เมนู

12. พรหมทัตตเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระพรหมทัตเถระ


[358] ที่ไหนความโกรธจะพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้
ฝึกตนแล้ว เลี้ยงชีพโดยชอบ ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดย
ชอบ ผู้สงบ ผู้คงที่ บุคคลโกรธตอบบุคคลผู้โกรธ จัด
ว่าเป็นคนเลวกว่าบุคคลผู้โกรธ เพราะความโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่
ชนะได้ยาก บุคคลใดรู้ว่าบุคคลอื่นโกรธแล้ว มีสติสงบ
ใจได้ บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
คือแก่ตนและบุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม
ย่อมสำคัญบุคคลผู้รักษาคนทั้งสองฝ่าย คือตนและบุคคล
อื่นว่า เป็นคนโง่เขลา ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จงระลึกถึง
พระโอวาทอันอุปมาด้วยเลื่อย ถ้าตัณหาในรสเกิดขึ้น จง
ระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตร ถ้าจิตของท่าน
แล่นไปในกามและภพทั้งหลาย จงรีบข่มเสียด้วยสติ
เหมือนบุคคลห้ามสัตว์เลี้ยงโกงที่ชอบกินข้าวกล้าฉะนั้น.

จบพรหมทัตตเถรคาถา

อรรถกถาพรหมทัตตเถรคาถาที่ 12



คาถาของท่านพระพรหมทัตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อกฺโกธสฺส
ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?

แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นโอรส
ของพระเจ้าโกศลในนครสาวัตถี ได้มีชื่อว่า พรหมทัตตะ. พรหมทัตตะ
นั้นเจริญวัยแล้ว ได้เห็นพุทธานุภาพในคราวฉลองพระเชตวัน ได้มีศรัทธา
บวชแล้วบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไค้มีอภิญญา 6 พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.
วันหนึ่ง พราหมณ์คนหนึ่งด่าท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระ-
นคร. พระเถระแม้จะได้ฟังการด่านั้นก็นิ่งเสีย คงเที่ยวบิณฑบาตอยู่นั่น
แหละ. พราหมณ์ก็ยังด่าอยู่แล้ว ๆ เล่าๆ. พวกมนุษย์จึงได้พูดกะพราหมณ์
ผู้ที่กำลังด่าอยู่อย่างนั้นว่า พระเถระนี้ไม่กล่าวคำอะไร ๆ.
พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อจะแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น จึงได้กล่าว
คาถา1เหล่านี้ว่า
ที่ไหนความโกรธจะพึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้
ฝึกตนแล้วเลี้ยงชีพโดยชอบ ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ
ผู้สงบ ผู้คงที่ บุคคลโกรธตอบบุคคลผู้ที่โกรธ จัดว่าเป็น
คนเลวกว่าบุคคลผู้โกรธ เพราะความโกรธตอบนั้น บุคคล
ผู้ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ชื่อว่าชนะสงความที่ชนะได้ยาก
บุคคลใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว มีสติสงบใจได้ บุคคลนั้น
ชื่อว่าประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและ
บุคคลอื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญ
บุคคลผู้รักษาตนทั้งสองฝ่าย คือตนและคนอื่นว่าเป็นคน
โง่เขลา ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จงระลึกถึงพระโอวาทอัน


1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 358.

อุปมาด้วยเลื่อย ถ้าตัณหาในรสเกิดขึ้น จงระลึกถึงพระ-
โอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตร ถ้าจิตของท่านแล่นไปใน
กามและภพทั้งหลาย จงรีบข่มด้วยสติ เหมือนบุคคลห้าม
สัตว์เลี้ยงโกง ที่ชอบกินข้าวกล้าฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกธสฺส ได้แก่ ผู้ปราศจากความ
โกรธ คือตัดความโกรธได้เด็ดขาดแล้วด้วยมรรค.
บทว่า กุโต โกโธ ความว่า ความโกรธอันเป็นเหตุจะพึงเกิดขึ้น
ได้จากที่ไหน อธิบายว่า ไม่มีเหตุแห่งการเกิดความโกรธนั้น.
บทว่า ทนฺตสฺส ได้แก่ ผู้ฝึกตนแล้วด้วยการฝึกชั้นสูง คือด้วย
การฝึกด้วยอรหัตมรรค.
บทว่า สมชีวิโน ได้แก่ ผู้ละความไม่สม่ำเสมอทางกายเป็นต้น โดย
ประการทั้งปวงแล้ว เลี้ยงชีพให้สม่ำเสมอด้วยความสม่ำเสมอทางกายเป็นต้น
คือดำเนินไปโดยชอบด้วยสัมปชัญญะอันเป็นที่ตั้งแห่งสัตติความสามารถ.
บทว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺตสฺส ได้แก่ ผู้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง
เพราะรู้โดยชอบ คือเพราะรู้ธรรมมีอภิญเญยยธรรมเป็นต้น เพราะเหตุ
นั้นนั่นแล จึงชื่อว่าผู้สงบ เพราะสงบระงับความกระวนกระวายและความ
เร่าร้อน คือกิเลสทั้งปวง.
พระเถระกล่าวความที่คนไม่โกรธ และเหตุแห่งความไม่โกรธนั้น
ด้วยการอ้างพระอรหัตผลว่า ชื่อว่าผู้คงที่ คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว เพราะถึง
ลักษณะแห่งความคงที่ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น ความโกรธจะเกิดขึ้นแต่ที่ไหน
บัดนี้ เมื่อจะกล่าวธรรมโดยแสดงโทษและอานิสงส์ในความโกรธและ
ความไม่โกรธ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตสฺเสว ดังนี้.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า โย กุทฺธํ ปฏิกุชฺฌติ ความว่า บุคคล
ผู้โกรธตอบบุคคลผู้โกรธคือผู้กริ้วโกรธเหนือตนนั้นนั่นแหละ เลวกว่า คือ
ไม่ดีไม่งามกว่า โดยวิญญูชนติเตียนเป็นต้นในโลกนี้ และโดยทุกข์ใน
นรกเป็นต้นในโลกหน้า เพราะเหตุมีการโกรธตอบ การด่าตอบ และ
การประหารตอบเป็นต้นนั้น. ไม่มีคำที่จะควรกล่าวได้เลยว่า ก็บุคคลผู้ไม่
โกรธย่อมมีบาปเพราะความโกรธ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวความว่า
บุคคลใดย่อมโกรธเพราะปรารภถึงบุคคลผู้โกรธตอบบุคคลผู้ไม่โกรธ.
ว่า กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฌนฺโต ความว่า ส่วนบุคคลใดรู้ว่า ผู้นี้
โกรธถูกความโกรธครอบงำ แล้วไม่โกรธตอบบุคคลที่โกรธ อดทนได้
บุคคลนั้นชื่อว่าชนะสงครามกิเลสที่ชนะได้ยาก. พระเถระเมื่อจะแสดงว่า
ก็บุคคลนั้นชนะสงครามกิเลสอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้ยังได้ทำ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่ายด้วย จึงกล่าวว่า ประพฤติประโยชน์แก่
คนทั้งสองฝ่าย ฯลฯ สงบระงับได้
ดังนี้. บุคคลใดรู้บุคคลอื่นผู้โกรธ
แล้วว่า เขาถูกความโกรธครอบงำ จึงเมตตาบุคคลนั้นหรือวางอุเบกขาอยู่
เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ สงบระงับไว้ คืออดทนได้ ไม่โกรธตอบไป
บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์เกื้อกูลอันนำความสุขในโลกทั้งสองมา
ให้แก่ทั้งสองฝ่ายคือ แก่ตนและคนอื่น.
บทว่า อุภินฺนํ ติกิจฺฉนฺตํ ตํ ความว่า ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดธรรม
คือในธรรม คืออาจาระอันประเสริฐ เป็นคนโง่เขลาย่อมสำคัญบุคคล
ผู้เยียวยาด้วยการเยียวยาพยาธิคือความโกรธ คืออดทนต่อทั้งสองฝ่าย คือ
ต่อตนและคนอื่นว่า บุคคลผู้ไม่ทำอะไร ๆ แก่คนผู้ด่าตนประหารตน ผู้นี้
เป็นคนไม่ฉลาด อธิบายว่า นั้นเป็นความสำคัญโดยไม่แยบคายของชน

เหล่านั้น. บางอาจารย์กล่าวว่า ติกิจฺฉนํ การเยียวยารักษาดังนี้ก็มี.
อธิบายว่า มีการเยียวยารักษาเป็นสภาวะ
พราหมณ์ผู้ด่าได้ฟังธรรมที่พระเถระกล่าวอยู่อย่างนั้น เป็นผู้สลดใจ
และมีจิตเลื่อมใส ขอขมาพระเถระแล้วบวชในสำนักของพระเถระนั้น
นั่นแล. พระเถระเมื่อจะให้กรรมฐานแก่เธอจึงคิดว่า การเจริญเมตตา
กรรมฐาน เหมาะแก่ภิกษุนี้ จึงได้ให้เมตตากรรมฐาน เมื่อจะแสดงวิธี
พิจารณาเป็นต้น ในเวลาเกิดความโกรธกลุ้มรุมเป็นต้น จึงกล่าวคำว่า
ความโกรธพึงเกิดแก่ท่าน ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺเช เต สเจ ความว่า ถ้าเมื่อ
เธอบำเพ็ญเพียรพระกรรมฐานอยู่ ความโกรธที่สะสมมานานอาศัยบุคคล
ไร ๆ พึงเกิดขึ้น เพื่อจะระงับความโกรธนั้น เธอจงระลึกถึงพระโอวาท
อันอุปมาด้วยเลื่อยที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกโจรผู้มีความประพฤติ
ต่ำทราม เอาเลื่อยมีด้ามทั้งสองข้างมาเลื่อยอวัยวะน้อย
ใหญ่ ผู้ใดทำใจให้เกิดประทุษร้ายในโจรแม้เหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่าไม่กระทำตามคำสอนของเรา
ดังนี้.

บทว่า อุปฺปชฺเช เจ รเส ตณฺหา ความว่า ถ้าตัณหาคือความยินดี
ในรส มีชนิดรสหวานเป็นต้น พึงเกิดขึ้นแก่เธอไซร้ เพื่อจะระงับความ
ยินดีนั้น จงระลึก คือหวนระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตรที่
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ภรรยาและสามีเคี้ยวกินเนื้อบุตร ก็เพื่อข้ามให้พ้น
ทางกันดารเท่านั้น มิใช่เพื่อความอยากในรส ฉันใด

แม้กุลบุตรก็ฉันนั้น บวชแล้วเสพบิณฑบาต เพียงเพื่อ
...ฯลฯ... การอยู่ผาสุก ดังนี้.

บทว่า สเจ ธาวติ เต จิตฺตํ ความว่า ถ้าจิตของเธอมนสิการโดย
ไม่แยบคาย ย่อมวิ่งไป คืบซ่านไป แล่นไป ด้วยอำนาจฉันทราคะในกาม
คือกามคุณ 5 และด้วยอำนาจปรารถนาภพ ในบรรดาภพทั้งหลายมี
กามภพเป็นต้น.
บทว่า ขิปฺปํ นิคฺคณฺห สติยา กิฏฺฐาทํ วิย ทุปฺปสุํ ความว่า เธอ
เมื่อจะให้จิตวิ่งไปอย่างนั้น จงเอาสติ ได้แก่ เชือก คือสติผูกไว้ที่หลัก
คือสมาธิ รีบข่มเสียโดยรวดเร็ว เหมือนบุรุษเอาเชือกผูกสัตว์เลี้ยงตัวเกเร
คือโคตัวร้ายซึ่งเคี้ยวกินข้าวกล้า ไว้ที่หลักทำให้อยู่ในอำนาจของตนฉะนั้น
คือเธอจงทรมานโดยประการที่จะหมดพยศเพราะปราศจากกิเลส. ส่วน
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระยังเป็นปุถุชนอยู่เลย อดกลั่นการด่า
เสียได้ เมื่อจะประกาศคุณอันประเสริฐ จึงกล่าวธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้น
ภายหลังจึงโอวาทตนด้วยคาถา 2 คาถา แล้วเจริญด้วยวิปัสสนาได้บรรลุ
พระอรหัต เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้นั่นแล.
จบอรรถกถาพรหมทัตตเถรคาถาที่ 12

13. สิริมัณฑเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสิริมัณฑเถระ


[359] มุงบังไว้ฝนยิ่งรั่วรด เปิดไว้ฝนกลับไม่รั่วรด เพราะ
ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงเปิดที่มุงบังเสียเถิด ฝนจักไม่รั่ว
รดท่านด้วยอาการอย่างนี้ โลกถูกมัจจุกำจัด ถูกชรารุม
ล้อม ถูกศร คือตัณหาทิ่มแทง ถูกความปรารถนาแผด
เผาทุกเมื่อ โลกถูกมัจจุกำจัด และถูกชรารุมล้อม ไม่มี
สิ่งใดต้านทานได้ ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ เหมือนคน
กระทำความผิดได้รับอาชญา เดือดร้อนอยู่ฉะนั้น ชรา
พยาธิ และมรณะทั้ง 3 เป็นดุจกองไฟตามครอบงำอยู่
สัตวโลกเหล่านั้นไม่มีกำลังต่อต้าน ไม่มีกำลังจะหนีไป
ควรทำวันไม่ให้ไร้ประโยชน์ ด้วยมนสิการวิปัสสนากรรม-
ฐานน้อยบ้างมากบ้าง เพราะราตรีล่วงไปเท่าใด ชีวิต
ของสัตว์ก็ล่วงไปเท่านั้น เวลาตายย่อมรุกร้นเข้าไปใกล้
บุคคลผู้เดิน ยืน นั่ง หรือนอน เพราะเหตุนั้น ท่าน
ไม่ควรประมาทเวลา.

จบสิริมัณฑเถรคาถา

อรรถกถาสิริมัณฑเถรคาถาที่ 13



คาถาของท่านพระสิริมัณฑเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ฉนฺนมติวสฺสติ
ดังนี้. เรื่องนั้น มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?