เมนู

15. หาริตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระหาริตเถระ


[321] ได้ยินว่า พระหาริตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำใน
ภายหลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความ
สุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. งานใดควรทำ ก็
พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควร
พูดถึงงานนั้น คนไม่ทำมีแต่พูด บัณฑิตทั้งหลาย
ก็รู้ทัน. พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง
แล้ว เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี
คือกิเลส เป็นธรรมเกษม เป็นที่ดับทุกข์
ดังนี้.

อรรถกถาหาริตเถรคาถา


คาถาของท่านพระหาริตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กรณี-
ยานิ.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระหาริตเถระ นั้น เกิดแล้ว ในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมตตระ รู้เดียงสา
แล้ว เมื่อพระศาสดา ปรินิพพานแล้ว เมื่อประชาชนพากันบูชาที่เชิงตะกอน
ของพระองค์ ได้ทำการบูชาด้วยของหอม.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมา ในเทวโลกและมนุษยโลก
มาในพุทธุปบาทกาล ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ มีนามว่า หาริตะ เจริญ
วัยแล้ว อาศัยความถือตัวเพราะชาติ จึงร้องเรียกคนอื่น ด้วยวาทะว่า คนถ่อย
ถึงบวชแล้ว ก็ไม่เลิกละการร้องเรียกว่า คนถ่อย เพราะพระพฤติมานานแล้ว
อยู่มาวันหนึ่ง ท่านได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา เกิดความสลดใจ เริ่ม
ตั้งวิปัสสนากรรมฐาน ตรวจตราดูความเป็นไปแห่งจิตของตน ได้เห็นจิตถูก
มานะและอุทธัจจะยึดแล้ว จึงละทิ้งมานะและอุทธัจจะ ยังวิปัสสนาให้ก้าว
หน้าขึ้นไปแล้ว ได้บรรลุพระอรหัตผล. ด้วยเหตุนั้น ในอปทาน ท่านจึงได้
กล่าวไว้ว่า
เมื่อมหาชนทำเชิงตะกอน นำของหอมนานา
ชนิดมา ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ดีใจ ได้บูชาด้วยของ
หอมกำมือ 1 ในกัปที่แสน นับถอยหลัง แต่กัปนี้ไป
เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้บูชาเชิงตะกอน จึงไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาเชิงตะกอน. กิเลสทั้งหลาย
ข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านครั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว เมื่อเสวยวิมุตติสุข ได้พยากรณ์
พระอรหัตผล โดยการให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายโดยตรง ด้วยคาถา 3
คาถา ว่า
ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อน ไพล่ไปทำในภาย
หลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจากฐานะ อันนำมาซึ่งความสุข
และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง. งานใดควรทำ ก็พึง

พูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควรพูด
ถึงงานนั้น คนไม่ทำมีแต่พูด บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน.
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว
เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลีคือกิเลส
เป็นธรรมเกษมเป็นที่ดับทุกข์
ดังนี้.
เนื้อความของคาถาเหล่านั้น ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.
จบอรรถกถาหาริตเถรคาถา

16. วิมลเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระวิมลเถระ


[322] ได้ยินว่า พระวิมลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ปรารถนาความสุขอันถาวร ควรเว้นบาป
มิตร คบหาแต่บุคคลผู้สูงสุด และควรตั้งอยู่ในโอวาท
ของท่าน. คนเกาะไม้เล็ก ๆ ต้องจมอยู่ใน
ห้วงมหรรณพ ฉันใด คนแม้ดำรงชีพอย่างดี แต่
อาศัยคนเกียจคร้าน ก็ต้องจมอยู่ใน (ในวัฏสงสาร)
ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นคนเกียจคร้าน มี
ความเพียรเลวทราม ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิตทั้งหลาย
ผู้สงัดเป็นอริยะ มีใจเด็ดเดี่ยว เข้าฌานเป็นปกติ
ปรารภความเพียรเป็นนิจ.

จบวรรคที่ 1
จบติกนิบาต