เมนู

2. ลกุณฏกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระลกุณฏกเถระ


[362] ภัททิยภิกษุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลอเลิศใกล้ไพร-
สณฑ์ ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญ
ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กาม-
โภคีบุคคลบางพวกย่อมยินดีด้วยเสียงตะโพน เสียงพิณ
และบัณเฑาะว์ แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอน
ของพระพุทธเจ้า ยินดีอยู่ที่โคนไม้ ถ้าพระพุทธเจ้าได้
ประทานพรแก่เรา เรารับพรนั้นแล้ว ถือเอากายคตาสติ
อันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์ ชนเหล่าใดถือรูปร่างเรา
เป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้น
ตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา คนพาลถูก
กิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภาย-
นอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา แม้บุคคลผู้เห็นผล
ภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่กายนอก ก็ลอยไปตาม
เสียงโฆษณา ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัด
ทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้นย่อมไม่ลอย
ไปตามเสียงโฆษณา.

จบลกุณฏกเถรคาถา

อรรถกถาลกุณฑกภัททิยเถร1คาถาที่ 2



คาถาของท่านพระลกุณฑกภัททิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปเร
อมฺพาฏการาเม
ดังนี้. เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พระเถระนี้
บังเกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในหังสวดีนคร พอเจริญวัย นั่งฟังธรรมอยู่
ในสำนักของพระศาสดา ในขณะนั้น ได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ
รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ แม้ตนเองก็
ปรารถนาฐานันดรนั้น จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน แล้วได้กระทำปณิธานความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ข้าพระองค์
ก็พึงเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์
หนึ่งในอนาคต เหมือนภิกษุรูปนี้. และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความ
ปรารถนานั้นไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์แล้วหลีกไป.
เขาการทำบุญในหังสวดีนั้นจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ เกิดเป็นนกดุเหว่า
มีขนปีกวิจิตรงดงาม คาบผลมะม่วงหวานจากพระราชอุทยานบินไป ได้เห็น
พระศาสดา มีใจเลื่อมใส จึงเกิดความคิดว่าจักถวาย. พระศาสดาทรง
ทราบความคิดของนกดุเหว่านั้น จึงทรงนั่งถือบาตร. นกดุเหว่าได้ใส่ผล
มะม่วงสุกลงในบาตรของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยผลมะม่วงสุกนั้น.
นกดุเหว่านั้นมีใจเลื่อมใสจึงยับยังอยู่ตลอดสัปดาห์ ด้วยสุขอันเกิดจากปีติ
นั้น และด้วยบุญกรรมนั้น จึงเป็นผู้มีเสียงไพเราะ.

1. บาลีเป็น ลกุณฏกเถรคาถา.