เมนู

อารัมภกถาวรรณนา


ก็เถรคาถา และเถรีคาถา แต่ละคาถาเป็นอย่างไร ? และมีประวัติ
เป็นมาอย่างไร ? ถึงความข้อนี้ ท่านจะกล่าวไว้ในคาถาทั้งหลายแล้วก็จริง
แต่เถรคาถาที่พระสุภูติเถระเป็นต้น กล่าวแล้วในคาถานั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวซ้ำ
อีก เพื่อทำข้อความให้ปรากฏ. ก็พระเถระเหล่านั้นพิจารณาเห็นสุขอันเกิดแต่
มรรคผล ตามที่ตนบรรลุแล้ว ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ ด้วยสามารถแห่ง
อุทาน ได้กล่าวคาถาบางอย่างด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมเป็นเครื่องอยู่
คือสมาบัติของตน ได้กล่าวคาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถแห่งคำถาม ได้กล่าว
คาถาบางอย่างไว้ด้วยสามารถ (ชี้ให้เห็น) ข้อที่คำสอนเป็นนิยยานิกธรรม. ใน
เวลาทำสังคายนา พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ร้อยกรองคาถาทั้งหมด
เหล่านั้นไว้ เป็นหมวดเดียวกัน (โดยให้ชื่อ) ว่า " เถรคาถา ". ส่วนเถรีคาถา
ท่านแสดงไว้เฉพาะพระเถรีทั้งหลาย.
ก็ในบรรดาปิฎกทั้ง 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก
คาถาเหล่านั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก. ในบรรดานิกายทั้ง 5 คือ ทีฆนิกาย
มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย (และ) ขุททกนิกาย คาถาเหล่านั้น
นับเนื่องในขุททกนิกาย. ในบรรดาสัตถุศาสน์ 9 คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ สงเคราะห์เข้าเป็น
" คาถา ". ก็ในบรรดาธรรมขันธ์ 84,000 ธรรมขันธ์ ที่พระอานนทเถระ
ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ปฏิญาณไว้อย่างนี้ว่า

ธรรมเหล่าใด ที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า ธรรม
เหล่านั้น ข้าพเจ้าเรือนเอาจากพระพุทธเจ้า 82,000
จากภิกษุรูปอื่น 2,000 รวมเป็น 84,000 ธรรมขันธ์

ดังนี้ ก็สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย.
ในบรรดาเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านั้น เถรคาถาจะว่าโดยนิบาต
ก่อน เอกนิบาตจนถึงจุททสนิบาต โดยนับเกิน 1 คาถาขึ้นไป รวมเป็น
จุททสนิบาต และนิบาต 7 เหล่านี้ คือ โสฬสนิบาต วีสตินิบาต ติงสนิบาต
จัตตาฬีสนิบาต ปัญญาสนิบาต สัฏฐินิบาต ( และ) สัตตตินิบาต รวมเป็น 21
นิบาต. ชื่อว่า นิบาต เพราะอรรถว่า ตั้งไว้ วางไว้. ชื่อว่า เอกนิบาต เพราะ
เป็นที่ตั้งไว้วางไว้ ซึ่งคาถานิบาตละหนึ่งคาถา. แม้ในนิบาตที่เหลือก็พึงทราบ
ความโดยนัยนี้.
ในบรรดานิบาตเหล่านั้น เอกนิบาตมี 12 วรรค. ในวรรคหนึ่ง ๆ
แบ่งออกเป็นวรรคละ 10 จึงมีพระเถระ 120 รูป คาถาก็มีเท่านั้นเหมือนกัน
สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในแต่ละนิบาต พระเถระ 120 รูป ผู้เสร็จกิจ
แล้ว หาอาสวะมิได้พร้อมด้วยพระธรรมสังคาหกาจารย์
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งหลาย ร้อยกรองไว้ดีแล้ว

ดังนี้.
ในทุกนิบาต มีพระเถระ 49 รูป มีคาถา 98 คาถา.
ในติกนิบาต มีพระเถระ 16 รูป มีคาถา 48 คาถา.
ในจตุกนิบาต มีพระเถระ 13 รูป มีคาถา 52 คาถา.
ในปัญจกนิบาต มีพระเถระ 12 รูป มีคาถา 60 คาถา.
ในฉักกนิบาต มีพระเถระ 14 รูป มีคาถา 84 คาถา.

ในสัตตกนิบาต มีพระเถระ 5 รูป มีคาถา 35 คาถา.
ในอัฏฐกนิบาต มีพระเถระ 3 รูป มีคาถา 24 คาถา.
ในนวกนิบาต มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 9 คาถา.
ในทสกนิบาต มีพระเถระ 7 รูป มีคาถา 70 คาถา.
ในเอกาทสกนิบาต มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 11 คาถา.
ในทวาทสกนิบาต มีพระเถระ 2 รูป มีคาถา 24 คาถา.
ในเตรสกนิบาต มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 13 คาถา.
ในจุททสกนิบาต มีพระเถระ 2 รูป มีคาถา 28 คาถา.
ปัณณรสกนิบาต ไม่มี.
ในโสฬสกนิบาต มีพระเถระ 2 รูป มีคาถา 32 คาถา.
ในวีสตินิบาต มีพระเถระ 10 รูป มีคาถา 245 คาถา.
ในติงสนิบาต มีพระเถระ 3 รูป มีคาถา 105 คาถา.
ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 42 คาถา.
ในปัญญาสนิบาต มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 55 คาถา.
ในสัฏฐิกนิบาต มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 68 คาถา.
แม้ในสัตตตินิบาต* มีพระเถระ 1 รูป มีคาถา 71 คาถา.
ก็เมื่อประมวลแล้ว มีพระเถระ 264 รูป มีคาถา 1,360 คาถา
ฉะนี้แล และแม้ข้อนี้ ก็มีวจนะประพันธ์คาถา ที่ท่านกล่าวรับรองไว้ว่า
พระธรรมสังคาหกาจารย์ ประกาศไว้ว่า มีคาถา
1,360 คาถา มีพระเถระ 264 รูป
ดังนี้.
ส่วนเถรีคาถา สงเคราะห์เข้าในโสฬสนิบาต คือ นิบาต 9 นิบาต
ได้แก่ เอกนิบาตจนถึงนวกนิบาต โดยเพิ่มขึ้นนิบาตละ 1 คาถา และเอกาทสก-
* มหานิบาต

นิบาต ทวาทสกนิบาต โสฬสกนิบาต วีสตินิบาต ติงสตินิบาต จัตตาลีสนิบาต
มหานิบาต.
ในเอกนิบาต มีพระเถรี 18 รูป มีคาถา 18 คาถาเท่ากัน.
ในทุกนิบาต มีพระเถรี 10 รูป มีคาถา 20 คาถา.
ในติกนิบาต มีพระเถรี 8 รูป มีคาถา 24 คาถา.
ในจตุกนิบาต มีพระเถรี 1 รูป มีคาถา 4 คาถา.
ในปัญจกนิบาต มีพระเถรี 12 รูป มีคาถา 60 คาถา.
ในฉักกนิบาต มีพระเถรี 8 รูป มีคาถา 48 คาถา.
ในสัตตกนิบาต มีพระเถรี 3 รูป มีคาถา 21 คาถา.
ตั้งแต่อัฏฐกนิบาตไป จนถึงโสฬสกนิบาต มีพระเถรีนิบาตละ 1 รูป
คาถาก็มีจำนวนเท่ากับนิบาตนั้น ๆ.
ในวีสตินิบาต มีพระเถรี 5 รูป มีคาถา 118 คาถา.
ในติงสนิบาต มีพระเถรี 1 รูป มีคาถา 34 คาถา.
ในจัตตาลีสนิบาต มีพระเถรี 1 รูป มีคาถา 48 คาถา
แม้ในมหานิบาต ก็มีพระเถรี 1 รูป มีคาถา 75 คาถา.
ในเถรคาถา และเถรีคาถานี้ พึงทราบจำนวนแห่งนิบาต คาถาวรรค
และคาถาทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้.
จบอารัมภกถาวรรณนา

นิทานกถาวรรณนา


ในเถรคาถา และเถรีคาถาเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนตามที่กำหนดไว้แล้ว
อย่างนี้ เถรคาถาเป็นคาถาต้น. แม้ในบรรดาเถรคาถาเหล่านั้น คาถาที่ท่าน
พระอานนท์ กล่าวไว้เพื่อชมเชยพระเถระเหล่านั้น ในคราวทำปฐมสังคายนา
นี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงฟังคาถา อันน้อมเข้าไปสู่
ประโยชน์ ของพระเถระทั้งหลาย ผู้มีตนอันอบรมแล้ว
บันลืออยู่ ดุจการบันลือแห่งสีหะทั้งหลาย ซึ่งเป็น
สัตว์ประเสริฐว่าเหล่าสัตว์ที่มีเขี้ยวทั้งหลาย ที่ใกล้ถ้ำ
ภูเขา ฉะนั้น ดังนี้
เป็นคาถาแรก.
ศัพท์ว่า สีหะ ในบทว่า สีหานํ ในคาถานั้นมาแล้ว ในความหมายว่า
พญาเนื้อ ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์เป็น พญาเนื้อ. มาใน
ความหมายว่า บัญญัติ ดังในประโยคว่า ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยที่ซึ่งพระองค์เสด็จประทับอยู่. มาในความหมายว่า
ตถาคต ดังในประโยคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นี้ เป็นชื่อของ
เราผู้ตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ในความหมาย 3 อย่างนั้น ในความ
หมายว่าตถาคต สีหศัพท์มาแล้วในความหมายว่าคล้ายกัน ฉันใด แม้ในคาถานี้
ก็ฉันนั้น สีหศัพท์พึงทราบว่า มาแล้วด้วยสามารถแห่งความหมายว่าคล้ายกัน.
เพราะฉะนั้น บทว่า สีหานํ ว จึงตัดบทเป็น สีหานํ อิว (แปลว่า ดุจราชสี)
ลบสระเสียด้วยอำนาจสนธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เอวํ ส เต ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อิว เป็นบทนิบาต.