เมนู

บทว่า วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต ได้แก่ ผู้สลัดทิ้งซึ่งการงานที่ประกอบ.
บทว่า ขณา ได้แก่ โอกาสแห่งการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีโอกาสเกิด
ขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า มาณเว ได้แก่ สัตวโลกทั้งหลาย.
บทว่า ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ ความว่า ไม่สำคัญเหนือไปกว่าหญ้า
คือสำคัญ (หนาว,ร้อน) เหมือนหญ้า ได้แก่ ข่มหนาวและร้อนไว้ ทำ
งานที่ตนจะต้องทำไป. บทว่า กรํ ได้แก่ กโรนฺโต แปลว่า ทำอยู่. บทว่า
ปุริสกิจฺจานิ ได้แก่ ประโยชน์ของตนและของผู้อื่น อันวีรบุรุษจะต้องทำ.
บทว่า สุขา ได้แก่ จากความสุข อธิบายว่า จากนิพพานสุข. เนื้อความ
ของคาถาที่ 3 ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถามาตังคบุตรเถรคาถา

6. ขุชชโสภิตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ


[312] ได้ยินว่า พระขุชชโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สมณะเหล่าใดกล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นปกติ
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะ
ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ นี้เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะ
เหล่านั้น. สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรม อันวิจิตร
เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน
รูปนี้ ผู้มากด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็น