เมนู

8. ภรตเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระภรตเถระ


[285] ได้ยินว่า พระภรตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
มาเถิดนันทกะ เราจงพากันไปยังสำนักของพระ
อุปัชฌายะเถิด เราจักบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์
ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ผู้เป็นมุนี มีความเอ็นดูเรา ทรงให้บรรพชาเพื่อ
ประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น เราก็ได้บรรลุแล้ว
ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุแล้ว.


อรรถกถาภรตเถรคาถา


คาถาของท่านพระภรตเถระ เริ่มต้นว่า เอหิ นนฺทก คจฺฉาม.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินมาว่า พระเถระนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้
มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่ง
ถือเอาคู่แห่งรองเท้า น่าพึงใจและน่าดู มีสัมผัสที่อ่อนนุ่ม สวมใส่สบาย
เดินทางไป เห็นพระศาสดากำลังทรงจงกรมอยู่ มีใจเลื่อมใส น้อมเอารองเท้า
เข้าไปถวาย กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงสวมรองเท้า อันจะ

พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสวมรองเท้า เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลแห่งคฤหบดี ในจัมปานคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า
ภรตะ. เขาบรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังความที่พระโสณเถระบวชแล้ว เกิดความ
สลดใจว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระโสณเถระก็ยังบวช ดังนี้ แล้วออกบวช กระทำ
บุรพกิจเสร็จแล้ว กระทำกรรมในวิปัสสนา ได้เป็นผู้มีอภิญญา 6 ต่อกาล
ไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี
เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านรชน มีพระจักษุ
เสด็จออกจากที่ประทับสำราญกลางวันแล้ว เสด็จขึ้น
ถนน เราสวมรองเท้าที่ทำอย่างดีออกเดินทางไป ณ ที่
นั้น เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า งามน่าดูน่าชม
เสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า เรายังจิตของตนให้
เลื่อมใส ถอดรองเท้าออกวางไว้แทบพระบาท แล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระสุคตผู้เป็นมหาวีรบุรุษ เป็นใหญ่
เป็นผู้นำชั้นพิเศษ ขอเชิญพระองค์ทรงสวมรองเท้า
เถิด ข้าพระองค์จักได้ผลจากรองเท้าคู่นี้ ขอความ
ต้องการของข้าพระองค์จงสำเร็จเถิด พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลก
ประเสริฐกว่านรชน ทรงสวมรองเท้าแล้ว ได้ตรัส
พระดำรัสนี้ว่า ผู้ใดเลื่อมใสถวายคู่แห่งรองเท้าแก่เรา
ด้วยมือทั้งสองของตน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้ง

หลายจงฟังเรากล่าว เทวดาทุก ๆ องค์ได้ทราบพระ
พุทธดำรัสแล้ว มาประชุมกัน ต่างก็มีจิตปีติ ดีใจ
เกิดความโสมนัส ประนมกรอัญชลี พระผู้มีพระภาค
เจ้าได้ตรัสว่า เพราะการถวายรองเท้านี้แล ผู้นี้จักเป็น
ผู้ถึงความสุข จักเสวยราชสมบัติในเทวโลก 55 ครั้ง
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช 1,000 ครั้ง และจัก
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์ โดยคณนา
นับมิได้ ในกัปซึ่งนับไม่ถ้วน แต่ภัทรกัปนี้ สกุล-
โอกากราช จักสมภพพระศาสดา มีพระนามว่า โคดม
จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นทายาทในธรรม
ของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นโอรสอันธรรมเนร-
มิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักเป็นผู้ไม่มี
อาสวะ ปรินิพพาน ผู้นี้เกิดในเทวโลก หรือในมนุษย-
โลก จักเป็นผู้มีปัญญา จักได้ยานอันเปรียบด้วยยาน
ของเทวดา ปราสาท วอ ช้าง ที่ประดับประดาแล้ว
และรถที่เทียมแล้วด้วยม้าอาชาไนย ย่อมเกิดปรากฏ
แก่เราทุกเมื่อ แม้เมื่อเราออกบวช ก็ได้ออกบวชด้วย
รถ ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อกำลังปลงผม นี้เป็นลาภ
ของเรา เราได้ดีแล้ว คือ การค้าขายเราได้ประกอบ
ถูกทางแล้ว เราถวายรองเท้าคู่หนึ่ง จึงได้บรรลุบทอัน
ไม่หวั่นไหว ในกัปอันประมาณมิได้ นับแต่ภัทรกัป
นี้ เราได้ถวายรองเท้าใด ด้วยการถวายรองเท้านั้น

เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายรองเท้า.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระผู้มีอภิญญา 6 แล้ว เมื่อพระนันทกเถระผู้เป็นน้องชาย
ของตน กระทำการพยากรณ์พระอรหัตผล โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง
เมื่อจะบอกถึงความปริวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว แก่พระนันทกเถระว่า บัดนี้แม้
พระนันทกะ ก็เป็นพระอรหัตแล้ว เอาเถิด เราแม้ทั้งสองไปสู่สำนักของพระ
ศาสดาแล้ว จักกราบทูลความที่เราทั้งสองเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว
ดังนี้ ได้กล่าวคาถา 2 คาถา ความว่า
มาเถิดนันทกะ เราจงพากันไปยังสำนักของพระ
อุปัชฌาย์เถิด เราจักบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์
ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
เป็นมุนีมีความเอ็นดูเรา ทรงให้บรรพชาเพื่อประโยชน์
อันใด ประโยชน์อันนั้นเราก็ได้บรรลุแล้ว ความสิ้น
ไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เราก็ได้บรรลุแล้ว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทก เป็นอาลปนะ (คำเรียกร้อง).
บทว่า เอหิ เป็นคำเรียกให้พระนันทกเถระมายังสำนักของตน. บทว่า คจฺฉาม
เป็นคำชวนให้พระนันทกเถระ กระทำกิจที่ควรทำร่วมกับตน.
บทว่า อุปชฺฌายสฺส หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อธิบายว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมควรเรียกขานว่าเป็นพระอุปัชฌาย์โดยพิเศษ เพราะ
ทรงเข้าไปเพ่งโทษน้อยและโทษใหญ่ ของสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก โดยทรง
ตรวจดูอัธยาศัย อนุสัย และจริตเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริง
ด้วยพระสมันตจักษุ และด้วยพุทธจักษุ เพื่อจะแสดงถึงประโยชน์ของการไป

พระเถระจึงกล่าวว่า สีหนาทํ นทิสฺสาม พุทฺธเสฏฺฐสฺส สมฺมุขา เรา
จะบันลือสีหนาท เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ดังนี้.
อธิบายว่า เราจักบันลืออรรถพจน์อันชื่อว่า สีหนาท เพราะเป็นการบันลือ
อย่างไม่เกรงขาม โดยการประมวลมาซึ่งคุณพิเศษตามความเป็นจริงต่อหน้า
คือเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชื่อว่า
ประเสริฐที่สุด เพราะความเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง นั้นแล หรือประเสริฐ
สุดกว่าท่านผู้รู้ทั้งหลาย มีสาวกของพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
ก็พระเถระเมื่อจะแสดงความเป็นผู้ประสงค์จะบันลือสีหนาท จึง
กล่าวคาถามีอาทิว่า ยาย ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่สองดังต่อไปนี้ บทว่า ยาย ความว่า
เพื่อประโยชน์อันใด อธิบายว่า เพื่อข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ประโยชน์อันใด.
บทว่า โน เท่ากับ อมฺหากํ แปลว่า แก่เราทั้งหลาย. บทว่า อนุกมฺปาย
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า. ยังเราแม้ทั้งสองให้บรรพชา คือให้บวช ด้วย
ทรงอนุเคราะห์. บทว่า มุนี ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า โส โน
อตฺโถ อนุปฺปตฺโต
มีอธิบายว่า ประโยชน์นั้น ได้แก่พระอรหัตผล อัน
เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวง อันเราทั้งหลาย คือเราทั้งสอง ถึงแล้วโดย
ลำดับ คือบรรลุแล้ว.
จบอรรถกถาภรตเถรคาถา

9. ภารทวาชเถรคาถา


ว่าด้วยคาถาของพระภารทวาชเถระ


[286] ได้ยินว่า พระภารทวาชเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ธีรชนผู้มีปัญญา ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว
ชื่อว่าผู้ชนะสงครามย่อมบันลือสีหนาท ดังราชสีห์ใน
ถ้ำภูเขา ฉะนั้น เราได้ทำความคุ้นเคยกับพระศาสดา
แล้ว พระธรรมกับพระสงฆ์ เราได้บูชาแล้ว และ
เราปลาบปลื้มใจ เพราะเห็นบุตรหมดอาสวะกิเลส
แล้ว.


อรรถกถาภารทวาชเถรคาถา


คาถาของท่านพระภารทวาชเถระ เริ่มต้นว่า นทนฺติ เอวํ สปฺปญฺญา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไ ร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกัปที่ 31 แต่
ภัทรกัปนี้ บรรลุนิติภาวะแล้ว วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า
สุมนะ เที่ยวบิณฑบาต มีใจเลื่อมใส ได้ถวายผลวัลลิการะ อันสุกงอม.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
ในตระกูลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีชื่อตามโคตรปรากฏ