เมนู

7. โสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ


[294] ได้ยินว่า พระโสณโปฏิริยบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้
อย่างนี้ว่า
ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่
เป็นราตรี เพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็น
ราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้วเพื่อประกอบความเพียร.

ครั้นพระเถระได้ฟังดังนั้น ก็สลดใจ ยังหิริโอตตัปปะให้เข้าไปตั้งไว้
แล้วอธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์ กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้กล่าวคาถาที่ 2
นี้ว่า
ถ้าช้างพึงเหยียบเราผู้ตกลงจากคอช้าง เราตาย
เสียในสงครามประเสริฐกว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะประ-
เสริฐอะไร.

อรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา


คาถาของท่านพระโสณโปฏิริยบุตรเถระ เริ่มต้นว่า น ตาว สุปิตุํ
โหติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ เป็นพรานป่า เลี้ยงชีพ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-

นามว่า สิขี วันหนึ่ง เห็นพระศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายผลมะหาด
แด่พระศาสดา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นบุตรของนายบ้าน ชื่อว่า โปฎิริยะ ในเมืองกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้
ได้มีนามว่า โสณะ. เขาเจริญวัยแล้ว ได้เป็นเสนาบดี ของพระราชา พระ-
นามว่า ภัตทิยะ สากิยะ.
ครั้นต่อมา เมื่อพระเจ้าภัททิยะ ทรงผนวชแล้วโดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง เสนาบดี ก็บวชตาม ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่า แม้พระราชาก็ยังทรง
ออกผนวช การอยู่ครองเรือนของเราจะมีประโยชน์อะไร ? ก็ครั้นบวชแล้ว
เป็นผู้มีการนอนหลับเป็นที่มายินดี ไม่หมั่นประกอบภาวนา พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประทับอยู่ ในอนุปิยอัมพวันวิหาร ทรงแผ่โอภาสของพระองค์ไป ยังสติ
ให้เกิดแก่พระโสณโปฏิริยเถระ ด้วยพระโอภาสนั้น เมื่อจะทรงโอวาทพระเถระ
ด้วยพระคาถานี้ ได้ตรัสพระคาถา 2 คาถา ความว่า
ราตรีอันประดับด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่
เป็นราตรีเพื่อจะหลับโดยแท้ ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็น
ราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนาแล้ว เพื่อประกอบความเพียร.
ถ้าช้างพึงเหยียบเรา ผู้ตกลงจากคอช้าง เราตาย
เสียในสงคราม ประเสริฐกว่า แพ้แล้ว เป็นอยู่จะ
ประเสริฐอะไร
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตาว สุปิตุํ โหติ รตฺติ นกฺขตฺ-
มาลินี.
ความว่า เมื่อภิกษุผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ได้ขณะที่ 9 อันเว้นจาก
ขณะที่ไม่ใช่กาล 8 อย่าง ตั้งอยู่แล้ว ยังทำพระอรหัตให้อยู่ในเงื้อมมือไม่ได้

ตราบใด ตราบนั้น ราตรีอันประกอบด้วยฤกษ์มาลินีเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นราตรี
เพื่อจะหลับโดยแท้ คือไม่ใช่เวลาจะมามัวนอนหลับ.
อีกประการหนึ่งแล ราตรีเช่นนี้ ย่อมเป็นราตรีอันผู้รู้แจ้งปรารถนา
แล้ว เพื่อจะประกอบความเพียร โดยอรรถได้แก่ ขึ้นชื่อว่าราตรีเช่นนี้เป็น
เวลาที่มีเสียงสงัดเงียบเป็นพิเศษ เพราะเป็นเวลาที่พวกมนุษย์เหล่ามฤคและ
ปักษีทั้งหลาย ย่างเข้าสู่ความหลับ จึงเป็นเวลาอันวิญญูชน ผู้รู้แจ้ง ปรารถนา
เพื่อเอาใจใส่ดูแลข้อปฏิบัติในตน คือเพื่อจะขวนขวายบำเพ็ญความเพียรของผู้มี
ธรรมเป็นเครื่องตื่นอยู่นั่นเอง.
พระโสณเถระฟังพระโอวาทนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจสลดแล้ว เริ่มตั้ง
หิริโอตตัปปะ อธิษฐานอัพโภกาสิกังคธุดงค์ (องค์คุณของภิกษุผู้ถือการอยู่ใน
ที่แจ้งเป็นวัตร) กระทำกรรมในวิปัสสนา กล่าวคาถาที่ 2 ว่า หตฺถิกฺขนฺ-
ธาวปติตํ
ดังนี้ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวปติตํ ได้แก่ ตกคว่ำหน้า คือ มีเท้า
ขึ้นเบื้องบน มีหน้าลงเบื้องล่าง ตกไปแล้ว.
บทว่า กุญฺชโร เจ อนุกฺกเม ความว่า ถ้าช้างพึงเหยียบเรา.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าในเวลาที่เราขึ้นคอช้างเข้าสู่สงคราม ตกจาก
คอช้าง ได้ถูกช้างนั้นเหยียบตายในสงคราม ความตายนั้นของเราประเสริฐกว่า
พ่ายจากกิเลสทั้งหลายในบัดนี้แล้วเป็นอยู่ จะประเสริฐอะไร คือ ความเป็น
อยู่นั้นไม่ประเสริฐเลย เมื่อพระเถระกล่าวคาถานี้อยู่นั่นแล ขวนขวายวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ ครั้งนั้น เราเที่ยวอยู่
ในป่าใหญ่ ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสธุลี
ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง เราเลื่อมใส ได้เอาผลมะหาด

มาถวายพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นเขตแห่งบุญ
ผู้แกล้วกล้า ด้วยมือทั้งสองของตน ในกัปที่ 31 แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น ด้วยการ
ถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ
ถวายผลไม้. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว กล่าวทบทวนคาถาทั้งสองนั่นแล
คือ (คาถาที่ 1) อันพระศาสดาตรัสแล้ว (และคาถาที่ 2) อันตนกล่าวแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า หตฺถิกฺขนธาวปติตํ ดังนี้. ด้วยการกล่าวซ้ำคาถานั้นเป็นอัน
พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลนี้แล้วทีเดียว.
จบอรรถกถาโสณโปฏิริยปุตตเถรคาถา

8. นิสภเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระนิสภเถระ


[295] ได้ยินว่า พระนิสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
วิญญูชน ละเบญจกามคุณอันน่ารัก น่ารื่นรมย์
ใจแล้ว ออกบวชด้วยศรัทธา แล้วพึงทำที่สุดแห่งทุกข์
ได้.
เราไม่อยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ และเรามีสติ
มีสัมปชัญญะ รอเวลาอันควรเท่านั้น.