เมนู

ความหวาดเสียว ความขนลุกขนพอง ย่อมไม่มีแก่เราผู้มีสติ ได้แก่ ความ
กลัวที่หมายรู้กันว่า ความสะดุ้งแห่งจิตก็ดี ความหวาดเสียวแห่งร่างกาย อัน
มีความกลัวนั้นเป็นนิมิตก็ดี ความเป็นผู้มีขนพองสยองเกล้าก็ดี ย่อมไม่มี
(แก่เรา). เพราะเหตุไร ? เพราะ พระเถระกล่าวเหตุในข้อนั้นไว้ว่า ธมฺมตา
มเมสา
(นี้เป็นธรรมดาของเรา).
แท้จริง พระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลว่า อันภัยเป็นต้น พึงมี
แก่บุคคลผู้ไม่ได้กำหนดรู้วัตถุ เพราะยังละฉันทราคะในวัตถุนั้นไม่ได้ แต่
ภัยในวัตถุนั้น เรากำหนดรู้แล้วโดยประการทั้งปวง ทั้งฉันทราคะในวัตถุนั้น
เราก็ตัดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น ภัยเป็นต้นจึงไม่มี นี้เป็นธรรมดาของเรา คือ
ข้อนี้ เป็นสภาพแห่งธรรมของเรา.
จบอรรถกถาสัมพุลกัจจยนเถรคาถา

6. ขิตกเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระขิตกเถระ


[293] ได้ยินว่า พระขิตกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
จิตของใครตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวดังภูเขา ไม่กำ-
หนัดแล้วในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่
ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ผู้ใด
อบรมจิตได้อย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงผู้นั้น แต่ที่ไหน จิต
ของเราตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขา จิตของเราไม่
กำหนัดแล้ว ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่ขัดเคืองในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เรา
อบรมจิตได้แล้วอย่างนี้ ทุกข์จักมาถึงเราแต่ที่ไหน ๆ.