เมนู

ทุกนิบาตอรรถวรรณนา


วรรควรรณนาที่ 1


อรรถกถาอุตตรเถรคาถา


พึงทราบวินิจฉัยในทุกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-
คาถาของท่านพระอุตตรเถระ เริ่มต้นว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นีโจ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ. เขาเป็นวิชาธร ท่องเที่ยวไป
โดยอากาศ.
ก็โดยสมัยนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา จึงเปล่งพระ-
พุทธรังสีมีวรรณะ 6 ประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง เขาเหาะไปโดยอากาศ
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ลงจากอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยดอกกรรณิการ์ อันสะอาดบริสุทธิ์ด้วยดี ไพบูลย์ ด้วยพุทธานุภาพ
(บันดาลให้) ดอกไม้ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในเบื้องบนของพระศาสดา โดยอาการ
ของฉัตร ด้วยพุทธานุภาพนั้น ทำให้เขามีจิตเลื่อมใสยิ่งกว่าประมาณ ต่อมา
กระทำกาละแล้ว เกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติอันโอฬาร ดำรงอยู่ใน
ภพดาวดึงส์นั้นจนตลอดอายุ ต่อแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ในพระนครราชคฤห์ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ ได้มีนามว่า อุตตระ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จใน

วิชชาของพราหมณ์ เป็นผู้เกิดมาทำโลกให้เจริญโดยรูป โดยวิชา โดยวัย
และโดยศีลาจารวัตร. มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่อว่า วัสสการะ เห็นสมบัติ
นั้นของเขาแล้ว เป็นผู้มีความประสงค์จะยกธิดาของตนให้ แจ้งความประสงค์
ของตนแล้ว. เขาปฏิเสธความหวังดีนั้น เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัย น้อมไป
ในพระนิพพาน เข้าไปนั่งใกล้พระธรรมเสนาบดี ฟังธรรมในสำนักตามเวลา
ที่เหมาะสม ได้เป็นผู้มีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติพระเถระ.
ก็โดยสมัยนั้น อาพาธบางอย่างเกิดแก่พระเถระ. เพื่อจะจัดยาถวาย
พระเถระ อุตตรสามเณร จึงถือเอาบาตรจีวรออกจากวิหารไปแต่เช้าทีเดียว
วางบาตรไว้ที่ริมฝั่งทะเลสาบ ในระหว่างทางเดินไปใกล้น้ำแล้วล้างหน้า.
ลำดับนั้น โจรทำลายอุโมงค์คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่ติดตาม หนีออกจากพระนคร
โดยทางประตูด้านหน้านั่นแหละ ใส่ห่อรัตนะที่ตนลักมาไว้ในบาตรของสามเณร
แล้วหนีไป.
สามเณรเดินเข้าไปใกล้บาตร พวกราชบุรุษที่ติดตามโจรมา เห็นห่อ
ของในบาตรของสามเณร จึงกล่าวว่า สามเณรนี้เป็นโจร สามเณรนี้ประพฤติ
เป็นโจร แล้วจับสามเณรมัดมือไพล่หลัง ส่งให้วัสสการพราหมณ์. ก็ใน
ครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งผู้วินิจฉัยคดีของพระราชา
สั่งการลงโทษประหารและทรมานได้. เขาไม่ยอมไต่สวน ทวนพยานเลย
สั่งให้เอาหลาวเสียบประจานสามเณรทั้งเป็น ๆ เพราะผูกอาฆาตว่า เมื่อก่อน
สามเณรไม่เอื้อเฟื้อคำของเรา ไปบวชในลัทธินอกรีตนอกรอย.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูความแก่รอบแห่งญาณ
ของอุตตรสามเณรแล้ว เสด็จไปสู่ที่นั้น ทรงวางพระหัตถ์ ซึ่งมีพระองคุลียาว
อ่อนนุ่ม คลุมด้วยเปลวรัศมี ประดุจสายธารทองคำสีแดงธรรมชาติ ที่กำลัง

หลั่งอยู่ เพราะประกอบด้วยรัศมีสีขาว แพรวพราวไปด้วยแสงแห่งแก้วมณี
ที่นิ้วมืออันสั่นพริ้วอยู่บนศีรษะของอุตตรสามเณร แล้วตรัสว่า ดูก่อนอุตตระ
นี้เป็นผลของกรรมเก่า เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ เธอต้องทำความอดกลั้น ด้วยกำลัง
แห่งการพิจารณา ในผลของกรรมนั้น ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมตามสมควร
แก่อัธยาศัย. อุตตรสามเณรกลับได้ปีติ และปราโมทย์อันโอฬาร เพราะความ
เป็นผู้มีความเลื่อมใส และโสมนัสอันเกิดแล้ว ด้วยสัมผัสแห่งพระหัตถ์ของ
พระศาสดา คล้ายกับทรงราดรดด้วยน้ำอมฤต ก้าวขึ้นสู่วิปัสสนามรรค ตาม
ที่สั่งสมไว้ ยังกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปแล้ว ตามลำดับแห่งมรรคในทันใดนั้นเอง
เพราะถึงความแก่รอบแห่งญาณ และเพราะเทศนาอันงดงามไพเราะของพระ
ศาสดา. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า "สุเมธะ"
มีพระมหาปุริสลักษณะ อันประเสริฐ 32 ประการ
พระองค์ทรงประสงค์ความสงัด จึงเสด็จไปป่า
หิมพานต์ พระมุนีผู้เลิศ ประกอบด้วยพระกรุณาเป็น
อุดมบุรุษ เสด็จถึงป่าหิมพานต์แล้ว ประทับนั่งขัด-
สมาธิ ครั้งนั้น เราเป็นวิทยาธร สัญจรไปในอากาศ
เราถือตรีศูล ซึ่งกระทำไว้ดีแล้ว เหาะไปในอัมพร
พระพุทธเจ้าส่องสว่างอยู่ในป่า เหมือนกับไฟบนยอด
ภูเขา เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ และเหมือนต้น
พระยารังที่มีดอกบาน เราออกจากป่าเหาะไปตาม
พระรัศมีของพระพุทธเจ้า เห็นคล้ายกับสีของไฟที่
ไหม้ไม้อ้อ ยังจิตให้เลื่อมใส เราเลือกเก็บดอกไม้อยู่

ได้เห็นดอกกรรณิการ์ที่มีกลิ่นหอม จึงเก็บเอามา 3
ดอก บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยอานุภาพ
แห่งพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น ดอกไม้ของเราทั้ง 3 ดอก
เอาขั้วขึ้น เอากลีบลง ทำเป็นร่มเงาบังพระศาสดา
ด้วยกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์
จำนง เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
วิมานของเราสูง 60 โยชน์ กว้าง 30 โยชน์ อันบุญ
กรรมทำให้อย่างสวยงาม ในดาวดึงส์นั้นปรากฏชื่อว่า
กรรณิการ์ แล่งธนูตั้งพันลูกคลีหนังตั้งร้อย คนถือธง
สำเร็จด้วยสีเขียวใบไม้ มีประตูหน้าต่างตั้งแสนปรากฏ
ในปราสาทของเรา บัลลังก์สำเร็จด้วยทองก็มี สำเร็จ
ด้วยแก้วมณีก็มี สำเร็จด้วยแก้วทับทิมก็มี สำเร็จด้วย
แก้วผลึกก็มี ตามแต่จะต้องการปรารถนา ที่นอนมี
ค่ามาก ยัดด้วยนุ่น มีผ้าลวดลายรูปสัตว์ต่าง ๆ มี
ราชสีห์เป็นต้น ผ้าลาดมีชายเดียว มีหมอนพร้อม
ปรากฏว่ามีอยู่ในปราสาทของเรา ในเวลาที่เรา
ปรารถนาจะออกจากภพ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก
ย่อมเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมไป เราสถิตอยู่ภายใต้
ดอกไม้ เบื้องบนเรามีดอกไม้เป็นเครื่องกำบัง สถานที่
โดยรอบ 100 โยชน์ ถูกคลุมด้วยดอกกรรณิการ์
ดนตรีหกหมื่น บำรุงเราทั้งเช้าและเย็น ไม่เกียจคร้าน
แวดล้อมเราเป็นนิตย์ ตลอดคืนตลอดวัน เรารื่นรมย์

ด้วยการฟ้อน การขับและด้วยกังสดาล เครื่องประโคม
เป็นผู้มักมากด้วยกาม บันเทิงอยู่ด้วยความยินดีในการ
เล่น ครั้งนั้น เราบริโภคและดื่มในวิมานนั้น บันเทิง
อยู่ในไตรทศ เราพร้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสร บันเทิง
อยู่ในวิมานอันสูงสุด เราได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก
500 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 300 ครั้ง และ
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยคณานับ
มิได้ เมื่อเรายังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม
ได้โภคทรัพย์มากมาย ความบกพร่องในโภคทรัพย์
ไม่มีแก่เราเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเกิดใน
สองสกุล คือ ในสกุลกษัตริย์ หรือสกุลพราหมณ์
ย่อมไม่เกิดในสกุลต่ำทราม นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
ยานช้าง ยานม้า และวอคานหาบ นี้เราได้ทุกสิ่ง
ทุกอย่างทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา หมู่ทาส
หมู่ทาสี และนารีที่ประดับประดาแล้ว เราได้ทุกอย่าง
ทีเดียว นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ผ้าแพร ผ้าขนสัตว์
ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชา ผ้าใหม่ ผลไม้ใหม่ โภชนะมีรสอันเลิศ
ใหม่ ๆ เราได้ทุกชนิด นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา คำว่า
เชิญเคี้ยวสิ่งนี้ เชิญบริโภคสิ่งนี้ เชิญนอนบนที่นอนนี้
เราได้ทั้งนั้น นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราเป็นผู้อันเขา
บูชาในที่ทุกสถาน เรามียศใหญ่ยิ่ง มีศักดิ์ใหญ่ มี

บริษัทไม่แตกแยกทุกเมื่อ เราเป็นผู้อุดมกว่าหมู่ญาติ
นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน
ไม่มีความกระวนกระวาย อนึ่ง ทุกข์ทางจิต ย่อมไม่มี
ในหทัยของเราเลย เราเป็นผู้มีผิวพรรณดังทองคำ
เที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ความเป็นผู้มีวรรณะผิด-
แผกไป เราไม่รู้จักเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา เราอัน
กุศลมูลตักเตือนแล้ว จึงจุติจากเทวโลก มาเกิดใน
สกุลพราหมณ์ มหาศาลอันมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี
ละกามคุณ ออกบวชเป็นบรรพชิต เรามีอายุได้ 7
ขวบแต่กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต พระพุทธเจ้าผู้มี
ปัญญาจักษุ ทรงทราบคุณของเรา จึงรับสั่งให้เรา
อุปสมบท เรายังหนุ่มก็ควรบูชา นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา ทิพยจักษุของเราบริสุทธิ์ เราฉลาดในสมาธิ ถึง
ความบริบูรณ์แห่งอภิญญา นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา
เราบรรลุปฏิสัมภิทา ฉลาดหลักแหลมในอิทธิบาท
ถึงความบริบูรณ์ในพระสัทธรรม นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา ในกัปที่ 30,000 เราได้บูชาพระพุทธเจ้าใด ด้วย
การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธ-
บูชา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็อุตตรสามเณร เป็นผู้มีอภิญญา 6 ลุกขึ้นจากหลาว แล้วยืนอยู่ใน
อากาศ แสดงปาฏิหาริย์ ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น มหาชนได้เกิดมีจิต

อัศจรรย์ในปรากฏการณ์ที่ไม่เคยมี. แผล (เก่า) ของท่านได้ผุดขึ้นในทันใด
นั่นเอง. ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ท่านเสวยทุกข์เช่นนั้นอยู่
สามารถขวนขวายวิปัสสนาได้อย่างไร ? เมื่อจะแสดงความว่า ดูก่อนอาวุโส
จะป่วยกล่าวไปใย ถึงโทษในสงสารของเรา ก็สภาพของสังขารทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายก็เห็นดีแล้ว เราแม้เสวยทุกข์เช่นนั้น อยู่อย่างนี้ ก็ยังสามารถเจริญ
วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตได้ จึงกล่าวคาถา 2 คาถาว่า
ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี แม้สังขารที่เที่ยงก็ไม่มี
ขันธ์เหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป เรารู้โทษ
อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ เราสลัดตน
ออกจากกามทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว

ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตฺถิ โกจิ ภโว นิจฺโจ ความว่า
ภพทั้งหลาย แยกประเภทออกไปอย่างนี้ คือ กรรมภพ อุปปัตติภพ กามภพ
รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ
จตุโวการภพ (และ) ปัญจโวการภพ. แม้ในบรรดาภพเหล่านั้น ภพอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่จำแนกออกไปอย่างนี้ว่า เลว ปานกลาง อุกฤษฏ์ มีอายุยืน
มากด้วยความสุข มีสุขและทุกข์คลุกเคล้ากันไป ดังนี้ จะเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง
มีอันไม่ต้องเพ่งดูเป็นธรรมดา ไม่มีเลย เพราะต้องอาศัยเหตุนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น
ประกอบความว่า ก็เพราะการณ์เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น แม้สังขารทั้งหลาย
จะชื่อว่าเที่ยงไม่มีเลย.
สังขารทั้งหลายนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นของเกิดแล้ว โดยการกำหนด
หมายรู้ เพราะอาศัยเบญจขันธ์ อันได้นามว่าสังขาร เพราะเหตุที่ปัจจัยทั้งหลาย

ปรุงแต่งแล้ว ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเพราะชราและมรณะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
ไม่เที่ยง มีการแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จริงอย่างนั้น วิปริณามธรรมเหล่านั้น
ท่านจึงกล่าวว่า สังขาร ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ขันธ์เหล่านั้น
ย่อมเวียนเกิดและเวียนดับไป โดยมีอธิบายว่า เบญจขันธ์ที่ท่านกล่าวไว้โดย
ปริยายแห่งภพ และโดยปริยายแห่งสังขารเหล่านั้น ย่อมเวียนเกิดไปตามปัจจัย
และเกิดแล้ว ถูกชราเบียดเบียนบีบคั้น ย่อมเคลื่อน คือ แตกสลายไป.
ด้วยบทว่า อุปฺปชฺชนฺติ จ เต ขนฺธา จวนฺติ อปราปรํ นี้
พระเถระแสดงความหมายว่า เบญจขันธ์ที่ได้ชื่อว่า ภพก็ดี สังขารก็ดี มีการ
เกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นสภาพ. เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจร ยกเบญจขันธ์
ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้วพิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง 3 ย่อมปรากฏชัด
ดุจถูกไฟเผาแล้ว จะป่วยกล่าวไปใยถึงสังขารทั้งหลาย ที่พระโยคาวจรรู้อาทีนพ
คือ โทษในเบญจขันธ์ที่ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ว่าเป็นเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว
ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นแล้วโดยเป็นอนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏชัดกว่า
เพราะความที่สังขารเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใด
ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.
เพราะเหตุที่ เมื่อพระโยคาวจรยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ แล้ว
พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ภพแม้ทั้ง 3 ย่อมปรากฏว่ามีภัยเฉพาะหน้าดุจเรือน
ที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ภเวนมฺหิ อนตฺถิโก (เรารู้โทษ
อย่างนี้แล้ว จึงไม่มีความต้องการด้วยภพ). ประกอบความว่า ก็แม้เล่ห์เหลี่ยม
ที่มุ่งหมายในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำตนให้หมุนกลับจากภพ
ทั้งหลายได้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น พระเถระ จึงกล่าวว่า
นิสฺสโฏ สพฺพกาเมหิ เราเป็นผู้สลัดตนออกแล้วจากกามทั้งปวงดังนี้อธิบายว่า

เราเป็นผู้มีจิตหมุนกลับจากกามทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ (เห็น) เป็นเหมือนของ
มนุษย์.
บทว่า ปตฺโต เม อาสวกฺขโย ความว่า เพราะเหตุที่เราเป็นผู้มี
สังขารอันขจัดขัดเกลาดีแล้ว เห็นโทษในภพทั้งหลายโดยชัดเจน และมีใจ
ไม่ข้องแวะในกามทั้งหลาย ฉะนั้น ถึงแม้เราจะนั่งอยู่แล้วบนปลายหลาว เราก็
ได้บรรลุ คือ ถึงทับความสิ้นไปแห่งอาสวะ อันได้แก่พระนิพพาน และพระ-
อรหัตผล. พระเถระ ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ก็เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
เหล่าอื่น ผู้มีใจยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ พึงกระทำความอุตสาหะเพื่อ
บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะนั้น.
จบอรรถกถาอุตตรเถรคาถา

2. ปิณโฑลภารทวาชเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ


[259] ได้ยินว่า พระปิณโฑลภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่าง
นี้ว่า
ชีวิตของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไป โดยไม่สมควร
อาหารไม่ได้ทำจิตให้สงบ เราเห็นว่า ร่างกายจะดำรง
อยู่ได้ เพราะอาหาร จึงได้เที่ยวแสวงหาอาหารโดย
ทางที่ชอบ.
นักปราชญ์มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าว
การไหว้ และการบูชาในตระกูลทั้งหลายว่า เป็น
เปลือกตม เป็นลูกศรอันละเอียด ถอนขึ้นได้ยาก
สักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก.