เมนู

บทว่า ถูณิกา จ วิทาลิตา ความว่า และบัดนี้เราทำลายช่อฟ้า
กล่าวคือ อวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพ อันท่านพึงกระทำเสียแล้ว.
บทว่า วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี
ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า
เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง คือจักถูกกำจัดเสียในภพ
นี้แหละ ได้แก่จักดับไปด้วยการดับแห่งจิตดวงสุดท้าย.
จบอรรถกถาสีวกเถรคาถา

3. อุปวาณเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระอุปวาณเถระ


[290] ได้ยินว่า พระอุปวาณเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น
พระอรหันต์ ผู้เสด็จไปดีแล้วในโลก เป็นมุนี ถูกลม
เบียดเบียนแล้ว ถ้าท่านมีน้ำร้อนขอจงถวายแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นมุนีเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นผู้อันบุคคลบูชาแล้ว กว่าเทวดาและ
พรหมทั้งหลาย แม้บุคคลควรบูชา อันบุคคลสักการะ
แล้ว กว่าพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าโกศล ผู้อัน
บุคคลพึงสักการะ อันบุคคลนอบน้อมแล้ว กว่าเหล่า
พระขีณาสพที่บุคคลควรนอบน้อม เราปรารถนาจะนำ
น้ำร้อนไปถวายพระองค์.

อรรถกถาอุปวาณเถรคาถา


คาถาของท่านพระอุปวาณเถระ เริ่มต้นว่า อรหํ สุคโต. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้บังเกิดในตระกูลที่ยากจน ในกาลของพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อมวลมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์
ยักษ์ และคนธรรพ์ทั้งหลาย เก็บพระธาตุของพระองค์มากระทำพระสถูป
สำเร็จด้วยรัตนะ 7 สูง 7 โยชน์ เขาได้เอาผ้าอุตราสงค์ของตน ซึ่งขาวสะอาด
บริสุทธิ์ ผูกปลายไม้ไผ่ทำเป็นธงแล้วทำการบูชา. ยักษ์ผู้เสนาบดี นามว่า
อภิสัมมตะ อันเทวดาทั้งหลายแต่งตั้งไว้ เพื่ออารักขาสถานที่บูชาพระเจดีย์
มีกายไม่ปรากฏ ถือธงนั้น ทรงไว้ในอากาศ กระทำประทักษิณพระเจดีย์
3 รอบ. เขาเห็นดังนั้น ได้เป็นผู้มีใจเลื่อมใส เกินประมาณ.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า
อุปวาณะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวที่ทรงรับมอบพระวิหาร
ชื่อว่า เชตวัน เป็นผู้มีจิตศรัทธาบวชแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุ
พระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้มีอภิญญา 6. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ใน
อปทานว่า
พระสัมพุทธชินเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ
ทรงรู้จบธรรมทั้งปวง ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ เสด็จ
ปรินิพพาแล้ว มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต