เมนู

การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
จากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.

จบสรภังคเถรคาถา

รวมพระคาถา


พระเถระ 5 องค์ได้กล่าวคาถาองค์ละ 7 คาถา รวมเป็น 3
คาถา คือ

1. พระสุนทรสมุททเถระ 2. พระลกุณฏกภัตทิยเถระ 3. พระ-
ภัททเถระ 4. พระโสปากเถระ 5. พระสรภังคเถระ.
จบสัตตกนิบาต

อรรถกถาสรภังคเถรคาถาที่ 5



คาถาของท่านพระสรภังคเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สเร หตฺเถหิ ดังนี้.
เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมกุศลอันเป็นที่เข้าไปอาศัยวิวัฏฏะ คือพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรพราหมณ์คนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์
ได้มีชื่อตามวงศ์สกุลว่า อนภิลักขิต.
เขาเจริญวัยแล้ว ละกามบวชเป็นดาบส หักไม้แขมและหญ้าด้วย

ตนเอง เอามาทำบรรณศาลาอยู่. ตั้งแต่นั้น ดาบสนั้นจึงมีสมัญญานามว่า
สรภังคะ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ได้
ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของดาบสนั้น จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรงแสดง
ธรรม. ดาบสนั้นได้ศรัทธาจึงบวช บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นาน
นักก็บรรลุพระอรหัต แล้วอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ. ครั้งนั้น บรรณศาลา
ที่พระเถระนั้นสร้างไว้ในคราวเป็นดาบส ได้ชำรุดพะเยิบพะยาบ. พวก
มนุษย์เห็นดังนั้นจึงกล่าวกันว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะซ่อมแซมกุฎีนี้
เพื่อใคร. พระเถระเมื่อจะประกาศกิจทั้งปวงนั้นว่า บัดนี้ เราไม่อาจทำ
กุฎีเหมือนในคราวเป็นดาบส จึงได้กล่าวคาถา1 2 คาถาว่า
เราหักต้นแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น เราจึงมีชื่อโดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้ เราไม่ควร
หักต้นแขมด้วยมือทั้งสองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้
เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เราทั้งหลายไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเร หตฺเถหิ ภญฺชิตฺวา ความว่า ใน
กาลก่อน คือในคราวเป็นดาบส เราเอามือทั้งสองหักไม่เเขมและหญ้า
สร้างเป็นกุฎีหญ้าอาศัย คืออยู่นั่งและนอน.
บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยการหักไม้แขมทั้งหลายมาสร้างกุฎี.
บทว่า สมฺมุติยา ความว่า ได้มีชื่อว่า สรภังคะ ตามสมมติเรื่อง
ราวโดยลำดับ.
1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 365.

บทว่า น มยฺหํ กปฺปเต อชฺช ความว่า วันนี้ คือบัดนี้ เรา
อุปสมบทแล้ว ไม่ควรหักไม้แขมด้วยมือทั้งสอง เพราะเหตุไร ? เพราะ
พระสมณโคดมผู้เรื่องยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่เราทั้งหลาย. ด้วย
คำนั้นพระเถระแสดงว่า สิกขาบทที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ แก่เรา
ทั้งหลายนั้น เราทั้งหลายย่อมไม่ล่วงละเมิด แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.
พระเถระแสดงเหตุในการไม่ซ่อมแซมกุฎีหญ้าโดยประการหนึ่ง ด้วย
ประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงเหตุนั้นโดยปริยายอื่นอีก จึงกล่าว
คาถานี้ว่า
เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่ได้เห็นโรค คือ
อุปาทานขันธ์ 5 ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนี้นั้นอันเราผู้
กระทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเทพเจ้าผู้
ยิ่งใหญ่ได้เห็นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกลํ แปลว่า ทั้งสิ้น.
บทว่า สมตฺตํ แปลว่า ครบบริบูรณ์ อธิบายว่า ไม่เหลือจากส่วน
ทั้งปวง.
ด้วยบทว่า โรคํ นี้ พระเถระกล่าวหมายเอาอุปาทานขันธ์ 5 ชื่อว่า
เป็นโรค เพราะอรรถว่าเสียดแทงโดยความเป็นตัวทุกข์เป็นต้น.
บทว่า นาทฺทสํ ปุพฺเพ ความว่า ในกาลก่อนแต่ได้รับโอวาทของ
พระศาสดา เราไม่เคยเห็น.
บทว่า โสยํ โรโค ทิฏฺโฐ วจนกเรนาติเทวสฺส ความว่า โรค
กล่าวคือเบญขันธ์นี้นั้น อันพระสรภังคะผู้ตอบแทนพระโอวาทของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้เป็นเทพยิ่งใหญ่ เพราะล่วงเทพแม้ทั้งปวง คือ
สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ ด้วยคุณมีศีลเป็นต้นของตน
ดำรงอยู่ ได้เห็นแล้ว คือกำหนดรู้แล้วโดยความเป็นเบญจขันธ์ ด้วยปัญญา
อันสัมปยุตด้วยมรรค อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา. ด้วยบทว่า โสยํ
โรโค
เป็นต้นนี้ พระเถระแสดงว่า แม้กุฎีคืออัตภาพก็ยิ่งไม่ห่วงใยอย่างนี้
อย่างไรจักซ่อมแซมกุฎีหญ้าภายนอก.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะพยากรณ์การบรรลุพระอรหัตของตนอย่างนี้ว่า
หนทางที่เราผู้เมื่อปฏิบัติก็ได้เห็นโรค คืออัตภาพตามความเป็นจริงนี้นั้น
เป็นทางทั่วไปสำหรับพระพุทธเจ้าทุกพระองค์. เพราะเหตุที่เราตั้งอยู่ใน
ธรรมคือโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น อันเป็นดุจทองคำหักกลาง
(เป็น 2 ท่อน) จึงได้ถึงความสิ้นทุกข์ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านั้น
ความว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี พระสิขี
พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และพระ-
กัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใด พระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปทางนั้น. พระพุทธเจ้า 7
พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่ง
ถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรง
เอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ
อริยสัจ 4 อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์
ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางที่ทุกข์ไม่เป็นรูป อันไม่มีที่สุด

ในสงสาร. เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิต
การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นย่อมไม่มี เราเป็นผู้หลุดพ้น
แล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยเนว มคฺเคน ได้แก่ อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 ใดแล อันเป็นส่วนเบื้องต้น.
บทว่า คโต แปลว่า ถึง คือบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า วิปสฺสี ได้แก่ พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
บทว่า กกุสนฺธ เป็นบทแสดงไขที่ไม่มีวิภัตติ. บาลีว่า กกุสนฺธ-
โกนาคมน
ดังนี้ก็มี.
บทว่า เตนญฺชเสน ได้แก่ ทาง คืออันทางประเสริฐนั้นนั่นแหละ.
บทว่า อนาทานา ได้แก่ ผู้ไม่ถือมั่น หรือผู้ไม่มีปฏิสนธิ.
บทว่า ขโยคธา ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่พระนิพพาน คือมีพระนิพพาน
เป็นที่พึ่ง.
บทว่า เยหายํ เทสิโต ธมฺโม ความว่า ศาสนธรรมนี้ พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้า 7 พระองค์เหล่าใดทรงแสดงแล้ว คือทรงประกาศแล้ว.
บทว่า ธมฺมภูเตหิ ได้แก่ มีธรรมเป็นสภาวะ เพราะเป็นธรรมกาย
คือเกิดจากโลกุตรธรรม 9 หรือบรรลุธรรม.
บทว่า ตาทิภิ ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้คงที่ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์
เป็นต้น.
ด้วยบทว่า จตฺตาริ อริยสจฺจานิ เป็นต้น พระเถระแสดงถึงธรรม
ที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงแสดง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาริ เป็นการกำหนดการนับ.
บทว่า สจฺจานิ เป็นเครื่องแสดงถึงธรรมที่กำหนดไว้ แต่โดย
วจนัตถะ คือวิเคราะห์ความหมายของศัพท์ ชื่อว่า อริยสัจ เพราะประเสริฐ
และจริง เพราะอรรถว่าแท้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อริยสัจ เพราะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงสัจจะ หรือเพราะสัจจะอันกระทำความ
เป็นพระอริยะ. ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นของน่าเกลียด และเพราะเป็น
ของว่างเปล่า ได้แก่อุปาทานขันธ์ทั้ง 5. ชื่อว่า สมุทัย ได้แก่ตัณหา
เพราะเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์. ชื่อว่า มรรค เพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายไป
หรือเพราะผู้ต้องการพระนิพพานจะต้องแสวงหา ได้แก่ธรรม 8 ประการ
มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ชื่อว่า นิโรธ เพราะในพระนิพพานนั้นไม่มีฝั่ง กล่าว
คือสงสารเป็นที่เที่ยวไป หรือว่าเมื่อบุคคลบรรลุพระนิพพานนั้นแล้ว ย่อม
ไม่มีฝั่ง หรือเป็นที่ดับทุกข์ ได้แก่พระนิพพาน.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกฺขกฺขโย เป็นที่สิ้นทุกข์ ในที่นี้
มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในวิสุทธิมรรคนั้นแล.
บทว่า ยสฺมึ ความว่า เมื่อบรรลุนิโรธ คือพระนิพพานใด.
บทว่า นิวตฺตเต มีวาจาประกอบความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายผู้มีธรรมกาย ทรงแสดงธรรมนี้ว่า เมื่ออริยมรรคภาวนามีอยู่
ทุกข์มีชาติเป็นต้นอันหาที่สุดมิได้ คือไม่มีที่สุด ย่อมไม่เป็นไปในสงสารนี้
คือย่อมขาดสูญ ความที่ทุกข์ขาดสูญนั้น เป็นนิโรธ. พระเถระแสดงโดย
สรุปถึงการบรรลุพระอรหัตของตน อันบ่งบอกด้วยกำหนดรู้ทุกข์ว่า เรา
เห็นโรคคือเบญจขันธ์ โดยมีนัยอาทิว่า เภทา เพราะกายแตก ดังนี้. ส่วน

ในบาลีว่า ทุกข์ย่อมเกิดในสงสารใด ประกอบความแห่งคาถาทั้งปวง
ในบาลีนั้นว่า ทุกข์มีชาติเป็นต้นอันหาที่สุดมิได้นี้ ย่อมเกิดในสงสาร
ที่เข้าใจกันว่าลำดับแห่งขันธ์เป็นต้นใด สงสารนั้น อื่นจากการถึงทุกข์นี้
ชื่อว่าภพใหม่เพราะเกิดบ่อยๆ. เพราะมีชีวิตินทรีย์นี้สูญสิ้นไปเพราะความ
แตก คือความพินาศแห่งขันธ์ 5 กล่าวคือกาย นอกเหนือขึ้นไปย่อม
ไม่มี (อะไร) เพราะฉะนั้น เราจึงหลุดพ้น คือพรากจากสิ่งทั้งปวง
คือจากกิเลสและภพทั้งปวงแล.
จบอรรถกถาสรภังคเถรคาถาที่ 5
จบปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา
สัตตกนิบาต

เถรคาถา อัฏฐกนิบาต



1. มหากัจจายนเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระมหากัจจายนเถระ


[366] ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน
ไม่ควรขวนขวายเพื่อยังปัจจัยให้เกิด เพราะภิกษุใดเป็นผู้
ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้ขวนขวายเพื่อยังปัจจัย
ให้เกิด และชื่อว่าละทิ้งประโยชน์อันจะนำความสุขมาให้
พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวการไหว้
การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศรอัน
ละเอียดที่ถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก
ภิกษุไม่ควรแนะนำสัตว์อันให้ทำกรรมอันเป็นบาป และ
ไม่พึงซ่องเสพกรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรม
เป็นเผ่าพันธุ์ คนเราย่อมไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคล
อื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลรู้จักตนเอง
ว่าเป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้จักบุคคลนั้นว่าเป็น
อย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคม
นี้ จักพากันยุบยับในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึกตัวว่า
พวกเราจักพากันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท
ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญา ถึงจะสิ้น
ทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่
ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่าง