เมนู

3. สภิยเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระสภิยเถระ


[325] พวกอื่นเว้นบัณฑิตย่อมรู้สึกว่า พวกเราที่ทะเลาะ
วิวาทกันนี้ จะพากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ พวกใด
มารู้ชัดในท่ามกลางสงฆ์นั้นว่า พวกเราพากันไปสู่ที่ใกล้
มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไปได้จากสำนัก
ของพวกนั้น เมื่อใด เขาไม่รู้ธรรมอันเป็นอุบายระงับการ
ทะเลาะวิวาทตามความเป็นจริง ประพฤติอยู่ดุจไม่แก่
ไม่ตาย เมื่อนั้น ความทะเลาะวิวาทก็ไม่สงบลงได้ ก็ชน
เหล่าใดมารู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
พากันเร่าร้อนอยู่ ชนเหล่านั้นย่อมไม่เร่าร้อน ความ
ทะเลาะวิวาทของพวกเขา ย่อมระงับไปได้โดยส่วนเดียว
การงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรอันเศร้าหมอง
และพรหมจรรย์อันบุคคลพึงระลึกด้วยความสงสัย กรรม
3 อย่างนั้น ย่อมไม่มีผลมาก ผู้ใดไม่มีความเคารพใน
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ห่างไกลจาก
สัทธรรมเหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น.

จบสภิยเถรคาถา

อรรถกถาสภิยคาถาที่ 3



คาถาของท่านสภิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปเร จ ดังนี้. เรื่องนั้น
มีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
พระเถระแม้นี้ ได้สร้างบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน
เมื่อสั่งสมบุญไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่ากกุสันธะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง
เห็นพระศาสดาเสด็จไปเพื่อประทับอยู่พระสำราญในกลางวัน มีจิตเลื่อมใส
ได้ถวายรองเท้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อสุวรรณเจดีย์ประดิษฐานแล้ว
พร้อมด้วยกุลบุตร 6 คน มีตนเป็นที่ 7 บวชในพระศาสนา เรียนพระ-
กรรมฐานอยู่ในป่า เมื่อไม่สามารถให้คุณวิเศษบังเกิดได้ จึงกล่าวกะกุล-
บุตรนอกนี้ว่า พวกเราเมื่อเที่ยวไปบิณฑบาต ยังมีความอาลัยในชีวิต และ
เพราะมีความอาลัยในชีวิต พวกเราก็ไม่สามารถจะบรรลุโลกุตรธรรมได้.
และการกระทำกาละอย่างปุถุชนย่อมเป็นทุกข์ เอาเถอะพวกเราจะผูกบันได
ขึ้นสู่ภูเขา ไม่อาลัยในกายและชีวิต กระทำสมณธรรม. ภิกษุเหล่านั้น
ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาเถระได้อภิญญา 6 ในวันนั้นนั่นเอง เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสัย นำบิณฑบาตจาก
อุตตรกุรุทวีปเข้าไปให้แก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ท่านทำกิจเสร็จแล้ว กิจเพียงเจรจาปราศรัยกับท่านเป็นการ
เนิ่นช้า, พวกเราจะกระทำเฉพาะสมณธรรมเท่านั้น ขอท่านจงประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งสุขวิหารธรรม ในธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด ดังนี้แล้วได้ห้าม