เมนู

อรรถกถามาตังคปุตตเถรคาถา


คาถาของท่านพระมาตังคบุตรเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อติสีตํ. มีเรื่อง
เกิดขึ้นอย่างไร ?
เล่ากันมาว่า ท่านพระมาตังคบุตรเถระนี้ ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เกิดเป็นพญานาค ผู้มีอานุภาพ
มากในนาคพิภพใหญ่ ภายใต้ชาตสระใหญ่ ใกล้ป่าหิมพานต์ อยู่มาวันหนึ่ง
ออกจากนาคพิภพไปเที่ยว (หากิน) เห็นพระศาสดาผู้เสด็จมาทางอากาศ มีใจ
เลื่อมใส ได้ทำการบูชาด้วยแก้วมณีที่หงอนของตน.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดเป็นบุตรของกุฎุมพี ชื่อ มาตังคะ ในโกศลรัฐ
จึงปรากฏนามว่า มาตังคบุตรนั่นเอง. ท่านรู้เดียงสาแล้ว กลายเป็นคน
เกียจคร้าน ไม่ทำการงานอะไร ถูกญาติและคนเหล่าอื่นพากันตำหนิ คิดเห็นว่า
สมณศากยบุตรเหล่านี้ เป็นอยู่อย่างง่าย ๆ มุ่งหวังจะเป็นอยู่ง่าย ๆ เป็นผู้ที่
ภิกษุทั้งหลายทำการอบรมแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดาฟังพระธรรมเทศนา
มีศรัทธาแล้วบวช เห็นภิกษุอื่น ๆ มีฤทธิ์ ปรารถนาพลังฤทธิ์ จึงเรียน
กรรมฐานในสำนักของพระศาสดา หมั่นประกอบภาวนา แล้วได้อภิญญา 6.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า
พระชินศรีสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
ปทุมุตตระ ทรงถึงฝั่งแห่งพระธรรมทั้งหมด ทรง
ประสงค์วิเวก กำลังเสด็จไปในอากาศ ภพที่อยู่ของ
ข้าพเจ้าที่ประกอบพร้อมด้วยบุญกรรม ได้มีอยู่ที่ชาต

สระใหญ่ ที่อยู่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ ข้าพเจ้าออกจาก
ที่อยู่ไปได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนายกโลก
เหมือนดวงไฟที่ลุกโชน โชติช่วงดังแก้ววิเชียรของ
พระอินทร์ ข้าพเจ้าเมื่อไม่เห็นดอกไม้ที่จะเลือกเก็บ
จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใส ในพระองค์ผู้ทรงเป็นนายก
แล้วได้ไหว้พระศาสดา ด้วยคิดว่า เราจักบูชา ข้าพเจ้า
จึงหยิบเอาแก้วมณีบนหงอนของข้าพเจ้าแล้ว บูชา
พระองค์ผู้ทรงเป็นนายกโลก ผลของการบูชาด้วย
แก้วมณีนี้ เป็นผลที่จำเริญ พระปทุมุตตระ ศาสดา
ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรงรับเครื่องบูชา ประทับบนอากาศ
ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ขอให้ความดำริของเธอจงสำเร็จ
ขอจงได้รับความสุขอันไพบูลย์ ขอจงเสวยยศยิ่งใหญ่
ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
ตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงมีพระนามว่า ชลชุตตมะ
(ผู้สูงสุดกว่าสัตว์น้ำพญานาค) ทรงเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐที่สุด ได้เสด็จไปยังที่ ๆ ตั้งพระทัยจะทรง
วางแก้วมณีไว้ ข้าพเจ้าได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ
เสวยเทวราชสมบัติเป็นเวลา 60 กัป และได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิหลายร้อยชาติเมื่อข้าพเจ้าเป็นเทวดา
ระลึกถึงบุรพกรรม แก้วมณีเกิดแก่ข้าพเจ้า ส่องแสง
สว่างให้ข้าพเจ้า สนมนารี 86,000 นางที่ห้อมล้อม
ข้าพเจ้า มีวัตถาภรณ์แพรวพราวประดับแก้วมณีและ
แก้วกุณฑล มีขนตางอน, ยิ้มแย้ม, เอวบางร่างน้อย,

ตะโพกผาย, ห้อมล้อมข้าพเจ้าเนืองนิจ นี้เป็นผลของ
การบูชาด้วยแก้วมณี อนึ่ง สิ่งของเครื่องประดับของ
ข้าพเจ้า ตามที่ข้าพเจ้าต้องประสงค์ ทำด้วยทอง
ประดับด้วยแก้วมณีและทับทิม เป็นสิ่งที่ช่างประดิษฐ์
ดีแล้ว ปราสาทเรือนที่รื่นรมย์ และที่นอนที่ควรค่า
มาก รู้ความดำริของข้าพเจ้าแล้ว เกิดขึ้นตามที่ต้องการ
ชนเหล่าใด ได้รับการสดับตรับฟัง เป็นลาภ และเป็น
การได้อย่างดีของชนเหล่านั้น การได้นั้นเป็นบุญเขต
ของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นโอสถของปวงปาณชาติ แม้
ข้าพเจ้าก็มีกรรมที่ทำไว้ดีแล้ว ที่ได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายก ข้าพเจ้าพ้นแล้วจากวินิบาต ได้บรรลุ
พระนิพพานที่ไม่หวั่นไหว ข้าพเจ้าเข้าถึงกำเนิดใด ๆ
จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม แสงสว่างของข้าพเจ้า
จะมีอยู่ทุกเมื่อในภพนั้น ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ด้วยการบูชาด้วยแก้วมณีนั้นนั่นเอง ข้าพเจ้าจึงได้เสวย
สมบัติ แล้วได้เห็นแสงสว่างคือญาณ และได้บรรลุ
พระนิพพานที่ไม่หวั่นไหว ในกัปที่แสน แต่กัปนี้
เพราะข้าพเจ้าได้บูชาด้วยแก้วมณีไว้ จึงไม่รู้จักทุคติ
เลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยแก้วมณี. กิเลส
ทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสั่งสอนของพระ-
พุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

ก็พระเถระเป็นผู้มีอภิญญา เมื่อจะตำหนิความเกียจคร้าน สรรเสริญ
การปรารภความเพียรของตนด้วยบุคลาธิษฐาน จึงได้กล่าวคาถา 3 คาถาไว้ว่า

ขณะทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนทั้งหลาย ผู้ทอดทิ้ง
การงาน โดยอ้างเลศว่า เวลานี้ นาวนัก ร้อนนัก
เย็นมากแล้ว ส่วนผู้ใดไม่สำคัญหนาวและร้อนให้ยิ่ง
ไปกว่าหญ้า ผู้นั้นจะทำงานอยู่อย่างลูกผู้ชาย ไม่พลาด
ไปจากความสุข ข้าพเจ้าเมื่อจะเพิ่มพูนวิเวก จักแหวก
แฝกคา หญ้าดอกเลา หญ้าปล้อง และหญ้ามุงกระต่าย
ด้วยอุระ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อติสีตํ ความว่า นำความมาเชื่อมกันว่า
หนาวเหลือเกิน เพราะหิมะตกและฝนพรำเป็นต้น คนเกียจคร้านอ้างข้อนี้.
บทว่า อติอุณฺหํ ความว่า ร้อนเหลือเกิน เพราะแดดแผดเผาใน
ฤดูร้อนเป็นต้น. แม้ด้วยคำทั้ง 2 นี้ พระเถระได้กล่าวถึงเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเกียจคร้าน ด้วยอำนาจฤดู.
บทว่า อติสายํ ความว่า เย็นมากแล้ว เพราะกลางวันผ่านพ้นไป
ก็ด้วยว่าสายนั้นเทียว แม้เวลาเช้า ก็เป็นอันสงเคราะห์เข้าในคาถานี้ด้วย ด้วย
คำทั้งสองนั้น (สายํ และ ปาโต) พระเถระได้กล่าวถึงเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความ
เกียจคร้าน ด้วยอำนาจกาลเวลา.
บทว่า อิติ ความว่า ด้วยประการฉะนี้. ด้วยอิติศัพท์นี้ พระเถระ
สงเคราะห์เอาเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านเข้าไว้ด้วย ที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม (การงาน)
เป็นสิ่งที่ภิกษุ ในพระศาสนานี้ควรทำ.

บทว่า วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต ได้แก่ ผู้สลัดทิ้งซึ่งการงานที่ประกอบ.
บทว่า ขณา ได้แก่ โอกาสแห่งการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีโอกาสเกิด
ขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า มาณเว ได้แก่ สัตวโลกทั้งหลาย.
บทว่า ติณา ภิยฺโย น มญฺญติ ความว่า ไม่สำคัญเหนือไปกว่าหญ้า
คือสำคัญ (หนาว,ร้อน) เหมือนหญ้า ได้แก่ ข่มหนาวและร้อนไว้ ทำ
งานที่ตนจะต้องทำไป. บทว่า กรํ ได้แก่ กโรนฺโต แปลว่า ทำอยู่. บทว่า
ปุริสกิจฺจานิ ได้แก่ ประโยชน์ของตนและของผู้อื่น อันวีรบุรุษจะต้องทำ.
บทว่า สุขา ได้แก่ จากความสุข อธิบายว่า จากนิพพานสุข. เนื้อความ
ของคาถาที่ 3 ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถามาตังคบุตรเถรคาถา

6. ขุชชโสภิตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระขุชชโสภิตเถระ


[312] ได้ยินว่า พระขุชชโสภิตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
สมณะเหล่าใดกล่าวธรรมอันวิจิตร เป็นปกติ
เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่านขุชชโสภิตะ
ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ นี้เป็นรูปหนึ่งในจำนวนสมณะ
เหล่านั้น. สมณะเหล่าใดเป็นผู้กล่าวธรรม อันวิจิตร
เป็นปกติ เป็นพหูสูต เป็นชาวเมืองปาฏลีบุตร ท่าน
รูปนี้ ผู้มากด้วยฤทธิ์ ดุจลมพัด ยืนอยู่ที่ประตูถ้ำ เป็น