เมนู

7. ภัลลิยเถร คาถา
ว่าด้วยคาถาของพระภัลลิยเถระ


[ 144] ได้ยินว่า พระภัลลิยเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ผู้ได้ขจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่
กำจัดสะพานไม้อ้อ อันแสนจะทรุดโทรมฉะนั้น ก็
ผู้นั้น จัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว
มีตนอันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความเร่าร้อน
ได้แล้ว.

อรรถกถาภัลลิยเถรคาถา


คาถาของท่านพระภัลลิยเถระเริ่มต้นว่า โย ปานุทิ. เรื่องราวของท่าน
เป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ ในกัปที่ 31 แต่ภัทรกัปนี้ เมื่อพระพุทธเจ้า
ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้น เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสถวายผลาผล แก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นามว่า สุมนะ ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพทั้งหลายเท่านั้น เกิดในตระกูล
สัตถวาหะ พระนครอรุณวตี ในกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง
พระนามว่า สิขี ได้สดับว่า บุตรพ่อค้า 2 คน คือ ชื่อว่าอุปชิตะ และอุชิตะ
ได้ถวายอาหารครั้งแรก แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุขี ผู้ได้
ตรัสธรรมาภิสมัยก่อนคนอื่น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสหาย
ของตน ถวายบังคมแล้ว ทูลอาราธนาเพื่อเสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น

ถวายมหาทานแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
แม้ทั้งสอง พึงเป็นผู้ได้ถวายอาหารครั้งแรกแด่พระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับพระองค์
ในอนาคตกาล ดังนี้. คนทั้งสอง กระทำบุญกรรมในภพนั้น ๆ แล้ว ท่องเที่ยว
ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
เกิดเป็นบุตรเศรษฐีผู้เลี้ยงวัว เป็นพี่น้องกัน ในสองพี่น้องนั้น ผู้เป็นพี่ชื่อ
ตปุสสะ ผู้เป็นน้องชื่อ ภัลลิยะ. เขาทั้งสองบรรทุกของเต็มเกวียน 500 เล่ม
เดินทางไปค้าขาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แรกตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ
ทรงยับยั้งอยู่ตลอด 7 สัปดาห์ ด้วยการพิจารณาธรรมคือสุขอันเกิดแต่วิมุตติ
ในสัปดาห์ที่ 8 ทรงประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นเกด ก็เดินทางล่วงทางใหญ่ ไป
ใกล้ต้นเกด ในสมัยนั้น เกวียนของเขาทั้งสองไม่ยอมเคลื่อนที่ แม้ในภูมิภาค
ที่ราบเรียบ ไม่มีหล่มไม่มีโคลน เมื่อพ่อค้าสองพี่น้องพากันคิดอยู่ว่า เหตุอะไร
หนอแล ดังนี้ เทวดาผู้เคยเป็นญาติสายโลหิต ก็แสดงตัวในระหว่างค่าคบไม้
บอกว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ตรัสรู้พระสัม-
โพธิญาณได้ไม่นาน ไม่ได้เสวยพระกระยาหารมาตลอด 7 สัปดาห์ เสวย
วิมุตติสุขแล้ว บัดนี้ ประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นเกด ข้อที่ท่านทั้งสองน้อมนำ
อาหารเข้าไปถวายพระองค์นั้น จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
แก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน.
พ่อค้าสองพี่น้อง ฟังคำนั้นแล้ว เสวยปีติโสมนัสอย่างยิ่ง สำคัญว่า
การจัดอาหารจักเป็นความเนิ่นช้า จึงถวายสัตตูผงและสัตตูก้อน แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ถึงเทววาจิกสรณคมน์ (ถึงพระพุทธและพระธรรมว่าเป็นสรณะ)
ได้พระเกศธาตุไปบูชา หลีกไปแล้ว. ก็พ่อค้าทั้งสองนั้น ได้เป็นอุบาสก
ก่อนผู้อื่น. ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปยังกรุงพาราณสี ประกาศ
พระธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์โดยลำดับ ตปุสสะและ

ภัลลิยะ จึงเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วถวาย-
บังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่เขาทั้งสอง
ในพ่อค้าทั้งสองนั้น ตปุสสะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วได้เป็นอุบาสกอย่างเดียว
ส่วนภัลลิยะ บวชแล้วได้เป็นผู้มีอภิญญา 6. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
ครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
สุมนะ ประทับอยู่ในพระนครตักกรา เราได้ถือเอา
ผลไม้ชื่อวัลลิการะ ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน
กัปที่ 30 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายผลไม้ใดในกาลนั้น
ด้วยการถวายผลไม้นั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น
ผลแห่งการถวายผลไม้ เราเผากิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว
ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำสำเร็จแล้ว

ดังนี้.
ครั้นในวันหนึ่ง มารแสดงรูปน่ากลัว เพื่อจะหลอกพระภัลลิยเถระ
ให้สะดุ้งกลัว. พระเถระเมื่อจะประกาศข้อที่ตนล่วงความกลัวได้ทั้งหมด จึงได้
ภาษิตคาถานี้ว่า
ผู้ใดกำจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่
กำจัดสะพานไม้อ้อ อันแสนจะทรุดโทรมฉะนั้น และ
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว
มีตนอันฝึกฝนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความ
เร่าร้อนได้แล้ว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยปานุทิ ความว่า ผู้ใดกำจัด คือ
ซัดไป คือละได้แล้ว ได้แก่ ขจัดแล้ว. บทว่า มจฺจุราชสฺส ความว่า

ความตาย คือความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า มัจจุ ก็มัจจุนั่นแหละ ชื่อว่า
ราชา เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในอำนาจ
ของตน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มัจจุราชา. แห่งมัจจุราชนั้น. บทว่า เสนํ
ได้แก่ เสนา มีความแก่และโรคเป็นต้น ก็ความแก่และโรคเป็นต้น ชื่อว่า
เสนา เพราะเป็นองค์ประกอบในการที่มัจจุราชนั้นยังสัตว์ให้เป็นไปในอำนาจ
ด้วยเหตุนั้น มัจจุราชนั้น ท่านจึงเรียกว่า มีเสนาใหญ่ เพราะมีเสนามาก
มีอย่างต่าง ๆ แพร่หลาย. สมดังที่ตรัสไว้ว่า น หิ โน สงฺครนฺเตน
มหาเสเนน มจฺจุนา
จะขอผลัดเพี้ยนกับมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ มิได้เลย
ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง เทวบุตรมาร ท่านประสงค์เอาว่า มัจจุ ในพระคาถานี้
เพราะอรรถว่า ฆ่าเสียซึ่งคุณงามความดี กามเป็นต้น ท่านประสงค์เอาว่าเป็น
เสนา เพราะเข้าถึงความเป็นสหายกับมัจจุราชนั้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
กามทั้งหลายเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่หนึ่งของท่าน
ความไม่ยินดี เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่สองของท่าน
ความหิวและความกระหาย เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่สาม
ของท่าน ตัณหาเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่สี่ของท่าน
ถีนมิทธะ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่ห้าของท่าน ความ
ขลาดกลัวเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่หกของท่าน ความ
สงสัยเรากล่าวว่าเป็นเสนาที่เจ็ดของท่าน ความลบหลู่
และความหัวดื้อ เรากล่าวว่าเป็นเสนาที่แปดของท่าน
ดังนี้.

บาทคาถาว่า นฬเสตุํว สุทุพฺพลํ มโหโฆ นี้ประกอบความว่า
ผู้ใดกำจัดแล้ว คือชนะแล้ว ซึ่งเสนาคือสังกิเลส ที่ชื่อว่า แสนจะทรุดโทรม
เพราะไม่มีกำลังมากมายเหมือนห้วงน้ำใหญ่กำจัดสะพานไม้อ้อ เพราะปราศจาก

แก่นสาร ด้วยมรรคอันเลิศ เช่นกับห้วงน้ำใหญ่ เพราะโลกุตรธรรมทั้ง 9
มีกำลังมาก ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความกลัว มีตนอันฝึกแล้ว
มีจิตตั้งมั่น ดับความเร่าร้อนและความกระวนกระวายได้แล้ว ดังนี้. มารสดับ
คำนั้นแล้ว คิดว่า สมณะรู้ทันเรา ดังนี้ แล้วหายไปในที่นั้นเอง.
จบอรรถกถาภัลลิยเถรคาถา

8. วีรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวีรเถระ


[145] ได้ยินว่า พระวีรเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ ในเวลาภรรยาเก่า
ไปเล้าโลม เพื่อให้สึกว่า
เมื่อก่อน ผู้ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก
แต่เดี๋ยวนี้ ผู้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกฝน
ได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์ มีความสันโดษ ข้ามความ
สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนลุกพอง
ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับกิเลสและความ
เร่าร้อนได้แล้ว.