เมนู

5. สุสารทเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระสุสารทเถระ


[212] ได้ยินว่า พระสุสารทเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
การเห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้เพรียบพร้อมด้วย
ศีลาทิคุณ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นเหตุตัดความ
สงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมกระทำพาลชนให้เป็นบัณฑิตได้
เพราะฉะนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษจึงยังประโยชน์ให้
สำเร็จได้.


อรรถกถาสุสารทเถรคาถา


คาถาของท่านพระสุสารทเถระ เริ่มต้นว่า สาธุ สุวิหิตาน ทสฺสนํ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ
ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์ ประสบความสำเร็จในบางส่วนของวิชชา เห็น
โทษในกามทั้งหลาย ละฆราวาสวิสัย แล้วบวชเป็นดาบส ให้เขาสร้างอาศรม
อยู่ที่ชัฏแห่งป่า ในหิมวันตประเทศ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เมื่อจะ
ทรงอนุเคราะห์เขา จึงเสด็จเข้าไปในเวลาภิกษาจาร. เขาเห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแต่ไกลทีเดียว มีใจเลื่อมใส ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตร แล้วใส่ผลไม้
ที่มีรสหวาน แล้วน้อมถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับบาตรนั้นแล้ว
ทรงทำอนุโมทนา แล้วเสด็จหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ผู้เป็นญาติของพระธรรม
เสนาบดี ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามตามที่เขาขนานให้ว่า สุสารทะ เพราะ
เป็นคนมีปัญญาน้อย ในเวลาย่อมาฟังธรรมในสำนักของพระธรรมเสนาบดี
ได้มีศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถา
ประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นพราหมณ์ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบ
ไตรเพท อยู่ในอาศรม ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์
เครื่องบูชาไฟ และเมล็ดบัวขาวของเรามีอยู่ เราใส่ไว้
ในห่อ แล้วห้อยไว้บนยอดไม้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร
รับเครื่องบูชา พระองค์ทรงพระประสงค์จะถอนเราขึ้น
จึงเสด็จมาภิกขาเรา เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส
ได้ถวายเมล็ดบัวแด่พระพุทธเจ้า พระศาสดาสัมมาสัม
พุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ สมควรรับเครื่อง
บูชา ทรงยังปีติให้เกิดแก่เรา ทรงนำสุขมาให้ใน
ปัจจุบัน ประทับยืนอยู่ในอากาศ ได้ตรัสพระคาถานี้
ว่า ด้วยการถวายเมล็ดบัวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้
ชอบ ท่านจักไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป ด้วย
กุศลมูลนั้นนั่นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ละความชนะ

และความแพ้ บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว ในกัปที่
700 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชา
มีนามว่า สุมังคละ สมบูรณ์ด้วยแล้ว 7 ประการ
มีพลมาก. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของ
พระพุทธเจ้า เราการทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.
ก็พระเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
โดยการชี้ถึงอานิสงส์ และกิตติคุณในการพบท่านผู้เป็นสัตบุรุษ ได้กล่าว
คาถาว่า
การเห็นสัตบุรุษทั้งหลายผู้เพรียบพร้อม ด้วย
ศิลาทิคุณ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เป็นเหตุตัดความ
สงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษทั้ง
หลาย ย่อมกระทำพาลชน ให้เป็นบัณฑิตได้ เพราะ
ฉะนั้น การสมาคมกับสัตบุรุษ จึงยังประโยชน์ให้
สำเร็จได้
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาธุ ได้แก่ เป็นความดีงาม. อธิบายว่า
เป็นความเจริญ. บทว่า สุวิหิตาน ทสฺสนํ ความว่า การเห็นสัตบุรุษ
ทั้งหลาย ผู้เพรียบพร้อมแล้ว เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา ท่านจึงลบนิคหิต
เสีย. ประกอบความว่า การเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้มีอัตภาพอันอบรมดี
แล้ว ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้มีการแสดงธรรม อันจำแนกแจกจ่ายดีแล้ว
ด้วยความอนุเคราะห์ในผู้อื่น เป็นความดี. บทว่า ทสฺสนํ พึงทราบว่าเป็น
ตัวอย่าง เพราะเหตุที่ แม้การฟังเป็นต้นก็นับว่ามีอุปการะมาก. สมดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้ว
ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
เป็นผู้กล่าวสอน ทำให้รู้แจ้ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรม
ได้เป็นอย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าว
การเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่า
นั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่ามีอุปการะ
มาก
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้ท่านกล่าวความเห็นไว้อย่างเดียว เพราะเหตุ
คุณสมบัตินอกนี้ มีความเห็นเป็นมูล. บทว่า กงฺขา ฉิชฺชติ เป็นต้น เป็น
คำบอกเหตุในการเห็นนั้น. อธิบายว่า เมื่อการเห็นกัลยาณมิตรเช่นนั้น มีอยู่
กุลบุตร ผู้มุ่งหาความรู้ ผู้ใคร่ประโยชน์ ย่อมเข้าไปหา ย่อมเข้าไปนั่งใกล้
กัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมไต่ถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไร
เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล ดังนี้. และกัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมบรรเทา
ความสงสัย ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย มีอย่างมิใช่น้อย แก่เขาได้
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กงฺขา ฉิชฺชติ เป็นเหตุตัดความสงสัยเสียได้
ดังนี้. และเพราะเหตุที่กัลยาณมิตรเหล่านั้น ครั้นบรรเทาความสงสัยของกุลบุตร
เหล่านั้นได้ ด้วยการแสดงธรรมแล้ว ย่อมยังความเห็นชอบในกรรมบถ และ
ยังความเห็นชอบในวิปัสสนา ให้บังเกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้น ฉะนั้น ความรู้ย่อม
เจริญแก่กุลบุตรเหล่านั้น (อีกด้วย).
ก็ในกาลใด กุลบุตรเหล่านั้น เจริญวิปัสสนาแล้ว แทงตลอดสัจจะ
ทั้งหลาย (อริยสัจ) ในกาลนั้น วิจิกิจฉามีวัตถุ 16 และมีวัตถุ 8 ย่อม

ถูกตัด คือถูกถอนขึ้น ปัญญาคือความรู้ ย่อมเจริญโดยตรง สัตบุรุษทั้งหลาย
ย่อมกระทำพาลชนให้เป็นบัณฑิตได้ ฉะนี้. บทว่า ตสฺมา เป็นต้น เป็น
คำเครื่องกล่าวซ้ำ (คำลงท้าย) อธิบายว่า เพราะเหตุที่ การเห็นสาธุชน
ทั้งหลาย เป็นเหตุตัดความสงสัยเสียได้ ทำความรู้ให้เจริญงอกงาม สัตบุรุษ
ทั้งหลาย ย่อมทำพาลชน ให้เป็นบัณฑิตได้ เพราะฉะนั้น คือ ด้วยเหตุนั้น
การสมาคมกับสัตบุรุษ คือคนดี ได้แก่ พระอริยเจ้าทั้งหลาย จึงยังประโยชน์
ให้สำเร็จ คือเป็นความดี หมายความว่า การประชุมร่วมกับสัตบุรุษเหล่านั้น
เป็นความเจริญโดยชอบ ดังนี้.
จบอรรถกถาสุสารทเถรคาถา

6. ปิยัญชหเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิยัญชหเถระ


[213] ได้ยินว่า พระปิยัญชหเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่อผู้อื่นยกตน ควรถ่อมตน เมื่อผู้อื่นตกต่ำ
ควรยกตนขึ้น เมื่อผู้อื่นไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ควร
ประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อผู้อื่นยินดีในกามคุณ ไม่ควร
ยินดีในกามคุณ.