เมนู

9. อุตติยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ


[236] ได้ยินว่า พระอุตติยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลผู้ได้สดับเสียงแล้ว พึงใส่ใจถึงอารมณ์
อันเป็นที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี
เสวยสัททารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะ
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร.

อรรถกถาอุตติยเถรคาถา


คาถาของท่านพระอุตติยเถระ เริ่มต้นว่า สทฺทํ สุตฺวา สติ มุฏฺฐา.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดใน
เรือนแห่งตระกูล ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุเมธะ
ถึงความเป็นผู้รู้แล้ว วันหนึ่งพบพระศาสดา เป็นผู้มีจิตเสื่อมใสแล้ว ตกแต่ง
บัลลังก์อัน ปูลาดด้วยพรมทำด้วยขนสัตว์เป็นต้น พร้อมทั้งผ้าสำหรับปิดเบื้องบน
(เพดาน) อันสมควรแก่พระพุทธเจ้า แล้วได้ถวายไว้ในพระคันธกุฎี.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดในตระกูลแห่งเจ้าศากยะ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มีนามว่า

อุตติยะ. เขาเจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพ ในสมาคมแห่งพระญาติ ของพระ-
บรมศาสดา ได้เป็นผู้มีจิตศรัทธา บรรพชาแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม วันหนึ่ง
เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ฟังเสียงเพลงขับของมาตุคามในระหว่างทางเมื่อเกิด
ฉันทราคะขึ้นในเสียงเพลงขับนั้น ด้วยสามารถแห่งอโยนิโสมนสิการ จึงระงับ
ฉันทราคะนั้น ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา แล้วเข้าไปสู่วิหาร เกิดความสังเวช
นั่งในที่พักกลางวัน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ในขณะนั้นเอง. สมดัง
คาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ก็เราได้ถวายบัลลังก์ พร้อมทั้งผ้าสำหรับปิด
เบื้องบน (เพดาน) แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ-
นามว่า สุเมธะ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ในกาลนั้น
บัลลังก์นั้นได้เป็นบัลลังก์ประกอบด้วยแก้ว 7 ประการ
รู้ความดำริของเรา บังเกิดแล้วแก่เราที่เมื่อ ในกัปที่
1,030 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้ถวายบัลลังก์ใดในกาลนั้น
ด้วยธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลของการ
ถวายบัลลังก์ ในกัปที่ 1,020 แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ 3 พระองค์ มีนามว่า สุวรรณาภา
สมบูรณ์ด้วยแล้ว 7 ประการ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำ
สำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้น บรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะแสดงความว่า เมื่อบุคคล
ไม่รังเกียจกิเลสทั้งหลาย ย่อมไม่มีทางที่จะยกศีรษะขึ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้
ส่วนเรารังเกียจกิเลสเหล่านั้นแล้วทีเดียว ดังนี้ โดยมุ่งแสดงให้เห็นการบังเกิด
ขึ้นแห่งกิเลสของตน ได้กล่าวคาถาว่า

บุคคลได้สดับเสียงแล้ว มัวใส่ใจถึงอารมณ์เป็น
ที่รัก สติก็หลงลืม ผู้ใดมีจิตกำหนัดยินดี เสวยสัท-
ทารมณ์ สัททารมณ์ก็ครอบงำผู้นั้น อาสวะทั้งหลาย
ย่อมเจริญแก่ผู้นั้น ผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺทํ ได้แก่ สัททารมณ์อันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด.
บทว่า สํสารอุปคามิโน ความว่า ชื่อว่าผู้เข้าถึงซึ่งสงสาร เพราะ
เข้าถึงสงสารอันเป็นตัวเหตุแห่งสังสารวัฏ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยังเป็นไปไม่ขาด
สาย ท่านก็เรียกว่า สงสาร
ดังนี้.
ปาฐะว่า สํสารูปคามิโน ดังนี้ ก็มี. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในคาถาติดต่อกันไป.
จบอรรถกถาอุตติยเถรคาถา

10. เทวสภเถรคาถา (ที่ 2)
ว่าด้วยคาถาของพระเทวสภเถระ


[237] ได้ยินว่า พระเทวสภเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรชอบ มีสติปัฏฐาน
เป็นอารมณ์ ประดับประดาด้วยดอกไม้ คือ วิมุตติ
จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน.

จบวรรคที่ 10