เมนู

บทว่า สเจ รตึ นาธิคจฺเฉยฺย ตตฺถ ความว่า ภิกษุยังไม่ประสบ
ความยินดี ในเสนาสนะอันสงัด และในธรรมคือกุศลอันยิ่งเหล่านั้น คือไม่
ประสบความยินดียิ่ง เพราะไม่ได้คุณพิเศษ ติดต่อเป็นลำดับไป พึงเป็นผู้มีตน
อันรักษาแล้ว คือมีจิตอันรักษาแล้ว โดยกำหนดกรรมฐาน พึงเป็นผู้มีสติอยู่
ด้วยการเข้าไปตั้งไว้ ซึ่งสติเป็นเครื่องรักษาในทวารทั้ง 6 ในสงฆ์ คือ ในหมู่
แห่งภิกษุ. และเมื่อเธออยู่อย่างนี้ พึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์โดยแท้.
จบอรรถกถามหาจุนทเถรคาถา

2. โชติทาสเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระโชติทาสเถระ


[269] ได้ยินว่า พระโชติทาสเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ชนเหล่าใดแล พยายามในทางร้ายกาจ ย่อม
เบียดเบียนมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยการกระทำอันเจือด้วย
ความผลุนพลันก็ดี ด้วยการกระทำ มีความประสงค์
ต่าง ๆ ก็ดี ชนเหล่านั้นกระทำทุกข์ ให้แก่ผู้อื่นฉันใด
แม้ผู้อื่นก็ย่อมทำทุกข์ให้แก่ชนเหล่านั้น ฉันนั้น เพราะ
นรชนกระทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้
รับผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้นั้น โดยแท้.