถกถาอัญญาโกณฑัญญเถรคาถาที่ 1


ในโสฬสกนิบาต คาถาของท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ มีคำ
เริ่มต้นว่า เอส ภิญฺโญ ปสีทามิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นเป็น
อย่างไร ?
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระแม้นี้
บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล ในหังสวดีนคร ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา
แล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุ
รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ แห่งภิกษุผู้รัตตัญญูในธรรมที่ตนได้ครั้งแรก
ในพระศาสนา แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น บำเพ็ญมหาทานให้
เป็นไปตลอด 7 วัน แด่พระศาสดาผู้มีภิกษุ 100,000 รูปเป็นบริวาร
แล้วตั้งความปรารถนาไว้. ฝ่ายพระศาสดาทรงเห็นความที่เธอไม่มีอันตราย
จึงพยากรณ์สมบัติอันเป็นเครื่องเจริญ. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอดชีวิต เมื่อ
พระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อให้สร้างเจดีย์ สร้างเรือนแก้วไว้ในภายใน
เจดีย์ และให้สร้างเรือนไฟแก้ว มีราคา 1,000 กหาปณะล้อมเจดีย์.
ท่านทำบุญอย่างนี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปใน
เทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี
เป็นกุฎุมพี นามว่ามหากาล จัดแจงข้าวปายาสด้วยน้ำนมไม่ผสมน้ำ ด้วย
ข้าวสารแห่งข้าวสาลีที่ตนฉีกท้องข้าวสาลี ในที่นาประมาณ 8 กรีส จึงใส่
น้ำผึ้ง เนยใส น้ำตาลกรวดเป็นต้นในข้าวปายาสนั้น แล้วได้ถวายสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข. ที่ ๆ ตนฉีกท้องข้าวสาลีถือแล้ว ๆ ได้เต็มอีก, ใน