เมนู

2. สิริมิตตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสิริมิตตเถระ


[367] ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่
ส่อเสียด ภิกษุนั้นแลเป็นผู้คงที่ ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าว
มาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า
ภิกษุใดไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกธรไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วทุกเมื่อ ด้วยข้อ
ปฏิบัติตามที่กล่าวแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้น ย่อมไม่เศร้าโศก
ในโลกเบื้องหน้า ภิกษุใดไม่นักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มี
มายา ไม่ส่อเสียด มีศีลงาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าว
มาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า
ภิกษุใดไม่มักโกรธไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด
มีกัลยาณมิตร ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้
ภิกษุนั้นย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า ภิกษุใดไม่
มักโกรธ ไม่ผูกโกรธไว้ ไม่มีมายา ไม่ส่อเสียด มีปัญญา
งาม ด้วยข้อปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้น
ย่อมไม่เศร้าโศกในโลกเบื้องหน้า ผู้ใดมีศรัทธาไม่หวั่น
ไหวในพระตถาคต ตั้งมั่นดีแล้ว มีศีลอันงาม อันพระ-
อริยะใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์
และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็น
ผู้ไม่ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น

นักปราชญ์เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ก็ควรประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และการเห็นธรรม
เนือง ๆ เถิด.

จบสิริมิตตเถรคาถา

อรรถกถาสิริมิตตเถรคาถาที่ 2



คาถาของท่านพระสิริมิตตเถระ มีว่า อกฺโกธโน ดังนี้เป็นต้น.
เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ท่านพระสิริมิตตเถระแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้ว ใน
พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ในภพนั้น ๆ ได้สั่งสมกุศลซึ่งเป็นอุปนิสัย
แห่งพระนิพพานไว้ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดเป็นลูกชายของกุฎุมพีผู้มี
ทรัพย์มาก ในกรุงราชคฤห์ ได้มีนามว่า สิริมิตต์.
ได้ยินว่า มารดาของท่านสิริมิตต์นั้น เป็นน้องสาวของท่านสิริคุตต์
เรื่องของสิริคุตต์นั้น มาแล้วในอรรถกถาธรรมบทนั่นแล. สิริมิตต์ผู้เป็น
หลานชายของท่านสิริคุตต์นั้น พอเจริญวัยแล้ว ได้มีความเลื่อมใสต่อ
พระศาสดา ในเพราะการทรมานช้างธนบาล บรรพชาแล้ว บำเพ็ญ
วิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต วันหนึ่งท่านขึ้นสู่อาสนะเพื่อ
สวดพระปาฏิโมกข์ จึงนั่งจับพัดวีชนีอันวิจิตร บอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
ท่านเมื่อจะบอก และเมื่อจะจำแนกแสดงคุณอันโอฬารยิ่ง จึงกล่าวคาถา1
เหล่านี้ว่า :-

1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 367.