เมนู

อรรถกถาอภิภูตเถรคาถา


คาถาของท่านพระอภิภุตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุณาถ ญาตโย
สพฺเพ.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระอภิภูตเถระ นี้ ก็มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระ-
พุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญในภพนั้น ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มี
ตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า เวสสภู รู้
เดียงสาแล้ว ได้เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระศาสนา เพราะอาลัยกัลยาณมิตร
เช่นนั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว มหาชนพากันทำความอุตสาหะเพื่อ
จะรับเอาพระธาตุของพระองค์ ท่านได้ใช้น้ำหอมดับเชิงตะกอนก่อนกว่าทุกคน
ด้วยตนเอง.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลกมาใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในราชตระกูล ในนครเวฏฐปุระ ได้รับขนานนาม
ว่า อภิภู สิ้นรัชกาลของพระชนก ก็ได้เสวยราชสมบัติ และในสมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกชนบท ลุถึงพระนครนั้น ครั้งนั้นพระราชานั้น
ได้ทรงสดับว่า ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึงพระนคร แล้วได้
เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ในวันที่ 2 ได้
ทรงถวายมหาทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเสร็จภัตกิจแล้ว เมื่อจะทรง
ทำการอนุโมทนาที่เหมาะสมกับพระราชอัธยาศัยนั่นแหละ จึงได้ทรงแสดง
พระธรรมเทศนาโดยพิสดาร พระองค์ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้ว กลับได้
พระราชปสาทศรัทธา สละราชสมบัติผนวชแล้ว ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผล.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในอปทานว่า

เมื่อมหาชนถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ของ
พระมหาฤาษีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า เวสสภู
ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน ในกัปที่ 31 นับถอยหลัง
แต่กัปนี้ไป เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้ดับไฟเชิงตะกอน
จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของน้ำหอมที่ข้าพเจ้า
ได้ดับไฟเชิงตะกอน. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้
เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้า
ได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ประทับอยู่ด้วย
วิมุตติสุข อาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ทั้งหมด คือ พระบรมวงศานุวงศ์
อำมาตย์ข้าราชบริพาร ชาวนครและชาวชนบท พากันนาชุมนุมกันโอดครวญ
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุไฉน พระองค์จึงทรงผนวช ทรงทำให้พวกข้า
พระองค์เป็นอนาถาไร้ที่พึ่งกัน พระเถระเจ้าเห็นคนเหล่านั้นมีพระญาติเป็น
หัวหน้า พากันโอดครวญอยู่ เมื่อจะกล่าวธรรมกถา (ปลอบ) คนเหล่านั้น
ด้วยการประกาศเหตุแห่งการบรรพชาของตน จึงได้ภาษิตคาถา 3 คาถาไว้ว่า
ข้าแต่พระญาติทั้งหลาย เท่าที่มาประชุมกัน ณ
ที่นี้ทั้งหมด ขอจงทรงสดับ อาตมาภาพจักแสดง
ธรรมแก่ท่านทั้งหลาย การกำจัดแล้วเกิดอีกเป็นทุกข์
ขอท่านทั้งหลายจงเริ่มลงมือ จงออกบวชประกอบ
ความเพียร ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาของ
พญามัจจุราช เหมือนกุญชรทำลายเรือนไม้อ้อฉะนั้น.
ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในพระธรรมวินัย (ศาสนา)
นี้ ผู้นั้นจักละการเวียนเกิด ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณาถ ความว่า จงสงบใจฟัง อธิบายว่า
จงจำทรงเอาถ้อยคำที่อาตมาภาพ กำลังกล่าวอยู่เดี๋ยวนี้ตามแนวทางของโสตทวาร
ที่ได้เงี่ยลงฟังแล้ว. คำว่า ญาตโย เป็นคำร้องเรียกคนเหล่านั้นทั้งหมด มี
พระญาติเป็นหัวหน้า ด้วยคำนี้พระเถระเจ้าได้กล่าวว่า ขอพระญาติทั้งหมด
มีจำนวนเท่าที่มาพร้อมกัน ณ ที่นี้ อธิบายว่า ข้าแต่พระญาติวงศ์ทั้งหลาย
มีจำนวนเท่าใด คือมีประมาณเท่าใด พระญาติวงศ์ทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น
ที่มาพร้อมเพรียงกันแล้วในสมาคมนี้ หรือที่มาพร้อมเพรียงกันในการบวชของ
อาตมาภาพนี้.
บัดนี้ พระเถระเจ้ากล่าวรับคำที่ตนหมายเอาแล้ว กล่าวคำเป็นเชิง
บังคับให้ฟังว่า ท่านทั้งหลายจงพึงดังนี้ว่า อานุภาพจักแสดงธรรมแก่ท่าน
ทั้งหลายดังนี้แล้ว ได้ปรารภเพื่อแสดงโดยนัยมีอาทิว่า การเกิดแล้วเกิดอีก
เป็นทุกข์.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป ขึ้นชื่อว่าความเกิด ในคำว่า
ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ นี้ ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
มากอย่าง ต่างประเภทมีการก้าวลงสู่ครรภ์เป็นมูลฐาน และแยกประเภทออก
เป็นชราเป็นต้น ความเกิดที่เป็นไปแล้ว ๆ เล่า ๆ เป็นทุกข์เหลือหลาย แต่
พระเถระเจ้า เมื่อจะแสดงว่า ความพยายามเพื่อจะระงับความเกิดนั้น เป็นกิจ
ที่ควรทำ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อารมฺภถ ไว้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อารมฺภถ ความว่า จงทำความเพียร
ได้แก่ อารัมภธาตุ (ความริเริ่ม).
บทว่า นิกฺกมถ ความว่า จงทำความเพียรให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ได้แก่
นิกกมธาตุ (การก้าวออกไป) เพราะเป็นผู้ก้าวออกไปแล้วจากอกุศลธรรมที่

เป็นฝ่ายของความเกียจคร้าน. บทว่า ยุญฺเชถ พุทฺธสาสเน ความว่า
เพราะเหตุที่อารัมภธาตุและนิกกมธาตุทั้งหลาย ย่อมสมบูรณ์แก่ผู้ดำรงมั่นอยู่ใน
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ ความสำรวมในศีล ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคและความรู้ตัว
อย่างยิ่งได้ ก็ด้วยสามารถแห่งการประกอบความเพียรเนือง ๆ ฉะนั้น ท่าน
ทั้งหลายที่เป็นแล้วอย่างไร จงเป็นผู้ขะมักเขม้นในคำสั่งสอนของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
กล่าวคือสมถะและวิปัสสนา หรือกล่าวคือสีลสิกขาเป็นต้น.
บทว่า ธุนาถ มจฺจุโน เสนํ นฬาคารํว กุญฺชโร ความว่า
ก็ท่านทั้งหลายปฏิบัติอยู่อย่างนี้ จะกำจัด คือ ขยี้ อธิบายว่า ทำลายได้ซึ่งกลุ่ม
กิเลส กล่าวคือเสนาของพญามัจจุราชนั้น เพราะนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่อำนาจ
ของพญามัจจุราชซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลกธาตุทั้ง 3 ที่ไม่มีกำลัง คือ มีกำลังทราม
อุปมาเสมือนช้างเชือกที่ประกอบด้วยกำลังวังชา พังเรือนที่สร้างด้วยไม้อ้อให้
ทะลายไปในทันใดนั้นเอง.
อนึ่ง พระเถระเจ้า เมื่อจะแสดงแก่ผู้ทำความอุตสาหะในพระพุทธ-
ศาสนาอย่างนี้ว่า ผู้อยู่คนเดียวเป็นผู้ก้าวล่วงชาติทุกข์ได้ จึงได้กล่าวคาถาที่ 3
ไว้ ด้วยคำมีอาทิว่า โย อิมสุมึ. คำนั้นเข้าใจง่ายอยู่แล้วแล.
จบอรรถกถาอภิภูตเถรคาถา

14.โคตมเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ


[320] ได้ยินว่า พระโคตมเถระได้ภาษิตคาถาม ไว้ อย่างนี้ว่า
อาตมาภาพเมื่อท่องเที่ยวไปมา ได้ไปสู่นรกบ้าง
เปรตโลกบ้าง ชาติแล้วชาติเล่า แม้ในกำเนิดเดียรฉาน
ที่สุดแสนจะทนได้ อาตมาภาพก็อยู่มานานมากมาย
หลายประการ และภพของมนุษย์ อาตมาภาพก็ได้
ผ่านมามากแล้ว และได้ไปสวรรค์เป็นครั้งเป็นคราว
อาตมาภาพดำรงอยู่ในรูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง อสัญ-
ญีภพบ้าง เนวสัญญีนาสัญญีภพบ้าง ภพทั้งหลาย
อาตมาภาพรู้ชัดแล้ว ว่าไม่มีแก่นสาร อันปัจจัยปรุง
แต่งขึ้น เป็นของแปรปรวน กลับกลอก ถึงความ
แตกหัก ทำลายไปทุกเมื่อ ครั้นรู้แจ้งภพนั้น อันเป็น
ของเกิดในตนแล้ว อาตมาภาพจึงเป็นผู้มีสติ บรรลุ
สันติธรรมแล้ว.