เมนู

อรรถกภาอชินเถรคาถา


คาถาของท่านพระอชินเถระ เริ่มต้นว่า อปิ เจ โหติ เตวิชฺโช.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในโลกที่ว่างจาก
พระพุทธเจ้า (สุญญกัป) บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว ไปป่าด้วยกรณียกิจบางอย่าง
เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า สุจินติตะ ในป่านั้น ถูกอาพาธเบียดเบียน
บีบคั้นนั่งอยู่แล้ว จึงเข้าไปหาไหว้แล้ว เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส ได้นำเอาขี้ตะกอน
เปรียงเข้าไปถวาย เพื่อประกอบยา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญแล้ว ท่องเที่ยว
เวียนไปมาอยู่ในสุคติภพเท่านั้น ถือปฏิสนธิในเรือนของพราหมณ์ผู้ยากจน
คนหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ในเวลาคลอด คนทั้งหลาย
รับเขาไว้ด้วยหนังเสือ ด้วยเหตุนั้น จึงขนานนานเขาว่า อชินะ นั่นแล.
เขาเกิดในตระกูลที่ยากจน เพราะไม่ได้กระทำกรรมอันเป็นเหตุยังโภคะ
ให้เป็นไป แม้เจริญวัยแล้ว ก็ยังเป็นผู้มีน้ำและข้าวไม่บริบูรณ์ เที่ยวไป
เห็นพุทธานุภาพ ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระเชตวันมหาวิหาร
เป็นผู้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา 6
ต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระผู้มีภาคะ ผู้มีเหตุอันดำริดีแล้ว เป็นเชษฐ-
บุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน เข้าไปสู่ป่าใหญ่
ถูกอาพาธอันเกิดแต่ลมเบียดเบียน เราเห็นแล้ว จึง

ทำจิตให้เลื่อมใส นำเอาขี้ตะกอนเปรียงเข้าไปถวาย
เพราะเราได้กระทำกุศลและได้บูชาพระพุทธเจ้าเนืองๆ
แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้ มหาสมุทรทั้ง 4 และพื้นปฐพี
ที่น่ากลัว ผ ซึ่งจะประมาณมิได้ นับไม่ถ้วนนี้ ย่อม
สำเร็จเป็นเปรียงขึ้นได้ สำหรับ เรา น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด
ดังจะรู้ความดำริของเรา เกิดขึ้น ตอไม้ที่งอกขึ้น แต่
แผ่นดินในทิศทั้ง 4 ดังจะรู้ความดำริของเรา ย่อมเกิด
เป็นต้นกัลปพฤกษ์ขึ้น เราได้เป็นจอมเทวดาเสวยราช-
สมบัติในเทวโลก 50 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
50 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดย
คณานับไม่ถ้วน ในกัปที่ 94 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ให้
ทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งขี้ตะกอนเปรียง. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ
แล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระ แม้บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็เป็นผู้มีลาภน้อย ไม่ปรากฏ
ชื่อเสียง เพราะผลแห่งกรรมที่มีในก่อน แม้อุทเทสภัตรและสลากภัตรที่ถึงท่าน
ก็ต่ำช้าทั้งนั้น ก็ภิกษุและสามเณรทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ย่อมดูหมิ่นท่านว่า
เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง เพราะผลแห่งกรรมนั่นแล พระเถระเมื่อจะยังภิกษุเหล่านั้น
ให้สลดใจ ได้กล่าวคาถา 2 คาถา ความว่า
ถึงแม้บุคคลจะมีวิชชา 3 ละมัจจุราชแล้ว เป็นผู้
หาอาสวะมิได้ คนพาลทั้งหลายผู้ไม่มีความรู้ ก็ย่อม
ดูหมิ่นบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ส่วนบุคคลใด

ในโลกนี้ เป็นผู้ได้ข้าวและน้ำ ถึงแม้ว่าบุคคลนั้นจะ
เป็นคนชั่วช้าเลวทราม ก็เป็นที่สักการะนับถือของคน-
พาลทั้งหลาย
ดังนี้.
ศัพท์ว่า อปิ ในคาถานั้น เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ยกย่องสรรเสริญ
ศัพท์ว่า เจ ใช้ในการคาดคะเน.
บทว่า โหติ แปลว่า ย่อมเป็น. บุคคลชื่อว่า เตวิชฺโช เพราะ
เป็นผู้มีวิชชา 3.
ชื่อว่า มจฺจุหายี เพราะละมัจจุได้. ชื่อว่า ไม่มีอาสวะ เพราะไม่มี
อาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ถึงแม้ว่า บุคคล
จะเป็นผู้ชื่อว่า มีวิชชา 3 เพราะบรรลุวิชชา 3 เหล่านี้ คือ ทิพยจักขุญาณ
บุพเพนิวาสญาณ (และ) อาสวักขยญาณ ต่อแต่นั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้น สิ้นไปรอบแล้วโดยประการทั้งปวง
ชื่อว่า ละมัจจุแล้ว เพราะไม่มีความตาย โดยที่ไม่ต้องถือเอาภพใหม่อีกต่อไป
แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น คนพาลทั้งหลาย คือบุคคลผู้มีปัญญาทราม ย่อมดูหมิ่น
บุรุษผู้สูงสุดนั้น แม้ถึงได้บรรลุประโยชน์ของตน ที่กุลบุตรทั้งหลาย
ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต มุ่งหมายโดยชอบที่เดียว ว่าเป็นผู้ไม่มี
ชื่อเสียง ไม่มีนามปรากฏ เพราะไม่มีลาภที่เกิดขึ้นว่า เป็นผู้กล่าวสอนเรื่อง
ธุดงค์ เป็นพหูสูต เป็นพระธรรมกถึก. เพราะเหตุไร ? เพราะไม่รู้ คือ
เพราะเหตุแห่งการไม่รู้ ท่านแสดงการไม่รู้คุณทั้งหลายนั่นแลว่าเป็นเหตุใน
ข้อนั้น.
พระเถระเมื่อจะแสดงว่า ก็คนพาลทั้งหลายย่อมดูหมิ่นแม้ผู้ที่ควร
สรรเสริญ โดยที่เป็นคนหนักในลาภ (เห็นแก่ได้) เพราะไม่รู้คุณทั้งหลาย

ฉันใด ก็ย่อมสรรเสริญแม้ผู้ที่ควรดูหมิ่นอย่างนี้ โดยที่เป็นคนหนักในลาภ
เพราะไม่รู้คุณทั้งหลายฉันนั้น ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาที่ 2 ไว้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 2 ดังต่อไปนี้ บทว่า โย เป็นการกล่าว
แสดงถึงความไม่แน่นอน. จ ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในพยดิเรก. ด้วย ศัพท์นั้น
ส่องให้รู้ ถึงความต่างกันที่กำลังกล่าวถึงบุคคลนี้อยู่นั่นแหละ ว่าแผกจากบุคคล
ตามที่กล่าวแล้ว ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอวธารณะ (จำกัดความให้แน่ชัด).
บทว่า อนฺนปานสฺส เป็นเพียงตัวอย่าง. บทว่า ลาภี แปลว่า
มีลาภ.
บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้. ชื่อว่า บุคคล เพราะเต็มและ
กลืนกินสัตตาวาส (ภพเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์) นั้น ๆ ด้วยชราและมรณะ.
บทว่า ปาปธมฺโม ได้แก่ ธรรมอันลามก. ก็ในคาถาที่ 2 นี้
มีอรรถาธิบายว่า ส่วนบุคคลใด ย่อมเป็นผู้มีปกติได้เพียงปัจจัย มีจีวรเป็นต้น
เท่านั้น ไม่ได้มรรคผลมีฌานเป็นต้น บุคคลนั้นแม้ถึงจะเป็นผู้มีธรรมอันเลว
โดยความเป็นผู้ทุศีล เพราะมีความปรารถนาลามก แต่ก็ยังเป็นผู้อันคนพาล
ทั้งหลายในโลกนี้ สักการะ เคารพ เพราะความเป็นผู้หนักในลาภ.
จบอรรถกถาอชินเถรคาถา

6. เมฬชินเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระเมฬชินเถระ


[263] ได้ยินว่า พระเมฬชินเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อใดเราได้ฟังธรรมของพระศาสดาผู้ทรงแสดง
อยู่ เมื่อนั้น เราไม้รู่สึกมีความสงสัย ในพระศาสดาผู้รู้
ธรรมทั้งปวง ผู้อันใคร ๆ ชนะไม่ได้ ผู้นำหมู่ แกล้ว-
กล้าเป็นอันมาก ประเสริฐสุดกว่าสารถีทั้งหลาย หรือ
ว่าความสงสัยในมรรคปฏิปทา ย่อมไม่มีแก่เรา.


อรรถกถาเมฬชินเถรคาถา


คาถาของท่านพระเมฬชินเถระ เริ่มต้นว่า ยทาหํ ธมฺมมสฺโสสึ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผล
อาโมทะ มีรสอร่อย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ กรุงพาราณสี
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า เมฬชินะ ถึงความสำเร็จในศิลปวิทยา