เมนู

บทว่า วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต ได้แก่ ผู้สลัดทิ้งซึ่งการงานที่ประกอบ.
บทว่า ขณา ได้แก่ โอกาสแห่งการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีโอกาสเกิด
ขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า มาณเว ได้แก่ สัตวโลกทั้งหลาย.
บทว่า ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ ความว่า ไม่สำคัญเหนือไปกว่าหญ้า
คือสำคัญ (หนาว,ร้อน) เหมือนหญ้า ได้แก่ ข่มหนาวและร้อนไว้ ทำ
งานที่ตนจะต้องทำไป. บทว่า กรํ ได้แก่ กโรนฺโต แปลว่า ทำอยู่. บทว่า
ปุริสกิจฺจานิ ได้แก่ ประโยชน์ของตนและของผู้อื่น อันวีรบุรุษจะต้องทำ.
บทว่า สุขา ได้แก่ จากความสุข อธิบายว่า จากนิพพานสุข. เนื้อความ
ของคาถาที่ 3 ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถามาตังคบุตรเถรคาถา

6. ขุชชโสภิตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ


[312] ได้ยินว่า พระขุชชโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สมณะเหล่าใดกล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นปกติ
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะ
ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ นี้เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะ
เหล่านั้น. สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรม อันวิจิตร
เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน
รูปนี้ ผู้มากด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็น

ผู้หนึ่งในจำนวนสมณะเหล่านั้น. ท่านผู้นี้ประสบความ
สุข ด้วยอาการอย่างนี้คือ ด้วยการรบอย่างดี ด้วย
ความปรารถนาดี (ของกัลยาณมิตร) ด้วยชัยชนะใน
สงคราม และด้วยพรหมจรรย์ ที่ประพฤติมาแล้ว
ตามลำดับ.


อรรถกถาขุชชโสภิตเถรคาถา


คาถาของท่านพระขุชชโสภิตเถระ มีคำขึ้นต้นว่า เย จิตฺตกถี
พหุสฺสุตา.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ทราบว่า ท่านพระขุชชโสภิตเถระนี้ ในกาลของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ทรงนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล รู้เดียงสาแล้ว
วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปกับภิกษุสงฆ์จำนวนมาก มีใจ
เลื่อมใสได้กล่าวชมเชยด้วยคาถา 10 คาถา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านได้ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก
มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในนครปาฏลีบุตร ได้
มีนามว่าโสภิตะ. แต่เพราะเป็นผู้ค่อมเล็กน้อย จึงปรากฏ ชื่อว่าขุชชโสภิตะ
นั่นเทียว. ท่านเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้บวช
ในสำนักของท่านพระอานนทเถระ ได้อภิญญา 6. ด้วยเหตุนั้นใน
อปทาน ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า