เมนู

2. โคทัตตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระโคทัตตเถระ


[382] โคอาชาไนยที่ดี อันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ย่อม
อาจนำแอกเกวียนไปได้ ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่
ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใด
บริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ
บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดัง
อริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของ
เวลา ตกอยู่ในอำนาจภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความ
ทุกข์และต้องเศร้าโศก คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความ
เป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ มีใจฟูขึ้น
เพราะเหตุแห่งสุข 1 มีใจฟุบลงเพราะเหตุแห่งทุกข์ 1
เหล่าใด ก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา ใน
สุขเวทนา และในอทุกขมสุขเวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้
ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเหมือนเสาเขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและไม่
ฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่คิดอยู่ในลาภ ความเสื่อมลาภ
ในยศ ความเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์
ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัวฉะนั้น.
นักปราชญ์ทั้งหลาย มีความสุขและได้ชัยชนะในที่
ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรม กับการได้ลาภโดย
ไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันขอบธรรม
จะประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐ

อะไร คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้แต่ไม่มียศ
คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า คนไม่มีความรู้มียศ
จะประเสริฐอะไร การสรรเสริญจากคนพาลกับการติเตียน
จากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า
การสรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร ความสุขอัน
เกิดจากกามคุณกับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์
อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิดจากกาม-
คุณจะประเสริฐอะไร ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมกับ
ความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า
ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร ชน
เหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับ
เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก ชนเหล่านั้น
ไม่มีความรักความชัง บุคคลเจริญโพชฌงค์ 7 อินทรีย์ 5
พละ 5 แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หาอาสวะ
มิได้ ย่อมปรินิพพาน.

จบโคทัตตเถรคาถา
ในจุททสกนิบาตนี้ พระเถระ 2 รูป ผู้มีฤทธิ์มาก คือ พระ-
เรวตเถระ 1 พระโคทัตตเถระ 1 ได้ภาษิตคาถารูปละ 14 คาถา
รวมเป็น 28 คาถา ฉะนี้แล.

จบจุททสกนิบาต

อรรถกถาโคทัตตเถรคาถาที่ 2


คาถาของท่านพระโคทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท
อาชญฺโญ
ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน ในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปใน
เทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่ง
พ่อค้าเกวียน ในกรุงสาวัตถี โดยชื่อว่า โคทัตตะ เจริญวัยแล้ว เมื่อ
บิดาตายแล้ว รวบรวมทรัพย์ เอาเกวียน 500 เล่มบรรทุกสินค้า ท่องเที่ยว
ไป ๆ มา ๆ เลี้ยงชีพด้วยการค้าขาย กระทำบุญตามกำลังสมบัติ.
วันหนึ่ง เมื่อโคที่เทียมที่แอกในระหว่างทาง ไม่สามารถลากไปได้
เมื่อพวกมนุษย์ไม่สามารถจะให้โคนั้นออกไปได้ ท่านจึงไปเอง แทงโค
นั้นที่หางให้มั่น โคคิดว่า ผู้นี้เป็นอสัปบุรุษ ไม่รู้กำลังอันสมควรแก่
กำลังของเรา จึงแทงอย่างหนัก ดังนี้จึงโกรธ ใช้ภาษามนุษย์ด่าโดยสมควร
แก่ความปรารถนาว่า ดูก่อนโคทัตตะผู้เจริญ เราไม่ออมกำลังของตนตลอด
กาลมีประมาณเท่านี้ นำภาระของท่านไป แต่วันนี้ท่านเบียดเบียนเรา
อย่างรุนแรง โดยภาวะที่เราไม่สามารถ เอาเถิด เราจุติจากอัตภาพนี้แล้ว
พึงเป็นศัตรูสามารถเบียดเบียนท่านในที่เกิดแล้ว ๆ.
โคทัตตะได้ฟังดังนั้นคิดว่า จะประโยชน์อะไรด้วยการเบียดเบียน
สัตว์ทั้งหลาย แล้วเป็นอยู่นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ เกิดความสังเวช ละสมบัติ
ทั้งหมด บวชในสำนักของพระมหาเถระรูปหนึ่ง บำเพ็ญวิปัสสนากรรม
ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ วันหนึ่ง