เมนู

7. ปวิฏฐเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปวิฏฐเถระ


[224] ได้ยินว่า พระปวิฏฐเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราเห็นเบญจขันธ์ ตามเป็นจริงได้แล้ว ทำลาย
ภพทั้งปวงได้แล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่
ไม่มี.

อรรถกถาปวิฏฐเถรคาถา


คาถาของท่านพระปวิฏฐเถระ เริ่มต้นว่า ขนฺธา ทิฏฺฐา ยถาภูตํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ กระทำบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ ในภพนั้น ๆ (เกิด)
เป็นดาบสนามว่า เกสวะ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า
อัตถทัสสี วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว มีใจเลื่อมใส ถวาย
อภิวาท ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก กระทำบุญไว้มาก ท่อง
เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดในตระกูล
พราหมณ์ ณ มคธรัฐ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถึงความเป็นผู้รู้โดยลำดับ บวช
เป็นปริพาชก เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ ศึกษาสิ่งที่

ควรศึกษาในลัทธินั้น ฟังความที่อุปติสสปริพาชก และโกลิตปริพาชก
บวชแล้วในพระพุทธศาสนา คิดว่า ธรรมดาท่านทั้ง 2 แม้นั้นเป็นผู้มีปัญญา
มาก บวชแล้วในที่ใดก็ตาม ที่นั้นชะรอยจะประเสริฐเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ไปสู่
สำนักของพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้มีศรัทธาจิต บวชแล้ว. พระศาสดา
ตรัสบอกวิปัสสนาแก่ท่าน. ท่านปรารภวิปัสสนา แล้วได้กระทำให้แจ้งพระ
อรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ ในอปทานว่า
ชนทั้งหลาย รู้จักเราว่า เกสวะ โดยนามชื่อว่า
นารทะ เราแสวงหากุศลและอกุศลอยู่ ได้ไปสู่สำนัก
ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นมหามุนี พระนามว่า อัตถทัสสี
ทรงมีจิตเมตตา ประกอบด้วยพระกรุณา พระองค์
ผู้มีพระจักษุ เมื่อทรงปลอบสัตว์ทั้งหลายให้เบาใจ
ทรงแสดงธรรมอยู่ เรายังจิตของตนให้เลื่อมใสประนม
กรอัญชลี บนเศียรเกล้า ถวายบังคมพระศาสดา บ่าย
หน้ากลับไปยังทิศปัจฉิม ในกัปที่ 1,700 แต่ภัทรกัป
นี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
พระนามว่า อมิตตตาปันนะ มีพลมาก. เราเผากิเลส
ทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระ-
ทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อพยากรณ์พระอรหัตผล ได้
กล่าวคาถาว่า
เราเห็นเบญจขันธ์ ตามเป็นจริงได้แล้ว ทำลาย
ภพทั้งปวงได้แล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่
ไม่มี
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธา ได้แก่ อุปาทานขันธ์ 5 อธิบาย
ว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้น อันพระโยคาวจรพึงเห็นแจ้ง โดยการเข้า
ไปกำหนดหมายวิปัสสนา และด้วยสามารถแห่งการรอบรู้ ด้วยญาตปริญญา
เป็นต้น.
บทว่า ทิฏฐา ยถาถูตํ ความว่า เห็นแล้วโดยไม่ผิดพลาด โดย
นัยมีอาทิว่า นี่ทุกข์ ดังนี้ ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา.
บทว่า ภวา สพฺเพ ปทาลิตา ความว่า กรรมภพ และอุบัติภพ
ทั้งปวง มีกามภพเป็นต้น อันเราทำลายแล้ว คือกำจัดแล้ว ด้วยศาสตราคือ
มรรคญาณ. อธิบายว่า กรรมภพ และอุบัติภพ ย่อมชื่อว่า เป็นอันเราทำ
ลายแล้ว ด้วยการทำลายกิเลสได้ นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า
ชาติสงสารสิ้นแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี ดังนี้. ความของคาถานั้น ข้าพเจ้า
กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปวิฏฐเถรคาถา

8. อัชชุนเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอัชชุนเถระ


[225] ได้ยินว่า พระอัชชุนเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราอาจยกตนจากน้ำ คือ กิเลส ขึ้นบนบก คือ
พระนิพพพานได้ เหมือนคนที่ถูกห้วงน้ำใหญ่พัดไปแล้ว
ยกตนขึ้นจากน้ำ ฉะนั้น เราแทงตลอดสัจจะ ทั้ง-
หลายแล้ว.