เมนู

เถรคาถา เอกนิบาต วรรคที่ 12


1. เชนตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเชนตเถระ


[248] ได้ยินว่า พระเชนตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การบวชกระทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนก็
ยากแท้ ธรรมเป็นของลึก การหาทรัพย์เป็นของยาก
การเลี้ยงชีพของเราด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ก็เป็น
ของยาก ควรคิดถึงอนิจจตาเนือง ๆ.


วรรควรรณนาที่ 12


อรรถกถาเชนตเถรคาถา


คาถาของท่านพระเชนตเถระ เริ่มต้นว่า ทุปฺปพฺพชฺชํ เว ทุรธิวาสา
เคหา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็น
เทพบุตร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี. วันหนึ่งเขา
เห็นพระศาสดา มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยดอกฟักทิพย์.

ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นโอรสของเจ้ามัณฑลิกราช พระองค์หนึ่ง ในเชนตคาม แคว้นมคธ
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีพระนามว่า เชนตะ. ท้าวเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว
อันเหตุสมบัติตักเตือนอยู่ แต่ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์ทีเดียว เป็นผู้มีพระทัย
น้อมไปในบรรพชาแล้ว ทรงพระดำริใหม่ว่า ขึ้นชื่อว่า บรรพชาเป็นของทำ
ได้ยาก แม้เรือนก็อยู่ครองลำบาก ธรรม (วินัย) ก็เป็นของลึกซึ้ง และโภค-
สมบัติก็ประสบได้โดยยาก เราพึงทำอย่างไรดีหนอ ดังนี้. ก็พระองค์เป็นผู้
มากไปด้วยความคิดคำนึงอย่างนี้ เที่ยวไป วันหนึ่งไปสู่สำนักของพระศาสดา
ฟังธรรมแล้ว จำเดิมแต่เวลาที่ทรงสดับธรรมแล้ว ก็กลับเป็นผู้มีความยินดี
อย่างยิ่งในบรรพชา บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนกรรมฐานแล้วเจริญ
วิปัสสนา กระทำให้แจ้งพระอรหัตผลแล้ว ด้วยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา การ
ปฏิบัติสะดวก และตรัสรู้ได้ง่าย. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นเทพบุตร ได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้
เป็นนายก พระนามว่า สิขี ได้ถือเอาดอกฟักทิพย์ไป
บูชาพระพุทธเจ้า ในกัปที่ 31 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้
บูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เรา
ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา และในกัปที่
9 แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามว่า
"สัตตุตตมะ" สมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มี
พลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อพิจารณาดูข้อปฏิบัติของตน
ก็เกิดความโสมนัสว่า เราไม่สามารถจะตัดวิตกอันบังเกิดขึ้นแก่เราแต่ตอนแรก
ได้หนอ ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงอาการที่วิตกเกิดขึ้น และความที่ตนตัดวิตก
นั้นได้โดยชอบนั่นแล จึงได้กล่าวคาถาว่า
การบวชทำได้ยากแท้ การอยู่ครองเรือนก็ลำบาก
ธรรมเป็นของลึก การหาทรัพย์เป็นของยาก การ
เลี้ยงชีพของเราด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ก็เป็นของ
ยาก ควรคิดถึงอนิจจตาเนือง ๆ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺปพฺชฺชํ ความว่า การเว้นชั่วชื่อว่า
ทำได้ยาก เพราะการสละกองโภคสมบัติ และความห้อมล้อมของหมู่ญาติน้อย-
ก็ตาม มากก็ตาม แล้วบวชถวายชีวิตในพระศาสนานี้ ชื่อว่า ยาก เพราะ
กระทำได้โดยยาก คือการบรรพชาทำได้โดยยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
" ทุปฺปพฺพชฺชํ " (การบวชทำได้ยาก).
บทว่า เว เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง เวศัพท์มี ทฬฺหศัพท์
เป็นอรรถ (คือส่งความให้หนักแน่น) ว่าการบวชเป็นของยาก ดังนี้. ที่ที่พัก
อาศัย ชื่อว่า เรือน เรือนชื่อว่าอยู่ครองได้ยาก คือเรือนชื่อว่าอยู่ยาก คือ
ปกครองลำบาก โดยกระทำอธิบายว่า เพราะราชกิจอันพระราชาจะต้องทรง
ปฏิบัติ (ก็ดี) อิสรกิจ อันอิสรชนต้องกระทำ (ก็ดี) คหปติกิจ อันคฤหบดี
ต้องจัดแจง (ก็ดี) ผู้อยู่ครองเรือนต้องกระทำทั้งนั้น ทั้งบริวารชน และสมณ
พราหมณ์ ผู้อยู่ครองเรือนก็ต้องสงเคราะห์ ก็เมื่อมัวกระทำกิจที่ต้องบำเพ็ญ
นั้น ๆ อยู่ การอยู่ครองเรือนจึงทำให้เต็มได้ยาก เหมือนหม้อน้ำที่ทะลุ และ
เหมือนมหาสมุทร เพราะฉะนั้น ขึ้นชื่อว่าเรือนเหล่านี้ จึงชื่อว่ายากที่จะอยู่
ยากที่จะครอบครอง คือกระทำได้โดยยาก.

บรรพชาพึงดำรงในภายหลัง ธรรมเป็นของลึกคือบรรพชา มีสิ่งใด
เป็นประโยชน์ สิ่งนั้นได้แก่ปฏิเวธสัทธรรม อันผู้บวชแล้วพึงบรรลุ เป็น
ของลึก คือเห็นได้ยาก เพราะเป็นอารมณ์ของญาณที่ลึกซึ้ง ได้แก่แทงตลอด
ได้โดยยาก เพราะเป็นของแทงตลอดได้โดยยาก โดยความที่พระธรรมเป็น
ของลึกซึ้ง ที่เป็นที่อยู่อาศัยชื่อว่าเรือน โภคะทั้งหลายแสวงหาได้โดยยาก
ผู้อยู่ครอบครองเรือน เว้นจากโภคะเหล่าใด ไม่สามารถจะอยู่ครองเรือนได้
โภคะเหล่านั้น ชื่อว่าแสวงหาได้ยาก เพราะความเป็นโภคะที่แสวงหาได้โดยยาก
คือลำบาก.
เมื่อเป็นเช่นนั้น การละฆราวาสแล้วบวชนั่นแล ชื่อว่า พึงดำรงใน
ภายหลัง การเลี้ยงชีพของพวกเราทั้งหลายด้วยปัจจัย 4 ตามมีตามได้ ในพระ-
ธรรมวินัยนี้ เป็นของยากแม้อย่างนี้ คือ การครองชีพ ได้แก่ความเป็นอยู่
ของพวกเราทั้งหลาย ในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ คือตาม
ที่ได้มา เป็นของยากคือลำบาก คือว่า การเลี้ยงชีวิตของพวกเราทั้งหลาย ชื่อว่า
ยาก คือลำบาก เพราะต้องยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ใน
เรือนของฆราวาสทั้งหลาย เพราะความที่เขาเหล่านั้นอยู่กันอย่างลำบาก ทั้ง
โภคะทั้งหลายก็หาได้ยาก. ถามว่า ในข้อนั้นควรจะทำอย่างไร ? ตอบว่า
ควรคิดว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นนิตย์ คือธรรมชาติอันเป็นไปในภูมิ 3 ชื่อว่า
เป็นของไม่เที่ยง ตลอดวันทั้งสิ้น และก่อนรัตติกาล และหลังรัตติกาล. ต่อ
แต่นั้น ก็ควรคิดว่า ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะมีเบื้องต้น
และที่สุด และเพราะเป็นไปชั่วขณะ ฉะนั้น การคิดและการพิจารณาว่าไม่เที่ยง
จึงสมควรแล้ว. เมื่อการพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงสำเร็จแล้ว การ
พิจารณาโดยลักษณะนอกนี้ ย่อมสำเร็จโดยง่ายทีเดียว เพราะเหตุนั้น ใน
คาถานี้ ท่านจึงกล่าวไว้แต่อนิจจานุปัสสนาอย่างเดียว เพราะอนิจจลักษณะ

กินความถึงทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ และเพราะศาสนิกชนกำหนดถือ
เอาได้สะดวก.
สมดังที่ตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์
สิ่งนั้นเป็นอนัตตาบ้าง ว่าสิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมี
ความดับเป็นธรรมดาบ้าง ว่า สังขารทั้งหลายมีความสิ้นไปเป็นธรรมดาบ้าง.
พระเถระเมื่อข่มกิเลสที่เกิดขึ้น ไป ๆ มา ๆ ด้วยสามารถแห่งธรรมอันเป็น
ปฏิปักษ์ซึ่งกันและกันได้อย่างนี้แล้ว เริ่มปรารภวิปัสสนาโดยมีอนิจจตาเป็น
สำคัญ แล้วแสดงว่า เป็นผู้เสร็จกิจแล้วในบัดนี้ ด้วยบทว่า " สตตมนิจฺจตํ "
นี้. สมดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า "อตฺตโน ปฏิปตฺตึ " (พระเถระพิจารณาอยู่)
ซึ่งข้อปฏิบัติของตน ดังนี้เป็นอาทิ. คำเป็นคาถานี้แหละ ได้เป็นการพยากรณ์
พระอรหัตผลของพระเถระ.
จบอรรถกถาเชนตเถรคาถา

2. วัจฉโคตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวัจฉโคตตเถระ


[249] ได้ยินว่า พระวัจฉโคตตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ได้ไตรวิชชา มักเพ่งธรรมอันประณีต
ฉลาดในอุบาย สงบใจ ได้บรรลุประโยชน์ของตน
เสร็จกิจพระพุทธศาสนาแล้ว.