เมนู

20 ประการ นี้ทุกทิพาราตรีกาล เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จ
แล้ว ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ได้กล่าวคาถานั้นแหละ เพื่อบูชาพระบรมศาสดา.
จบอรรถกถาติสสเถรคาถา

10. วัฑฒมานเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของวัฑฒมานเถระ


[177] ได้ยินว่า พระวัฑฒมานเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระ-
หม่อม แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ
เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพ ฉันนั้น.

จบวรรคที่ 4

อรรถกถาวัฑฒมานเถรคาถา


คาถาของท่านพระวัฑฒมานเถระ. เริ่มต้นว่า สตฺติยา วิย โอ-
มฏฺโฐ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า แม้พระเถระนี้ ก็ได้เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ใน
พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ในกัปที่ 92 นับแต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึง
ความเป็นผู้รู้แล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ เสด็จเที่ยว

บิณฑบาตอยู่ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ถวายผลมะม่วงที่สุกงอมหลุดออกจากขั้ว.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก สั่งสมบุญกรรมสม่ำเสมอ ในพุทธุ-
ปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลเจ้าลิจฉวี ในพระนครไพศาลี. ท่านได้มีนามว่า
วัฑฒมานะ.
เขาเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใส เป็นทายก ยินดีในทาน
เป็นการก เป็นสังฆอุปัฏฐาก เมื่อพระศาสดาตรัสสั่งให้กระทำการคว่ำบาตร
ในเพราะความผิดเห็นปานนั้น เป็นประดุจว่า เหยียบไฟ ยังพระสงฆ์ให้ยก
โทษแล้ว ยังกรรมให้เข้าไปสงบระงับแล้ว เป็นผู้เกิดความสังเวช บวชแล้ว
ก็ครั้นท่านบวชแล้ว ได้เป็นผู้ถูกถิ่นมิทธะ ครอบงำอยู่แล้ว. พระศาสดา
เมื่อจะให้ท่านสลดใจ จึงตรัสพระคาถาว่า
บุรุษที่ถูกแทงด้วยหอก หรือถูกไฟไหม้ที่กระ-
หม่อม แล้วรีบรักษาฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติเว้นรอบ
เพื่อละความกำหนัดยินดีในภพฉันนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภวราคปฺปหานาย ความว่า เพื่อละ
เสียซึ่ง ภวราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ. แม้ถ้ายังละสังโยชน์ที่เป็นไปใน
ภายในไม่ได้แล้ว ชื่อว่า จะละสังโยชน์ที่เป็นไปในภายนอกได้ ไม่มีก็จริง
แต่ถึงอย่างนั้น แม้การละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ก็ย่อมชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ด้วยกล่าวถึงการละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ เพราะมีในลำดับต่าง ๆ
กัน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อุทธัมภาคิยสังโยชน์ อันพระอริยบุคคลบาง
พวก แม้จะตัดขาดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้แล้ว ก็ยังละได้ยาก ฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเฉพาะสังโยชน์ที่ละได้ยาก จึงตรัสการละ
อุทธัมภาคิยสังโยชน์แม้ทั้งหมดไว้ ด้วยการละภวราคะเป็นสำคัญ เพราะเป็น
ของละได้โดยง่าย.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งอัธยาศัย
ของพระเถระนั้นเอง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาวัฑฒมานเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ 4
ในอรรถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ 10 รูป คือ


1. พระคหวรตีริยเถระ 2. พระสุปปิยเถระ 3. พระโสปากเถระ
4. พระโปสิยเถระ 5. พระสามัญญกานิเถระ 6. พระกุมาบุตรเถระ
7. พระกุมาบุตรเถรสหายเถระ 8. พระควัมปติเถระ 9. พระติสสเถระ
10. พระวัฑฒมานเถระ และอรรถกถา.