เมนู

5. ชัมพุกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระชัมพุกเถระ


[327] เราเอาธุลีและฝุ่นทาตัวอยู่ตลอด 55 ปี บริโภคอาหาร
เดือนละครั้ง ถอนผมและหนวด ยืนอยู่ด้วยเท้าข้างเดียว
งดเว้นการนั่ง กินคูถแห้ง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชื้อเชิญ
เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติเป็นอันมากเช่น
นั้น ถูกโอฆะใหญ่พัดไปอยู่ ได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ขอท่านจงดูสรณคมน์และความที่ธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ
วิชชา 3 เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระพุทธศาสนา
เสร็จแล้ว.

จบชัมพุกเถรคาถา

อรรถกถาชัมพุกเถรคาถาที่ 5



คาถาแห่งท่านพระชัมพุกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปญฺจปญฺญาส ดังนี้.
เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
ก่อสร้างบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า
ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา เชื่อพระสัมมา-
สัมโพธิญาณของพระศาสดา ไหว้ต้นโพธิพฤกษ์แล้ว บูชาด้วยการพัดวี.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล

ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว บรรพชาในพระศาสนา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ใน
อารามอันอุบาสกคนหนึ่งได้สร้างไว้ อันอุบาสกนั้นอุปัฏฐากอยู่. ภายหลัง
วันหนึ่ง พระขีณาสพเถระรูปหนึ่ง ผู้ครองจีวรปอน ๆ มาจากป่าบ่ายหน้า
ไปยังบ้านเพื่อโกนผม อุบาสกนั้นเห็นเข้าแล้ว เลื่อมใสในอิริยาบถ ให้
ช่างกัลบกปลงผมและหนวด ให้บริโภคโภชนะอันประณีต ถวายจีวรดี ๆ
นิมนต์ให้อยู่ด้วยคำว่า ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละขอรับ.
ภิกษุเจ้าอาวาสเห็นดังนั้น มีความริษยา และมีความตระหนี่เป็น
ปกติ กล่าวกะพระเถระผู้ขีณาสพว่า ดูก่อนภิกษุ การที่ท่านเอานิ้วมือ
ถอนผมเป็นอเจลก เลี้ยงชีพด้วยอาหารคือคูถและมูตรยังประเสริฐกว่า การ
อยู่ในที่นี้ด้วยอาการอย่างนี้ ของผู้อันอุบาสกลามกนี้บำรุงอยู่ ดังนี้. ก็แล
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เข้าไปยังเวจกุฎีในขณะนั้นนั่นเอง เอามือกอบคูถ
กินและดื่มมูตรเหมือนคดข้าวปายาสฉะนั้น. ด้วยทำนองนี้ดำรงอยู่ตลอดอายุ
ทำกาละแล้วไหม้ในนรก มีคูถและมูตรเป็นอาหารอีก ด้วยเศษแห่งวิบาก
ของกรรมนั้นนั่นแล แม้เกิดในหมู่มนุษย์ได้เป็นนิครนถ์มีคูถเป็นภักษา
500 ชาติ.
ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในกำเนิดมนุษย์อีก บังเกิดในตระกูล
แห่งคนทุกข์ยาก เพราะกำลังแห่งกรรมแห่งการว่าร้ายพระอริยเจ้า เขาให้
ดื่มน้ำนม นมสด หรือเนยใส ก็ทิ้งสิ่งนั้นแล้ว ดื่มเฉพาะน้ำมูตรเท่านั้น
เขาให้บริโภคข้าวสุกก็ทิ้งข้าวสุกนั้นแล้ว เคี้ยวกินแต่คูถเท่านั้น, เติบโต
ด้วยการบริโภคคูถและมูตรด้วยอาการอย่างนี้ แม้เจริญวัยแล้ว ก็บริโภค
แต่คูถและมูตรเท่านั้น. พวกมนุษย์เมื่อไม่อาจจะห้ามจากการบริโภคคูถและ
มูตรนั้นจึงละทิ้งเสีย. เขาอันพวกญาติละทิ้งเสียแล้ว จึงบวชเป็นนักบวช

เปลือย ไม่อาบน้ำ, ครองผ้าเปื้อนด้วยธุลีและฝุ่น ถอนผมและหนวด ห้าม
อิริยาบถอื่น เดินด้วยเท้าเดียว ไม่ยินดีการนิมนต์ ถือเอาโภชนะที่ผู้ต้องการ
บุญ อธิษฐานเข้าอยู่ประจำเดือนให้ ด้วยปลายหญ้าคาเดือนละครั้ง กลางวัน
เลียด้วยปลายลิ้น, ส่วนกลางคืนไม่เคี้ยวกินด้วยคิดว่า คูถสดมีตัวสัตว์ จึง
เคี้ยวกินแต่คูถแห้งเท่านั้น เมื่อเขาทำอยู่อย่างนี้ล่วงไป 55 ปี มหาชน
สำคัญว่า เป็นผู้มีตบะมาก มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง จึงได้น้อมไป
หาเขา โอนไปหาเขา.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นธรรมอันเป็น
อุปนิสัยแห่งพระอรหัต รุ่งเรืองอยู่ในภายในดวงหทัยของเขา เหมือน
ประทีปในหม้อฉะนั้น แล้วพระองค์เสด็จไปในที่นั้นแสดงธรรม ให้เขา
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ให้เขาได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้
ขวนขวายวิปัสสนา ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต.
ในเรื่องนี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาแห่งคาถาว่า มาเส มาเส กุสคฺเคน
ในพระธรรมบท. ก็ท่านดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ในเวลาปรินิพพาน
เมื่อแสดงว่า แม้เราปฏิบัติผิดในชั้นต้น อาศัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรลุ
ธรรมที่พระสาวกควรบรรลุ จึงกล่าว 4 คาถา1นี้ว่า
เราเอาธุลีและฝุ่นทาตัวอยู่ตลอด 55 ปี บริโภค
อาหารเดือนละครั้ง ถอนผมและหนวด ยืนอยู่ด้วยเท้า
ข้างเดียว งดเว้นการนั่ง กินคูถแห้ง ไม่ยินดีอาหารที
เขาเชื้อเชิญ เราได้ทำบาปกรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ


1. ขุ. เถร. 26/327.

เป็นอันมากเช่นนั้น ถูกโอฆะพัดไปอยู่ ได้ถึงพระพุทธเจ้า
เป็นที่พึ่ง ขอท่านจงดูสรณคมน์และความที่ธรรมเป็นธรรม
อันดีเลิศ วิชชา 3 เราได้บรรลุแล้ว เราได้ทำกิจพระ-
พุทธศาสนาเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจปญฺญาสวสฺสานิ รโชชลฺลมธารยึ
ความว่า มีกายทรงไว้ซึ่งธุลีกล่าวคือ ละอองอันจรมาติดอยู่ที่ร่างกาย
และฝุ่นกล่าวคือมลทินแห่งร่างกาย เกิน 55 ปี โดยห้ามการอาบน้ำ ด้วย
การเข้าถึงการบวชเป็นคนเปลือย.
บทว่า ภุญฺชนฺโต มาสิกํ ภตฺตํ ความว่า เคี้ยวกินคูถในราตรี
ชื่อว่าเป็นผู้เข้าจำหนึ่งเดือนเพื่อจะลวงโลก บริโภคโภชนะที่ผู้ต้องการบุญ
ให้ โดยวางไว้ที่ปลายลิ้นเดือนละครั้ง.
บทว่า อโลจยึ ความว่า ใช้มือถอนผมและหนวดที่มีรากหย่อน
โดยเพิ่มขี้เถ้าเช่นนั้นเข้าไป.
บทว่า เอกปาเทน อฏฺฐาสึ อาสนํ ปริวชฺชยึ ความว่า เว้นการนั่ง
โดยประการทั้งปวง และเมื่อจะยืนก็ยกมือทั้งสองขึ้น ได้ยืนโดยเท้าเดียว
เท่านั้น.
บทว่า อุทฺเทสํ ได้แก่ เธอเชิญ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุทิสฺสกตํ
ทำเจาะจง ดังนี้.
บทว่า น สาทิยํ ได้แก่ ไม่รับ อธิบายว่าปฏิเสธ.
บทว่า เอตาทิสํ กริตฺวาน พหุํ ทุคฺคติคามินํ ความว่า ได้กระทำ
บาปกรรมไว้มาก อันเป็นเหตุให้ไปทุคติ อันยังวิบากให้เกิดเช่นนั้น คือ
เห็นปานนั้นให้เกิดในชาติก่อน ๆ และในชาตินี้.

บทว่า วุยฺหมาโน มโหเฆน ความว่า อันโอฆะใหญ่มีกาโมฆะ
เป็นต้น เมื่อว่าโดยพิเศษอันทิฏโฐฆะ คร่ามาเฉพาะสู่สมุทรคืออบาย.
บทว่า พุทฺธํ สรณมาคมํ ความว่า ได้อัตภาพเป็นมนุษย์โดยยาก
เพราะขาดบุญกรรมเช่นนั้น บัดนี้ได้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะเพราะ
กำลังแห่งบุญ คือได้เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยพระองค์เอง.
บทว่า สรถเคมนํ ปสฺส, ปสฺส ธมฺมสุธมฺมตํ ความว่า ท่านจงดู
สรณคมน์ของเรา อันเป็นบ่อเกิด (ที่พำนัก) และจงดูภาวะที่ศาสนธรรม
เป็นธรรมดี ที่เราปฏิบัติผิดเช่นนั้น อันพระศาสดาทรงให้ถึงพร้อมซึ่ง
สมบัติเช่นนี้ โดยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น.
ด้วยบทว่า ติสฺโส วิชฺชา ดังนี้เป็นต้น ท่านแสดงถึงสมบัตินั้น.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราไหว้โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-
นามว่าติสสะ ได้ทำธรรมาสนะและพัดสำหรับพัดในที่นั้น
ในกัปที่ 92 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายพัดทอง ด้วยกรรม
นั่นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการพัด เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว...ฯลฯ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จ
แล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาชัมพุกเถรคาถาที่ 5

1. ข. อ. 33/ข้อ 43.

6. เสนกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระเสนกเถระ


[328] การที่เราได้มา ณ ที่ใกล้ท่าคยาในเดือนผัคคุณ1มาสนี้
เป็นการมาดีแล้วหนอ เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ผู้แสดงธรรมอันสูงสุด มี
พระรัศมีมาก เป็นพระคณาจารย์ ถึงความเป็นผู้เลิศ
เป็นนายกวิเศษของมนุษยโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ชนะ
มาร ผู้มีการเห็นหาสิ่งจะเปรียบมิได้ มีอานุภาพมาก
เป็นมหาวีรบุรุษผู้รุ่งเรื่องใหญ่ ไม่มีอาสวะ สิ้นอาสวะ
ทั้งปวง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ไม่มีภัยแต่
ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงปลดเปลื้องเรา
ผู้มีนามว่าเสนกะ ผู้เศร้าหมองมาแล้วนาน มีสันดาน
ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง.

จบเสนกเถรคาถา

อรรถกถาเสนกเถรคาถาที่ 6



คาถาของท่านพระเสนกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สฺวาคตํ วต ดังนี้.
เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
สั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิขี
1. ผัคคุณมาส เดือน 4 มีนาคม.