เมนู

อรรถกถาปัสสิกเถรคาถา


คาถาของพระปัสสิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เอโกปิ สทฺโธ เมธาวี
ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เมื่อทำบุญทั้งหลายไว้ ในภพนั้น ๆ มาในกาลของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล
บรรลุนิติภาวะแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ได้เห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย
ผลไม้มิลักขะ (แด่พระองค์).
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเมื่อท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์มีนามว่า ปัสสิกะ เจริญวัยแล้ว ได้เห็นยมกปาฎิ-
หาริย์ของพระศาสดา กลับมีศรัทธา บวชแล้ว บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ได้เป็น
ผู้อาพาธ ครั้งนั้น ญาติทั้งหลายได้พากันอุปัฏฐากท่านให้หายโรค ตามวิธียา
ที่หมอได้รอบรู้เห็นมาแล้ว ท่านหายอาพาธแล้ว เกิดสลดใจรีบเร่งภาวนาขึ้น
ได้เป็นพระอริยเจ้า ผู้มีอภิญญา 6. ด้วยเหตุนั้นในอปทาน ท่านจึงได้กล่าว
ไว้ว่า
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า อัตถ-
ทัสสี ผู้มีพระยศมาก ที่ระหว่างป่า มีจิตเลื่อมใส ดีใจ
ได้ถวายผลไม้มิลักขะในกัปที่ 1,800 ข้าพเจ้าได้ถวาย
ผลไม้ใดในครั้งนั้น ด้วยทานนั้น ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลของการถวายผลไม้นั้น. กิเลสทั้งหลาย
ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ท่านมีอภิญญา 6 แล้ว ได้ไปสำนักของพวกญาติทางอากาศ
สถิตอยู่แล้วบนอากาศ แสดงธรรมให้ญาติเหล่านั้นดำรงอยู่ในสรณะและศีล
ทั้งหลาย บรรดาญาติเหล่านั้น บางพวกถึงแก่กรรมแล้ว ได้เกิดในสวรรค์
เพราะได้ดำรงอยู่แล้วในสรณะและศีลทั้งหลาย. ครั้งนั้น พระศาสดาได้ตรัส
ถามท่านปัสสิกเถระนั้น ผู้เข้ามาถึงที่บำรุงของพระพุทธเจ้าว่า ดูก่อนปัสสิกะ
ญาติทั้งหลายของเธอไม่มีโรคหรือ ? ท่านเมื่อจะทูลถึงอุปการะ ที่ตนได้ทำแก่
ญาติทั้งหลาย แด่พระศาสดา จึงได้กล่าวคาถาไว้ 3 คาถาว่า
คนผู้มีศรัทธา มีปัญญา ดำรงอยู่ในธรรม ถึง
พร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ก็มีประโยชน์แก่ญาติพวก
พ้องทั้งหลาย ผู้ไม่มีศรัทธาในโลกนี้ ญาติทั้งหลาย
เหล่านั้นที่ข้าพระองค์ขู่ตักเตือน ด้วยความอนุเคราะห์
เพราะความรักกันฉันญาติและเผ่าพันธุ์ จึงพากันทำ
สักการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงแก่กรรมล่วงลับไปแล้ว
ก็ประสบความสุขที่เป็นไตรทิพย์ พี่น้องและโยมผู้
หญิงของข้าพระองค์ ผู้รักกามสุข ก็พากันบันเทิงใจ.

บรรดาคาถาเหล่านั้น ในคาถาแรก มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ผู้ใดมี
ศรัทธา ด้วยอำนาจความเชื่อในกรรมและผลของกรรม และความเชื่อในพระ-
รัตนตรัย ชื่อว่าผู้มีปัญญา เพราะประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณ เป็นต้นนั้น
นั่นเอง ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม เพราะตั้งอยู่ในพระธรรม คือพระพุทธโอวาท
ได้แก่ นวโลกุตรธรรม ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยอำนาจศีลที่เนื่องด้วย
อาจาระ ศีลที่เนื่องด้วยมรรค และศีลที่เนื่องด้วยผล ผู้นั้นแม้คนเดียว ก็มี
ประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกพ้อง ผู้ได้นามว่า ชื่อว่าญาติ เพราะหมายความว่า

ต้องรู้กันว่า คนเหล่านี้เป็นคนของเรา และชื่อว่าเผ่าพันธุ์ เพราะหมายความว่า
ผูกพันกันด้วยเครื่องผูกมัด คือ ความรักอย่างนั้น ในที่นี้คือในโลกนี้ ผู้ชื่อว่า
ไม่มีศรัทธาดังที่กล่าวมาแล้ว.
เพื่อแสดงเนื้อความที่ท่านกล่าวไว้แล้ว โดยทั่วไปอย่างนี้แล้ว ให้น้อม
เข้ามาสู่ตน ท่านพระปัสสิกเถระ จึงได้กล่าวคาถานอกจากนี้ไว้ โดยนัยว่า
นิคฺคยฺห ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิคฺคยฺห อนุกมฺปาย โจทิตา ญาตโย
มยา
ความว่า ญาติทั้งหลายอันข้าพระองค์ ได้ขู่ตักเตือนไว้ว่า แม้ในปัจจุบันนี้
ท่านทั้งหลายเป็นคนยากจน เพราะไม่ได้ทำกุศลไว้ ต่อไป อย่าได้เสวยผล ที่
เศร้าหมองต่ำต้อยอีก. ญาติเหล่านั้น เมื่อไม่สามารถฝ่าฝืนโอวาทของข้าพระองค์
ได้ เพราะความรักกันฉันญาติและเผ่าพันธุ์ คือ เพราะความรักที่เป็นไปแล้ว
อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นเผ่าพันธุ์ของพวกเราดังนี้ จึงพากันทำสักการะ แล้วเป็นผู้มี
จิตเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย คือ พากันทำสักการะและความนับถือในภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยการถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น และด้วยการอุปัฏฐาก เป็นผู้ถึงแก่
กรรมล่วงลับไปแล้ว ได้ผ่านโลกนี้ไปแล้ว. คำว่า เต (ที่กล่าว) อีก เป็น
เพียงนิบาต.
บทว่า ติทิวํ สุขํ ได้แก่ความสุขที่นับเนื่องในเทวโลก. อีกอย่าง
หนึ่ง ได้ประสบความสุขที่เป็นไตรทิพย์ ที่น่าปรารถนา. (เพื่อจะแก้คำถาม)
ว่า ก็ท่านเหล่านั้น คือใคร ? พระเถระจึงได้กล่าวว่า พี่น้องและโยมผู้หญิง
ของข้าพระองค์ ผู้รักความสุข พากันบันเทิงใจ อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อม
ด้วยวัตถุกาม ตามที่ตนต้องการพากันรื่นเริงใจ.
จบอรรถกถาปัสสิกเถรคาถา

9. ยโสชเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระยโสชเถระ


[315] ได้ยินว่า พระยโสชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
นรชนผู้มีใจไม่ย่อท้อ เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าว
และน้ำ ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น เหมือน
กับเถาหญ้านาง ภิกษุถูกเหลือบและยุงในป่าใหญ่กัด
ควรเป็นผู้มีสติอดกลั้นในอันตรายเหล่านั้น เหมือน
ช้างในสงคราม ภิกษุอยู่รูปเดียวย่อมเป็นเหมือนพรหม
อยู่ 2 รูปเหมือนเทวดา อยู่ 3 รูปเหมือนชาวบ้าน
อยู่ด้วยกันมากกว่านั้น ย่อมมีความโกลาหลมากขึ้น
เพราะฉะนั้น ภิกษุควรเป็นผู้อยู่แต่รูปเดียว.


อรรถกถายโสชเถรคาถา


คาถาของท่านพระยโสชเถระ มีคำเริ่มต้นว่า กาลปพฺพงฺคสงฺ-
กาโส.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระยโสชเถระนี้ มีบุญญาธิการที่ได้ทำไว้แล้ว ในพระ-
พุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เมื่อสั่งสมบุญทั้งหลายในภพนั้น ๆ มาในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี ได้เกิดในตระกูลของผู้เฝ้าสวน
รู้เดียงสาแล้ว วันหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี
กำลังเสด็จมาทางอากาศ มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลขนุนสำมะลอ (แด่พระองค์).