เมนู

6. กุฏีวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุฏีวิหารีเถระ


[193] ได้ยินว่า พระกุฏิวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ใครนั่งอยู่ในกุฎี ภิกษุผู้ปราศจากราคะ มีจิตตั้ง
มั่นอยู่ในกุฎี ขอท่านจงรู้อย่างนี้เถิดอาวุโส กุฎีที่ท่าน
ทำไว้แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย.

อรรถกถากุฎีวิหารีเถรคาถา


คาถาของท่านพระกุฏิวิหารีเถระ เริ่มต้นว่า โก กุฏีกายํ. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จ
ไปทางอากาศ ท่านถือหม้อน้ำเย็นไปด้วยคิดว่า เราจักถวายน้ำเป็นทาน แล้ว
เกิดปีติโสมนัส แหงนหน้าขึ้น โยนหม้อน่าขึ้นไป (บนอากาศ) พระศาสดา
ทรงทราบอัธยาศัยของท่าน แล้วประทับยืนอยู่ในอากาศรับหม้อน้ำ เพื่อเจริญ
ศรัทธาปสาทะ. ด้วยการรับน้ำนั้น ท่านเสวยปีติโสมนัสมิใช่น้อย. ข้อความที่
เหลือ คล้ายกับที่กล่าวไว้ในเรื่องของพระอัญชนวนียเถระ ทั้งนั้น. ส่วนข้อ
ที่แปลกกันมีดังนี้
ได้ยินว่า ท่านบวชโดยนัยดังกล่าวแล้ว กระทำบุรพกิจเสร็จแล้ว
ขวนขวายวิปัสสนา ในเวลาเย็นเดินทางไปใกล้ที่นา เมื่อฝนลงเม็ด เห็นกุฎี

อันเกิดด้วยบุญ ของคนเฝ้านา จึงนั่งบนอาสนะที่ลาดด้วยหญ้า. พอท่านนั่งลง
ก็ได้ฤดูเป็นที่สบาย ขวนขวายวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. สมดังคำที่
ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณ
ดังทอง ผู้รุ่งเรืองดังกองไฟ เหมือนพระอาทิตย์ เป็น
ที่รับรองเครื่องบูชาเสด็จไปในอากาศ จึงเอามือทั้งสอง
กอบน้ำแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระพุทธเจ้าผู้มหา-
วีระ มีพระกรุณาในเรา ทรงรับไว้ พระศาสดาทรง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรง
ทราบความดำริของเรา จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยการถวายน้ำนี้และด้วยเกิดปีติ เขาจะไม่ถึงทุคติเลย
ตลอดแสนกัป. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาเชษฐ-
บุรุษของโลก ผู้นราสภ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์
ละความชนะและความแพ้แล้ว บรรลุฐานะอันไม่หวั่น
ไหว ในกัปที่ 6,500 แต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ 3 พระองค์ มีพระนามว่า สหัสสราช เป็น
จอมคน ปกครองแผ่นดิน มีสมุทรสาครเป็นที่สุด.
กิเลสทั้งหลายเราเผาแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธ-
เจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว นั่งอยู่ในกระท่อมนั้น คนเฝ้า
นากลับมา ถามว่า ใครอยู่ในกระท่อม. พระเถระได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคำมี
อาทิว่า ภิกษุอยู่ในกระท่อม. คำของคนเฝ้านา และของพระเถระนี้นั้น ท่าน
รวบรวมไว้เป็นหมวดเดียวกันแล้ว ยกขึ้นสู่สังคีติ โดยรูปอย่างนั้น ว่า

ใครนั่งอยู่ในกระท่อม ภิกษุผู้ปราศจากราคะ มี
จิตตั้งมั่นอยู่ในกระท่อม ขอท่านจงรู้อย่างนี้เถิดอาวุโส
กระท่อมที่ท่านทำไว้แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก กุฏิกายํ เป็นคำถามของคนเฝ้านาว่า
ใครนั่งอยู่ในกุฏินี้. บทว่า ภิกฺขุ กุฏิกายํ เป็นคำให้คำตอบของพระเถระ แก่
คนเฝ้านา. ลำดับนั้น พระเถระ ยังคนเฝ้านาให้อนุโมทนา การใช้สอยกระท่อม
โดยความที่ ตนเป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ เพื่อจะทำบุญนั้นให้ดำรงมั่นคง
โอฬาร จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วีตราโค. คาถานั้น มีใจความดังนี้ ภิกษุผู้ทำ
ลายกิเลสได้แล้วรูปหนึ่ง นั่งอยู่แล้วในกระท่อมของท่าน เพราะเหตุนั่นแหละ
ภิกษุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปราศจากราคะแล้ว เพราะมีราคะอันถอนขึ้นแล้ว โดย
ประการทั้งปวง ด้วยมรรคอันเลิศ ชื่อว่าผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิต
ตั้งมั่นแล้วด้วยดี โดยกระทำพระนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ ด้วยสมาธิอันยอด
เยี่ยม ดูก่อนคนเฝ้านา ผู้มีอายุ เรากล่าวความนี้ อย่างไร ท่านจงรู้ คือ
จงเชื่ออย่างนั้น ท่านจงพ้น (ทุกข์).
กระท่อมอันท่านทำแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์เลย คือกระท่อมที่ท่านสร้าง
ไว้ ไม่เป็นโมฆะ ไม่เป็นหมัน มีแต่ผล มีแต่กำไร เพราะพระอรหันตขีณาสพ
ได้ใช้สอย. ถ้าท่านจะอนุโมทนา ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และ
เพื่อความสุขแก่ท่านตลอดกาลนาน.
คนเฝ้านา ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า เป็นลาภของเราแล้วหนอ เพราะ
ในกุฎีของเรา มีพระผู้เป็นเจ้า เช่นนี้เข้าไปนั่ง แล้วมีจิตเลื่อมใส ได้ยืนอนุ-
โมทนาแล้ว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับถ้อยคำสนทนา ของพระเถระและ
คนเฝ้านาเหล่านั้นนี้ ด้วยทิพโสตธาตุ และทรงทราบการอนุโมทนาของคนเฝ้านา

เมื่อจะทรงยังสมบัติอันคนเฝ้านา จะพึงได้เสวย ให้แจ้งชัด จึงได้ตรัสกะคน
เฝ้านาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ด้วยผลแห่งการที่ภิกษุ ผู้มีจิตสงบแล้ว ไม่มี
อาสวะ อยู่ในกระท่อมของท่านนั้น ท่านจักได้เป็น
จอมเทพ ท่านจะได้เป็นจอมเทวัญ เสวยราชสมบัติใน
หมู่เทพ 36 ครั้ง จักได้เป็นจอมจักรพรรดิ ในแว่น
แคว้น 34 ครั้ง จักได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้
ปราศจากราคะ นามว่า รัตนกุฏี ดังนี้.

จำเดิมแต่นั้นมา พระเถระ ก็ได้เกิดสมัญญานามว่า กุฏิวิหารีเถระ
ทีเดียว เพราะเป็นนามพิเศษที่ท่านได้ในกระท่อม. ก็คาถานี้แหละ ได้เป็น
คาถาพยากรณ์พระอรหัตผลของพระเถระ ฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุฏิวิหารีเถรคาถา

7. ทุติยกุฏิวิหารีเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุฏิวิหารีเถระ


[194] ได้ยินว่า พระกุฏิวิหารีเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
กุฎีนี้เป็นกุฎีเก่า ท่านปรารถนากุฎีใหม่ ก็จงละ
ความหวังในกุฎีใหม่เสีย ดูก่อนภิกษุ กุฎีใหม่นำทุกข์
มาให้.