เมนู

อรรถกถายสเถรคาถา


คาถาของท่านพระยสเถระ เริ่มต้นว่า สุวิลิตฺโต สุวสโน. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ (เกิด)
เป็นพระยานาคผู้มีอานุภาพมาก ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า
สุเมธะ นำภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มาสู่ภพของตน แล้วยัง
มหาทานให้เป็นไป ถวายให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองไตรจีวรมีค่ามาก
และให้ภิกษุแต่ละรูปนุ่งห่มผ้าที่มีค่ามากเหมือนกันรูปละคู่ (พร้อมด้วย)
สมณบริขารทุกอย่าง. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย (เกิด) เป็นบุตรเศรษฐี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
สิทธัตถะ บูชาบริเวณต้นมหาโพธิด้วยรัตนะ 7. ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ เขาได้บวชในพระศาสนา แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. เขา-
ท่องเที่ยวไปแต่ในสุคติภพอย่างเดียว ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วเกิดเป็นบุตร
เศรษฐี มีสมบัติมาก ในกรุงพาราณสี ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
ทั้งหลายนี้ โดยนามมีชื่อว่า ยสะ เป็นสุขุมาลชาติ (ละเอียดอ่อน) อย่างยิ่ง.
เรื่องทั้งหมดเป็นต้นว่า ยสกุลบุตรมีปราสาท 3 หลัง พึงทราบโดยนัยอันมาแล้ว
ในขันธกะ.
ยสกุลบุตร อันบุรพเหตุตักเตือนอยู่ เห็นประการอันแปลกของ
บริวารชน ผู้อันความหลับครอบงำแล้ว ในเวลากลางคืน เกิดความสลดใจ
สวมรองเท้าทอง หลบออกจากเรือน ออกไปทางประตูเมือง ที่เทวดาเปิดให้

ไปใกล้ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน กล่าวว่า วุ่นวายจริงหนอ ท่านผู้เจริญ
ขัดข้องจริงหนอ ท่านผู้เจริญดังนี้. โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ที่ป่าอิสิปตนะ เสด็จจงกรมอยู่ในอัพโภกาส เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เข้านั่นแล
ตรัสว่า มาเถิดยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ดังนี้ เขาจึงเกิดโสมนัสว่า
ได้ยินว่า ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มีอยู่ จึงถอดรองเท้าทอง เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสอนุปุพพิกถา
ทรงแสดงสัจจเทศนาอยู่ เป็นพระโสดาบันในเวลาจบสัจจะ เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงสัจจเทศนาแก่บิดาผู้ตามหา ได้กระทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ภพของเราหยั่งลงสู่มหาสมุทร ตกแต่งดีแล้ว
สระโบกขรณีตกแต่งสวยงาม มีนกจักรพรากส่งเสียง
ร้องอยู่ ดารดาษด้วยบัวขม บัวเผื่อน บัวหลวง และ
อุบล ในสระนั้นมีน้ำไหล มีท่าน้ำราบเรียบ น่า-
รื่นรมย์ใจ มีปลาและเต่าชุกชุม มีเนื้อต่าง ๆ มาลง
กินน้ำ มีนกยูง นกกระเรียน และนกดุเหว่าเป็นต้น
ร่ำร้องด้วยเสียงอันไพเราะ นกเขา นกเป็ดน้ำ นก
จักรพราก นกกาน้ำ นกต้อยตีวิด นกสาลิกา นก
ค้อนหอย นกโพระดก หงส์ นกกระเรียน นกแสก
นกขมิ้นเหลืองอ่อน เที่ยวอยู่มากมาย สระโบกขรณี
สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีแก้วมณี ไข่มุก และ
ทราย ต้นไม้ทั้งหลายก็เป็นสีทองทั้งหมด มีกลิ่นหอม
ต่าง ๆ ฟุ้งขจรไป ส่องภพของเราให้สว่างไสวตลอด
กาลทั้งปวง ทั้งกลางวันกลางคืน ดนตรีหกหมื่น

ประโคมอยู่ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า หญิง 16,000 คน
ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ เราออกจากภพแล้ว ได้เห็น
พระพุทธเจ้า พระนามว่า สุเมธะ ผู้นำของโลก มีจิต
เลื่อมใส โสมนัส ได้ถวายบังคมพระองค์ผู้มียศใหญ่
ครั้นถวายบังคมแล้ว ได้ทูลอาราธนาพระองค์ พร้อม
ด้วยศิษย์พระพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์ พระนามว่า
สุเมธะ พระผู้นำของโลกทรงรับ พระมหามุนีกล่าว
ธรรมกถาแก่เรา แล้วส่งเราไป เราถวายบังคมพระ
สัมพุทธเจ้า เสร็จแล้วกลับเข้าภพของเรา เราเรียก
บริวารชนมาสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงมาประชุมกัน
เวลาเช้าพระพุทธเจ้าจะเสด็จมาสู่ภพของเรา การที่เรา
ทั้งหลายจะได้อยู่ในสำนักของพระองค์ เป็นลาภที่เรา
ทั้งหลายได้ดีหนอ แม้เราทั้งหลายจักทำการบูชาแด่
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ผู้ศาสดา เราตระเตรียม
ข้าวและน้ำเสร็จแล้ว จึงกราบทูลเวลาเสวยภัตตาหาร
พระพุทธเจ้าผู้นำของโลก เสด็จเข้ามาพร้อมด้วย
พระอรหันต์หนึ่งแสน เราได้ทำการต้อนรับ ด้วย
สังคีตและดนตรี พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ประทับ
นั่งบนตั่งทองล้วน ในกาลนั้น หลังคาเบื้องบนก็มุง
ด้วยทองล้วน ๆ คนทั้งหลายโบกพัดถวาย ในระหว่าง
ภิกษุสงฆ์ เราได้อังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำ ด้วยข้าว
และน้ำเพียงพอ ได้ถวายผ้าแด่ภิกษุสงฆ์รูปละหนึ่งคู่
พระพุทธเจ้าที่เขาเรียกกันว่า สุเมธะ ผู้สมควรรับ

เครื่องบูชาของโลก ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดอังคาสเราให้
อิ่มหนำ ด้วยข้าวและน้ำทั้งปวง เราจักพยากรณ์ผู้นั้น
ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ผู้นั้น จักรื่นรมย์อยู่ใน
เทวโลก ตลอด 1800 กัป จักได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิราช 1,000 ครั้ง ผู้นั้นเข้าถึงกำเนิดใด คือ
เป็นเทวดาหรือมนุษย์ในกำเนิดนั้น หลังคาทองล้วนๆ
จักกั้นเป็นร่มให้ในทุกขณะ ใน 30,000 กัป พระ-
ศาสดาทรงพระนามว่า โคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์
พระเจ้าโอกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นจักเป็น
ทายาทในธรรมของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็น
โอรสอันธรรมนิรมิต จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะนิพพาน จักนั่งในท่ามกลางสงฆ์แล้ว
บันลือสีหนาท ชนทั้งหลายจักกั้นฉัตรไว้ที่เชิงตะกอน
จักเผาภายใต้ฉัตร สามัญผลอันเราบรรลุแล้ว โดย
ลำดับ เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ความเร่าร้อนไม่มี
แก่เรา ที่มณฑปหรือโคนไม้ ในกัปที่ 30,000 แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วยทานนั้น
เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทานทั้งปวง. เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
กระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออกแล้ว
ตรัสกะท่านผู้มีอายุ ชื่อว่า ยสะ ว่าจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในระหว่างที่มีพระพุทธ-

ดำรัสนั่นเอง ท่านพระยสะได้เป็นผู้มีผมและหนวด สักว่าเป็นองค์สองก็อันตร-
ธานไป ได้เป็นประดุจพระเถระผู้มีพรรษา 60 ทรงไว้ซึ่งบริขาร 8. พระเถระ
พิจารณาดูข้อปฏิบัติของตนแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาด้วยสามารถ
แห่งเนื้อความอันมีมาก่อน แต่จะถึงความเป็น เอหิภิกขุว่า
เราเป็นผู้ลูบไล้ดีแล้ว มีเครื่องนุ่งห่มอันงดงาม
ประดับด้วยสรรพาภรณ์ ได้บรรลุวิชชา 3 บำเพ็ญกิจ
พระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวิลิตฺโต ความว่า มีร่างกายอัน
ลูบไล้แล้ว ด้วยหญ้าฝรั่น จันทน์แดง อันงดงาม.
บทว่า สุวสโน ความว่า นุ่งห่มด้วยผ้าของชาวกาสีอย่างดีมีราคาแพง.
บทว่า สพฺพาภรณภูสิโต โดยความว่า ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทั้งปวง
มีเครื่องประดับศีรษะเป็นต้น.
บทว่า อชฺฌคมึ แปลว่า ได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถายสเถรคาถา

8. กิมพิลเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของกิมพิลเถระ


[255] ได้ยินว่า พระกิมพิลเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
วัยย่อมล่วงไปพลัน รูปที่มีอยู่โดยอาการนั้น
ย่อมปรากฏแก่เรา เหมือนเป็นอย่างอื่น เราระลึกถึง
ตนของเรา ผู้ไม่อยู่ปราศจากสติ เหมือนของผู้อื่น.


อรรถกถากิมพิลเถรคาถา


คาถาของท่านพระกิมพิลเถระ เริ่มต้นว่า อภิสตฺโตว นิปตติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์-
ก่อน ๆ กระทำบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกาล
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ บรรลุความเป็นผู้รู้แล้ว
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยพวงดอกสน โดยทำ
เป็นมณฑป อุทิศพระธาตุของพระศาสดา.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเกิดในภพดาวดึงส์ ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ
ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในพระนคร-
กบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า กิมพิละ. เจ้ากิมพิละเจริญวัยแล้ว