เมนู

ตามแรงลมอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กายของเราย่อมเลื่อนลอย
ได้เหมือนปุยนุ่น ที่ถูกลมพัดไปฉะนั้น ดังนี้. คาถานั้นมีใจความว่า ในเวลาใด
เรามีความประสงค์ จะไปสู่พรหมโลก หรือโลกอื่นด้วยฤทธิ์ ในเวลานั้น กาย
ของเราก็จะโลดไปสู่อากาศทันที เหมือนปุยนุ่น ที่วิจิตร อันลม คือ พายุพัดไป
ฉะนั้น.
จบอรรถกถาขิตกเถรคาถา

5. มลิตวัมภเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระมลิตวัมภเถระ


[242] ได้ยินว่า พระมลิตวัมภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเกิดความกระสันขึ้นในที่ใด เราย่อมไม่อยู่ใน
ที่นั้น แม้เราจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย แต่
เราเห็นว่า การอยู่ในที่ใดจะไม่มีความเสื่อมเสีย เราก็
พึงอยู่ในที่นั้น.

อรรถกถามลิตวัมภเถรคาถา


คาถาของท่านพระมลิตวัมภเถระ เริ่มต้นว่า อุกฺกณฺฐิโต. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดเป็นนก ในสระธรรมชาติแห่งหนึ่ง ไม่ไกล
จากป่าหิมพานต์ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อจะทรงอนุเคราะห์นกนั้น

จึงเสด็จไปที่สระนั้นแล้ว เสด็จจงกรมอยู่ที่ริมสระธรรมชาติ. นกเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว มีใจเลื่อมใส คาบเอาดอกโกมุทในสระไปบูชาพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิด
เป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่ง ในกุรุกัจฉนครในพุทธุปบาทกาลนี้ได้มีนามว่า
มลิตวัมภะ. เขาถึงความเป็นผู้รู้แล้ว เข้าไปหาพระปัจฉาภูมหาเถระ ฟังธรรม
ในสำนักของพระเถระ ได้มีจิตศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็พระเถระ
นั้นมีสภาพอย่างนี้ คือ ในที่ใดหาโภชนะเป็นที่สบายได้ยาก ปัจจัยนอกนี้
หาได้ง่าย ท่านจะไม่หลีกไปจากที่นั้น แต่ในที่ใด หาโภชนะเป็นที่สบายได้ง่าย
ปัจจัยนอกนี้หาได้ยาก ท่านจะไม่อยู่ในที่นั้น จะหลีกไปทันที ก็เมื่อท่านอยู่
อย่างนี้ เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก เพราะความ
ที่ท่านเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ และเพราะความที่ท่านเป็นผู้มีชาติแห่งมหาบุรุษ.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ณ ที่ใกล้ภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่สระหนึ่ง
(สระธรรมชาติ) ดาดาษด้วยดอกปทุม ในกาลนั้นเรา
เป็นนก มีนามชื่อว่า กุกกุฏะ อาศัยอยู่ในสระนั้น
เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร ฉลาดในบุญและมิใช่บุญ
พระมหามุนีทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก
สมควรรับเครื่องบูชา เสด็จสัญจรไปในที่ไม่ไกลสระ
นั้น เราหักดอกโกมุทน้อมถวายแด่พระองค์ พระองค์
ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ ครั้นเรา
ถวายทานนั้นแล้ว และอันกุศลมูลตักเตือน เราไม่ได้

เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป ในกัปที่ 116 แต่ภัทรกัปนี้
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ 8 พระองค์ นามว่า วรุณะ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอน
ของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาข้อปฏิบัติของตน เมื่อ
จะเปล่งอุทาน ได้กล่าวคาถาว่า
เราเกิดกระสันขึ้นในที่ใด เราย่อมไม่อยู่ในที่นั้น
แม่เราจะยินดีอย่างนั้น ก็พึงหลีกไปเสีย แต่เราเห็นว่า
การอยู่ในที่ใดจะไม่มีความเสื่อมเสีย เราก็พึงอยู่ใน
ที่นั้น
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกณฺฐิโตปิ น วเส ความว่า
ความกระสัน คือ ความไม่ยินดีในกุศลธรรมทั้งหลาย อันยิ่งด้วยการได้โภชนะ
เป็นที่สบาย ย่อมเกิดแก่เราผู้อยู่ในอาวาสใด เราแม้กระสันจะอยู่ในอาวาสนั้น
ถ่ายเดียว ก็ต้องถอยหนี คือไม่ก้าวต่อไป เพราะการได้โภชนะเป็นที่สบาย
นอกนี้.
ในบทว่า น วเส นี้ พึงเอา อักษรมาเชื่อมเข้ากับ บทว่า
ปกฺกเม.
บทว่า วสมาโนปิ ปกฺกเม ความว่า ส่วนความกระสัน เพราะ
ความขาดแคลนปัจจัย ย่อมไม่มีแก่เราผู้อยู่ในอาวาสใด เราย่อมยินดียิ่งใน
อาวาสนั้นโดยแท้ แม้ถึงเราจะยินดียิ่งอยู่อย่างนี้ ก็ต้องถอยกลับ คือ
ไม่ควรอยู่ เพราะได้ปัจจัยอันเป็นสัปปายะที่เหลือ เราผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนี้แหละ
ได้ถึงเฉพาะแล้วซึ่งประโยชน์ตน ต่อกาลไม่นานเลย ก็ในอธิการนี้ มีการ

ประกอบความในการพิจารณาข้อปฏิบัติส่วนตน ดังกล่าวมานี้ ส่วนในการให้
โอวาทแก่ผู้อื่น พึงประกอบความโดยการสร้างประโยคว่า ต้องอยู่ คือ ไม่หลีกไป
ดังนี้.
บทว่า น เตฺววานตฺถสํหิตํ วเส วาสํ วิจกฺขโณ ความว่า
ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ คือผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ประสงค์จะบำเพ็ญประโยชน์
ตนให้บริบูรณ์ ก็ไม่พึงอยู่ประจำอาวาสอันประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
ในพระธรรมวินัยนี้ เพราะการทำคำอธิบายว่า ในอาวาสใดมีปัจจัยหาได้ง่าย
สมณธรรมย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ในอาวาสนั้น และในอาวาสใด ปัจจัยหาได้
ยาก แม้สมณธรรมก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ในอาวาสนั้น อาวาสเห็นปานนี้ ชื่อว่า
ประกอบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ ประกอบไปด้วยความไม่เจริญงอกงาม
ในพระธรรมวินัยนี้ อธิบายว่า ก็ในที่ใดภิกษุได้อาวาสประกอบด้วยองค์ 5
ย่อมชื่อว่าได้สัปปายะแม้ทั้ง 7 ด้วย พึงอยู่ประจำในอาวาสนั้นแหละ.
จบอรรถกถามลิตวัมภเถรคาถา

6. สุเหมันตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุเหมันตเถระ


[243] ได้ยินว่า พระสุเหมันตเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
คนโง่เขลา มักเห็นเนื้อความอันมีความหมาย
ตั้งร้อย ทรงไว้ซึ่งลักษณะตั้งร้อย ว่ามีความหมายและ
ลักษณะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนคนฉลาดย่อมเห็น
ได้ตั้งร้อยอย่าง
ดังนี้.