เมนู

3. พากุลเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระพากุลเถระ


[309] ได้ยินว่า พระพากุลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ใดไม่ทำงานที่จะต้องทำก่อน แต่มุ่งจะทำใน
ภายหลัง ผู้นั้น จะพลาดจากที่ที่จะให้เกิดความสุข และ
จะเดือดร้อนในภายหลัง เพราะว่าข้าพเจ้าบอกงานที่
บุคคลควรทำ ไม่บอกงานที่ไม่ควรทำ เมื่อคนทั้งหลาย
บอกงานที่ไม่ใช่กำลังทำ บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระ-
นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้แล้ว
เป็นธรรมไม่มีความโศก สำรอกแล้ว เป็นแดนเกษม
เป็นที่ดับทุกข์ แสนจะเป็นสุขหนอ.


อรรถกถาพากุลเถรคาถา


คาถาของท่านพระพากุลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ.
มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
เล่ากันมาว่า แม้ท่านพระพากุลเถระนี้ ในอดีตกาล สุดอสงไขย
แสนกัป ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อโนมทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นนั่นเอง
ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว ได้เรียนไตรเพทจบ ไม่เห็นสาระ
ในไตรเพทนั้น จึงบวชเป็นฤๅษี ด้วยคิดว่า เราจักแสวงหาประโยชนภาย-

ภาคหน้า พักอยู่ที่เชิงเขาได้อภิญญา 5 และสมาบัติ 8 อยู่มาได้ทราบการอุบัติ
ขึ้นของพระพุทธเจ้า ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนา
แล้วตั้งอยู่ในสรณะ เมื่อพระศาสดาเกิดประชวรพระนาภีขึ้น ได้นำยาจากป่า
มาถวาย ให้พระโรคสงบแล้ว ได้น้อมซึ่งบุญในการถวายยานั้นไป เพื่อ
ประโยชน์แก่ความไม่มีโรค จุติจากอัตภาพนั้น แล้วได้ไปเกิดในพรหมโลก
ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก สิ้นเวลาอสงไขยหนึ่ง ในกาล
ของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ใน
พระนครหงสาวดี เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้ดำรงตำแหน่งผู้เลิศ
กว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย ตนเองต้องการตำแหน่งนั้น ได้ตั้งประณิธาน
ไว้ สั่งสมกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปมาในสุคติอย่างเดียว ก่อนแต่พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นนั่นเอง ได้เกิดในสกุล
พราหมณ์ ในพระนครพันธุมดี บวชเป็นฤาษี ตามนัยก่อนนั่นแหละ ได้
ฌานและอภิญญา พำนักอยู่ที่เชิงเขา ได้ทราบ(ข่าว) พระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว
ได้ไปยังสำนักพระศาสดา สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ เมื่อ
ภิกษุทั้งหลายเกิดอาพาธเพราะหญ้าและดอกไม้ (ไข้ป่า) เขารักษาโรคนั้นให้
สงบ แล้วอยู่ ณ ที่นั้นตลอดชีวิต จุติจากชาตินั้นไปเกิดในพรหมโลก ท่องเที่ยว
ไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก สิ้นเวลา 91 กัป ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล
ในเมืองพาราณสี ครองเรือนอยู่เห็นวัดใหญ่เก่า ๆ วัดหนึ่งกำลังจะร้าง จึงได้
สร้างที่อยู่ทั้งหมด มีโรงอุโบสถเป็นต้น ปรุงยาทุกอย่างถวายพระสงฆ์ในวัด
นั้น สร้างกุศลตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอด
เวลาหนึ่งพุทธันดร ก่อนแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เสด็จอุบัติ
ขึ้นนั่นเอง ได้ถือกำเนิดในคฤหาสน์ของเศรษฐี ในเมืองโกสัมพี.

ท่านที่พี่เลี้ยงกำลังอาบน้ำให้ที่แม่น้ำมหายมุนา เพื่อความไม่มีโรค
ถูกปลาฮุบไปจากมือของพี่เลี้ยง เมื่อปลาตกถึงมือของพรานเบ็ด ภรรยาของ
เศรษฐีเมืองพาราณสีรับซื้อเอาไป แม้ถูกผ่าท้อง (เอาออกมา) ก็ยังมีชีวิตอยู่
นั่นเอง เพราะกำลังบุญ นางจึงรับเอาเป็นลูกเลี้ยงไว้ ได้นามว่า พากุละ
(คนสองตระกูล) เพราะเมื่อมารดาบิดาผู้ให้กำเนิด ได้ทราบประวัตินั้นแล้ว
ทวงถามบ่อย ๆ ว่า เด็กคนนี้เป็นลูกของเรา ขอจงให้ลูกแก่พวกเรา พระราชา
ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้ตั้งอยู่ โดยความเป็นทายาทของ 2 ตระกูลว่า เด็ก
คนนี้เป็นเหตุทั่วไป สำหรับตระกูลแม้ทั้ง 2 ตระกูล เจริญวัยแล้ว จึงได้เสวย
สมบัติมากมาย มีทรัพย์ 80 โกฏิ ได้สดับพระธรรมเทศนาในสำนักของพระ-
ศาสดาแล้ว กลับได้ความเชื่อ บวชแล้ว เป็นปุถุชนชั่ว 7 วัน เท่านั้น รุ่งอรุณ
วันที่ 8 ก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อปทานว่า
ในที่ไม่ไกลป่าหิมพานต์ มีภูเขาชื่อ โสภิตะ
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย ได้สร้างอาศรมไว้
อย่างดี ที่ภูเขานั้นมณฑปก็มีมาก ต้นยางทรายก็ออก
ดอกบานสะพรั่ง บนเขานั้นมะขวิดก็มีมาก เทียนดำ
เทียนขาวก็ออกดอกบานสะพรั่ง คนทิสอ, พุทรา
มะขามป้อมก็ชุกชุม สวนหย่อมก็มีหลาย น้ำเต้าก็มาก
บัวขาวออกดอกบานสะพรั่ง มะหวด, มะตูม, กล้วย
มะงั่วก็มีมาก สะท้อน อัญชัน และประยงค์ในที่นั้น
ก็ชุม โกสุม ต้นสน สะเดา ต้นไทร ต้นกระสังก็มาก
อาศรมของข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าพร้อมทั้งศิษย์

ได้อยู่ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นสยัมภู
ทรงเป็นผู้นำสัตวโลก พระนามว่า อโนมทัสสี เมื่อ
ทรงแสวงหาที่หลีกเร้น ได้เสด็จมาถึงอาศรมของ
ข้าพเจ้า เมื่อพระมหาวีระเสด็จเข้าถึงแล้ว อาพาธ
เกิดแต่ลม ได้เกิดขึ้นชั่วขณะแก่พระองค์ผู้พระนามว่า
อโนมทัสสี มีพระยศมาก ทรงเป็นนาถะของโลก
ก็ครั้งนั้น ข้าพเจ้านั่นครั้นได้เห็นความเคลื่อนไหว
แล้ว ก็กำหนดได้ว่า ความจริง พยาธิได้เกิดขั้นแก่
พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายโดยไม่สงสัย ข้าพเจ้าได้
รีบมายังอาศรม ประสงค์จะปรุงยา ในสำนักศิษย์
ของข้าพเจ้า ครั้งนั้นจึงได้นิมนต์ศิษย์ทั้งหลาย ศิษย์
ทุกคนเชื่อฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า มีคารวะประชุม
ร่วมกัน เพราะมีความเคารพในพระศาสดาของเรา
ข้าพเจ้าจึงรีบขึ้นภูเขา บันเทิงใจกับยาทุกขนาน
ข้าพเจ้าผสมยากับน้ำดื่มแล้ว (ถวาย) ได้เป็นทาสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐที่สุด เมื่อพระมหาวีร-
สรรเพชญ์ผู้เป็นโลกนารถเสวยแล้ว โรคลมของพระ-
ศรีสุคตมหาฤๅษี ก็สงบลงโดยเร็ว พระอโนมทัสสี
สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทอดพระเนตร
เห็นความกระวนกระวายที่สงบลงแล้ว จึงได้ประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดถวาย
เภสัชแก่เราตถาคต และให้พยาธิของเราสงบไป เรา
ตถาคตจักสรรเสริญผู้นั้น เมื่อเราตถาคตกล่าวอยู่ ขอ

เธอทั้งหลายจงฟังเถิด เขาจักรื่นเริงบนเทวโลก สิ้น
เวลาแสนกัป ผู้นี้จักบันเทิงใจทุกเมื่อบนเทวโลกนั้น
เพราะเสียงบรรเลง เสียงประโคม เขามาสู่มนุษยโลก
แล้ว ถูกบุญเก่าตักเตือนแล้ว จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิถึงพันชาติ ในกัปที่ 55 จักได้เป็นกษัตริย์
นามว่า อโนมะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่
เพรียบพร้อมด้วยรัตนะทั้ง 7 มีพลพยุหโยธามากมาย
ทรงชนะดินแดนชมพูทวีป เสวยไอศุริยสมบัติ แม้
เทวดาชั้นดาวดึงส์ก็กระเทือน เป็นเทวดาหรือเป็น
มนุษย์ ก็จักมีอาพาธน้อย เว้นความยึดมั่นถือมั่นแล้ว
จักข้ามพยาธิในโลกได้ตลอดกัป นับไม่ถ้วน แต่กัปนี้ไป
เขาจักได้เป็นโอรสผู้เป็นธรรมทายาท ที่เนรมิตขึ้น
โดยธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสมภพใน
ตระกูลโอกกากราช เป็นศาสดาในโลก พระนามว่า
โคดม โดยพระโคตร จักดับกิเลสเป็นผู้หาอาสวะมิได้
เพราะกำหนดรู้อาสวะทั้งมวล ครั้นเผากิเลสแล้ว จัก
ข้ามกระแสตัณหาไป เป็นสาวกของพระศาสดา มี
นามว่า พากุละ พระสมณโคดม ผู้สูงสุดแห่งศากยวงศ์
ทรงทราบประวัติทั้งหมดนี้แล้ว จักประทับนั่งในหมู่
พระสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ พระสยัมภู
ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี นายกโลก เมื่อ
ทรงตรวจดูที่วิเวก ได้เสด็จเข้ามายังอาศรมของ

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าให้พระมหาวีรสรรเพชญ์ นายกโลก
ผู้เสด็จเข้ามาแล้ว ให้พอพระทัยด้วยโอสถทุกอย่าง ขอ
พระองค์จงทรงพอพระทัยด้วยมือ (ของข้าพระองค์)
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมดีแด่พระองค์ไว้ ความสมบูรณ์แห่ง
พืช ข้าพเจ้าได้ทำไว้แล้วในบุญเขตที่ดี ข้าพเจ้าไม่อาจ
จะให้หมดสิ้นไปได้เลย เพราะในครั้งนั้น ข้าพเจ้าได้
ทำกรรมไว้ดีแล้ว เป็นลาภของเรา เป็นโชคดีของเรา
ที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเป็นนายก ด้วยผล
กรรมที่เหลือ ข้าพเจ้าจึงได้ลุถึงทางที่ไม่หวั่นไหว
พระสมณโคดมผู้สูงสุดแห่งศากยวงศ์ ได้ทรงทราบ
เรื่องทั้งหมดนี้แล้ว ได้ประทัปนั่งในหมู่สงฆ์ ทรงตั้ง
ข้าพเจ้าไว้ในตำแหน่งเอตัคคะ ข้าพเจ้าได้ทำกรรม
อันใดไว้ในครั้งนั้น เพราะกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่
รู้จักทุคติตลอดกัป นับไม่ถ้วนนับถอยหลังแต่กัปนี้ไป
นี้เป็นผลแห่งเภสัช. กิเลสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เผาแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติแล้ว.

อนึ่ง ครั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเป็นผู้อัน
พระศาสดา ผู้กำลังทรงตั้งพระสาวกทั้งหลายของพระองค์ไว้ในฐานันดร ตาม
ลำดับได้ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้มีอาพาธน้อย เมื่อจะ
พยากรณ์อรหัตผล ด้วยโอวาทที่สำคัญแก่ภิกษุทั้งหลาย ท่ามกลางสงฆ์ ใน
สมัยปรินิพพาน จึงได้กล่าวคาถาไว้ 3 คาถา ว่า

ผู้ใดไม่ทำงานที่จะต้องทำก่อน แต่มุ่งจะทำใน
ภายหลัง ผู้นั้นจะพลาดจากเหตุที่จะให้เกิดสุข และจะ
เดือดร้อนภายหลัง เพราะว่า ข้าพเจ้าบอกงานที่บุคคล
ควรทำ ไม่บอกงานที่ไม่ควรทำ เมื่อคนทั้งหลาย
บอกงานที่ไม่ใช่กำลังทำ บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระ-
นิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว เป็น
ธรรมไม่มีความโศก สำรอกแล้ว เป็นแดนเกษม เป็น
ที่ดับทุกข์ แสนจะเป็นสุขหนอ.

บรรดบทเหล่านั้น บทว่า โย ปุพฺเพ กรณียานิ ปจฺฉา โส
กาตุมิจฺฉติ
(ผู้ไม่ทำงานที่จะต้องทำในตอนต้น ภายหลังประสงค์จะทำ)
ความว่า ผู้ใดเมื่อก่อน คือ เมื่อเวลาก่อนแต่ที่ชราและโรคเป็นต้น จะครอบงำ
นั่นเอง ไม่ทำงานที่ควรทำ ที่จะนำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ตน
ภายหลังแล คือ เลยเวลาที่จะต้องทำไปแล้วจึงอยากทำ. คำว่า โส เป็นเพียง
นิบาต. แต่ในกาลนั้น เขาไม่อาจจะทำได้ ไม่อาจทำได้ เพราะว่าเขาถูก
ชราและโรคเป็นต้น ครอบงำแล้ว.
บทว่า สุขา โส ธํสเต ฐานา ปจฺฉา จ มนุตปฺปติ (ผู้นั้น
จะพลาดจากที่ที่จะให้เกิดความสุขและจะเดือดร้อนภายหลัง) ความว่า บุคคล
นั้นจะเสื่อมจากที่ที่เป็นสุข คือจากสวรรค์ และจากนิพพาน เพราะอุบายที่จะ
ให้ถึงสถานที่นั้น ตนยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น ทั้งจะเดือดร้อน คือถึงความวิปฏิสาร
ภายหลัง โดยนัยมีอาทิว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีไว้.
อักษรทำการเชื่อมบท. ก็พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ข้าพเจ้าทำกิจ
ที่ควรจะทำแล้วนั่นแหละ จึงบอกท่านทั้งหลายอย่างนี้ ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าว
คาถาที่ 2 ว่า ยญฺหิ กยิรา เป็นต้นไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริชานนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย
รู้เด็ดขาดว่า คนนี้มีเท่านี้ อธิบายว่า ไม่รู้มากไปกว่านี้. ด้วยว่า คนพูด
อย่างใด ทำอย่างนั้นเท่านั้น ย่อมงดงามโดยอำนาจสัมมาปฏิบัติ ไม่ใช่งาม
โดยอย่างอื่นจากสัมมาปฏิบัตินั้น บัดนี้ เพื่อจะแสดงเนื้อความที่ท่านได้กล่าว
มาแล้ว โดยตรงคือกิจที่จะต้องทำโดยทั่วไปไว้โดยสรุป พระเถระจึงได้กล่าว
คาถาที่ 3 ไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สุสุขํ วต ดังนี้.
คาถาที่ 3 นั้น มีเนื้อความว่า พระนิพพานที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนานว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้พระธรรมทั้งมวล ด้วยพระองค์เอง
โดยชอบ ทรงแสดงไว้แล้ว ชื่อว่าไม่มีความเศร้าโศก เพราะไม่มีเหตุแห่ง
ความเศร้าโศก โดยประการทั้งปวง ชื่อว่าสำรอกแล้ว เพราะสำรอกราคะ
เป็นต้นออกไปแล้ว เป็นสุขดีจริงหนอ เพราะเหตุไร ? เพราะพระนิพพาน
เป็นที่ดับไปโดยไม่มีเหลือ คือ เป็นที่สงบระงับไป โดยส่วนเดียวนั่นเอง แห่ง
วัฏทุกข์ทั้งสิ้น.
จบอรรถกถาพากุลเถรคาถา

4. ธนิยเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระธนิยเถระ


[310] ได้ยินว่า พระธนิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ถ้าภิกษุมุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อ
ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ ไม่ควรดูหมิ่นจีวร ปานะและ
โภชนะที่เขาถวายเป็นของสงฆ์ ถ้าหากภิกษุมุ่งความ
เป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรงชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ
ควรใช้ที่นอนและที่นั่ง (ง่าย ๆ) เหมือนงูอาศัยรูหนู
ฉะนั้น ถ้ามุ่งความเป็นสมณะ ควรปรารถนาเพื่อดำรง
ชีวิตอยู่อย่างง่าย ๆ พอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ และ
ควรเจริญธรรมอย่างเอกด้วย.


อรรถกถาธนิยเถรคาถา


คาถาของท่านพระธนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุขญฺจ ชีวิตุํ อิจฺเฉ.
มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้ท่านพระธนิยเถระ ก็ได้ทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
เมื่อสั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ ได้บังเกิดในคฤหาสน์ของผู้มีสกุล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า วิปัสสี มีนามว่า ธนิยะ เจริญวัย
แล้ว เลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างหม้อ. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งที่ศาลา