เมนู

อรรถกถานันทเถรคาถา


คาถาของท่านพระนันทเถระ เริ่มต้นว่า อโยนิโสมนสิกาโร.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในพระนครหงสาวดี
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว
ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่ง
ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ฝ่ายคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น แม้ด้วยตนเอง บำเพ็ญมหาทานอันมากไปด้วยบูชาและสักการะ
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ ตั้งปณิธานว่า ในอนาคตกาล ขอข้า-
พระองค์ พึงเป็นเช่นสาวกเห็นปานนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกันด้วยพระองค์
ดังนี้แล้ว ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นเต่าใหญ่
ในแม่น้ำชื่อว่า วินดา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
อัตถทัสสี วันหนึ่งเห็นพระศาสดา ประทับยืนอยู่ที่ริมฝั่ง เพื่อจะข้ามฝั่งน้ำ
มีความประสงค์จะยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ข้ามด้วยตนเอง จึงหมอบลงแทบบาท
มูลของพระศาสดา พระศาสดาทรงเล็งดูอัธยาศัยของมัน แล้วเสด็จประทับขึ้น
สู่หลัง. มันร่าเริงยินดี แล้วว่ายตัดกระแสน้ำไปโดยเร็ว ยังพระศาสดาให้ถึงฝั่ง
อย่างฉับพลัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุโมทนา ตรัสบอกสมบัติที่จะเกิดแก่มัน
แล้วเสด็จหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น มันท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น แล้วบังเกิด
ในพระครรภ์ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี โดยเป็นพระโอรสของพระ-
เจ้าสุทโธนมหาราช ในพระนครกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ในวันขนาน

พระนามพระกุมาร พระประยูรญาติได้ขนานพระนามว่า นันทะ ดังนี้ ก็
เพราะทรงยังหมู่ญาติให้ยินดีประสูติแล้ว ในเวลาที่นันทกุมารเจริญพระชนม์
พรรษา พระศาสดาทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไป ทรงทำการอนุ-
เคราะห์สัตวโลก เสด็จไปพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงกระทำฝนโปกขรพรรษให้เป็น
อัตถุปบัติในญาติสมาคม ตรัสเวสสันดรชาดกแล้วเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในวันที่
2 ยังพระชนกให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลด้วยพระคาถาว่า อุตฺติฏฺเฐ นปฺปม-
ชเชยฺย
บุคคลไม่ควรประมาทในบิณฑบาตอันตนพึงลุกขึ้นยืนรับ ดังนี้แล้ว
เสด็จไปสู่นิเวศน์ ยังพระนางมหาปชาบดีให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล (และ) ยัง
พระราชาให้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ด้วยพระคาถามีอาทิว่า บุคคลพึงประพฤติ
ธรรมให้สุจริต ในวันที่ 3 เมื่อพิธีวิวาหมงคล คือการนำราชธิดาเข้าไปสู่
นิเวศน์โดยการอภิเษกของนันทกุมาร กำลังดำเนินไป เสด็จเข้าไปบิณฑบาต
แล้วทรงยังนันทกุมารให้ถือบาตร ตรัสมงคลแล้ว ไม่ทรงรับบาตรจากมือของ
นันทกุมาร เสด็จไปสู่พระวิหาร ยังนันทกุมารผู้ถือบาตร ตามมาสู่พระวิหาร
ผู้ไม่ปรารถนาอยู่นั่นเทียว ให้บรรพชาแล้ว ทรงทราบความที่นันทกุมารถูกความ
ไม่ยินดีบีบคั้น เพราะเหตุที่ให้บรรพชาโดยวิธีอย่างนั้น แล้วทรงบรรเทาความ
ไม่ยินดีนั้นของนันทกุมารโดยอุบาย พระนันทะพิจารณาโดยแยบคายแล้วเริ่มตั้ง
วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้วต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่าน
กล่าวไว้ในอปทานว่า
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
เป็นพระสยัมภู เป็นนายกของโลก เป็นพระตถาคต
ได้เสด็จไปที่ฝั่งน้ำวินดา เราเป็นเต่าเที่ยวไปในน้ำ
ออกไปจากน้ำแล้ว ประสงค์จะทูลเชิญพระพุทธเจ้า
เสด็จข้ามฟาก จึงเข้าไปเฝ้าพระองค์ ผู้เป็นนายกของ

โลก (กราบทูลว่า) ขออัญเชิญพระพุทธเจ้าผู้เป็นมหา-
มุนี พระนามว่า อัตถทัสสี เสด็จขึ้นหลังข้าพระองค์
เถิด ข้าพระองค์จะนำพระองค์เสด็จข้ามฟาก ขอพระ-
องค์โปรดทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ แก่ข้าพระองค์เถิด
พระพุทธเจ้าผู้มีพระยศใหญ่ ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี
ทรงทราบถึงความดำริของเรา จึงได้เสด็จขึ้นหลังเรา
แล้วประทับยืนอยู่ ความสุขของเราในเวลาที่นึกถึงตน
ได้ และในเวลาที่ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา หาเหมือน
กับสุขเมื่อพื้นฝ่าพระบาทสัมผัสไม่ พระสัมพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ เสด็จขึ้น
ประทับยืนที่ฝั่งน้ำแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
เราข้ามกระแสคงคา ชั่วเวลาประมาณเท่าจิตเป็นไป
ก็พระยาเต่ามีบุญนี้ ส่งเราข้ามฟากด้วยการส่งพระพุทธ-
เจ้าข้ามฟากนี้ และด้วยความเป็นผู้มีจิตเมตตา จัก
รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด 1,800 กัป จากเทวโลก
มามนุษยโลกนี้ เป็นผู้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว นั่ง ณ
อาสนะอันเดียว จักข้ามพ้นกระแสน้ำ คือความสงสัย
ได้ พืชแม้น้อย แต่เขาเอาหว่านลงในเนื้อนาดี เมื่อ
ฝนยังอุทกธาราให้ตกอยู่ โดยชอบ ผลย่อมทำชาวนา
ให้ยินดี แม้ฉันใด พุทธเขตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงไว้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุญเพิ่มอุทก-
ธาราโดยชอบ ผลจักทำเราให้ยินดี เราเป็นผู้มีตนอัน


ส่งไปแล้วเพื่อความเพียร เป็นผู้สงบระงับ ไม่มีอุปธิ
กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่
ในกัปที่ 1,800 เราได้ทำกรรมใด ในกาลนั้นด้วย
กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการส่ง
พระพุทธเจ้าข้ามฟาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาสังกิเลสที่ตนละได้แล้ว
และความสุขที่ตนได้รับว่า น่าอัศจรรย์ ความเป็นผู้ฉลาดในอุบายของพระ
ศาสดา โดยที่พระองค์ ทรงยกเราจากเปลือกตมคือภพ แล้วให้ประดิษฐาน
อยู่บนบกคือพระนิพพาน ดังนี้แล้ว เกิดความโสมนัส ได้กล่าวคาถา 2
คาถา ด้วยสามารถแห่งอุทาน ความว่า
เรามัวแต่ประกอบการประดับตกแต่ง เพราะไม่
มีโยนิโสมนสิการ มีใจฟุ้งซ่าน กลับกลอก ถูกกาม
ราคะเบียดเบียน เราได้ปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ ตามที่
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์ ฉลาดในอุบาย
ได้ทรงสั่งสอนแนะนำ แล้วถอนจิตที่จมลงในภพขึ้น
ได้
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิโส มนสิการา ความว่า
เพราะกระทำไว้ในใจซึ่งกายอันไม่งาม โดยความเป็นของงาม คือ เพราะ
เหตุแห่งการทำไว้ในใจ โดยความเป็นของงาม โดยมนสิการไม่ชอบด้วยอุบาย
อธิบายว่า เพราะเข้าใจร่างกายที่ไม่งามว่างาม.

บทว่า มณฺฑานํ ความว่า ซึ่งเครื่องประดับอัตภาพ ด้วยอาภรณ์
ทั้งหลายมีสร้อยข้อมือเป็นต้น และด้วยเครื่องประทินผิว มีระเบียบและของ
หอมเป็นต้น.
บทว่า อนุยุญฺชิสํ แปลว่า ประกอบแล้ว อธิบายว่า ได้เป็นผู้
ขวนขวาย การประดับตกแต่งร่างกาย.
บทว่า อุทฺธโต ความว่า เป็นผู้อันความเมาทั้งหลาย มีความเมา
เพราะชาติ โคตร รูป และความเป็นหนุ่ม เป็นสาวเป็นต้น ยกขึ้นแล้ว
คือเป็นผู้มีจิตไม่สงบแล้ว.
บทว่า จปโล ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้โลเล เพราะความเป็นผู้มีจิต
ไม่มั่นคง เหมือนลิงป่า และกลับกลอก เพราะประกอบในความเป็นผู้มีอารมณ์
หวั่นไหว ด้วยการประดับตกแต่งร่างกายและประดับด้วยผ้าเป็นต้น.
บทว่า อาสึ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า กามราเคน ประกอบ
ความว่า เป็นผู้อันฉันทราคะในวัตถุกามทั้งหลาย เบียดเบียน คือบีบคั้น
ได้แก่ เสียดแทง.
บทว่า อปายกุสเลน ความว่า มีพระพุทธเจ้าคือพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ฉลาดด้วยความฉลาด ในอุบายเป็นเครื่องทรมานเวไนยสัตว์ เป็นเหตุ.
ก็บทว่า อปายกุสเลน นี้เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ. ก็พระเถระ
กล่าวบทว่า อปายกุสเลน นี้ หมายถึง การนำกามราคะของตนออกไปได้
ด้วยพระดำรัสที่ตรัสเตือน โดยข้ออุปมาที่ยกเอานางลิงหางด้วน และนางเทพ
อัปสรมาเปรียบเทียบ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังท่านพระนันทเถระ
ให้มีจิตคลายกำหนัดในนางชนบทกัลยาณี โดยเปรียบนางชนบทกัลยาณีก่อนว่า
นางลิงตัวนี้ฉันใด นางชนบทกัลยาณี เปรียบกับนางเทพอัปสร ผู้มีฝ่าเท้า
เหมือนนกพิราบ ก็ฉันนั้น แล้วทรงชี้ให้ดูนางเทพอัปสร ผู้มีเท้าเหมือนนก

พิราบ อุปมาดุจนำเอาลิ่มอันเล็ก ออกจากลิ่มใหญ่แล้วทิ้งไปฉะนั้น และดุจ
นายแพทย์ทำสรีระให้ชุ่มด้วยการดื่มน้ำมัน แล้วนำเอาพิษออก ด้วยการให้
สำรอกและการขับถ่าย ฉะนั้น แล้วทรงยังจิตให้คลายกำหนัด แม้ในนางเทพ
อัปสร ผู้มีฝ่าเท้าเหมือนเท้านกพิราบ ด้วยการตรัสเปรียบเทียบอีกครั้ง แล้ว
ทรงยังพระเถระให้ตั้งอยู่ในพระอริยมรรค ด้วยการขวนขวายในสมถะ และ
วิปัสสนาโดยชอบทีเดียว. สมดังคำเป็นคาถาที่พระเถระกล่าวไว้ว่า โยนิโส
ปฏิปชฺชิตฺวา ภเว จิตฺตํ อุทพฺพหึ
เราได้ปฏิบัติโดยอุบายที่ชอบ ตามที่
พระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ฉลาดในอุบาย ได้ทรงสั่งสอน
แนะนำ แล้วถอนจิตที่จมลงในภพขึ้นได้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำเนินวิสุทธิปฏิปทา ด้วยสมถะและวิปัสสนา
โดยชอบทีเดียว ด้วยอุบาย คือด้วยพระปรีชาญาณ ยกจิตของเราที่จมลงในภพ
ได้แก่ เปลือกตม คือสงสาร ด้วยพระหัตถ์ คือพระอริยมรรค อธิบายว่า
ให้ตั้งอยู่บนบก คือพระนิพพาน.
พระเถระเปล่งอุทานนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ค้ำ
ประกัน เพื่อให้ข้าพระองค์ได้นางอัปสร 500 ผู้มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบอันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอเปลื้องพระผู้มีพระภาคเจ้า จากการเป็น
ผู้รับรองนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ การรับรองใดแล
เป็นเหตุให้จิตของเธอหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในเวลานั้น
เราตถาคต ก็พ้นจากการเป็นผู้รับรองนั้นแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบความที่พระนันทะ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
พร้อมกับคุณพิเศษของท่าน เมื่อจะทรงประกาศคุณพิเศษนั้น จึงทรงตั้งท่านไว้
ในตำแหน่งของภิกษุผู้เลิศ โดยความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์

โดยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนันทะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้สาวก
ของเราฝ่ายคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. แท้จริง พระเถระคิดว่า เราถึง
ประการอันแปลกนี้ เพราะอาศัยความไม่สำรวมอินทรีย์ทั้งหลายอันใดแล เรา
จักข่มความไม่สำรวมอันนั้นแลด้วยดี ดังนี้แล้ว เกิดความอุสาหะ เป็นผู้มีหิริ
โอตตัปปะ มีกำลัง ได้ถึงบารมีในอินทรีย์สังวรอย่างอุกฤษฏ์ เพราะความเป็น
ผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
ปทุมุตตระ นั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถานันทเถรคาถา

10. สิริมาเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระสิริมาเถระ


[277] ได้ยินว่า พระสิริมาเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ถ้าคนมีจิตไม่ตั้งมั่น ถึงชนเหล่าอื่นจะสรรเสริญ
ชนเหล่าอื่นก็สรรเสริญเปล่า เพราะตนมีจิตไม่ตั้งมั่น
ถ้าตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ถึงชนเหล่าอื่นจะติเตียน ชน
เหล่าอื่นก็ติเตียนเปล่า เพราะตนมีจิตตั้งมั่นดีแล้ว.

จบวรรคที่ 2