เมนู

3. โสปากเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโสปากเถระ


[170] ได้ยินว่า พระโสปากเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
บุคคลพึงมีเมตตา ในบุตรคนเดียว ผู้เป็นที่รัก
ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน
ฉันนั้น.

อรรถกถาโสปากเถรคาถา


คาถาของท่านพระโสปากเถระเริ่มต้นว่า ยถาปิ เอกปุตฺตสฺมึ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เกิดเป็น
บุตรของกุฏุมพีคนใดคนหนึ่ง ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม
ว่า กกุสันธะ วันหนึ่งเห็นพระบรมศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส แล้วน้อม
ถวายเมล็ดพืชเครือเถา แด่พระบรมศาสดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย
ความอนุเคราะห์ จึงทรงรับไว้. และท่านมีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในภิกษุสงฆ์
เริ่มตั้งสลากภัต ถวายขีรภัตแด่ภิกษุ 3 รูป โดยตั้งใจอุทิศเป็นสังฆทานจน
ตลอดชีวิต.

ด้วยบุญกรรมเหล่านั้น ท่านเสวยสมบัติไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย คราวหนึ่งเกิดในกำเนิดมนุษย์ ได้ถวายขีรภัต แด่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง. ท่านทำบุญไว้มากในภพนั้น ๆ อย่างนี้ ท่องเที่ยว
ไปในสุคติภพอย่างเดียว ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงยากจนคนใดคนหนึ่ง ใน
พระนครสาวัตถี ด้วยผลแห่งกรรมที่มีในก่อน ในพุทธุปบาทกาลนี้. มารดา
ของท่านบริหารครรภ์ได้ 10 เดือน เมื่อครรภ์แก่รอบ ในเวลาจะคลอดก็ไม่
สามารถจะคลอดได้ ถึงกับสลบไป นอนเหมือนคนตายแล้ว ตลอดเวลานาน.
ญาติทั้งหลาย นำนางไปป่าช้า ด้วยสำคัญว่าตายแล้ว ยกขึ้นสู่เชิงตะกอน
เมื่อลมฝนตั้งขึ้นด้วยอำนาจของเทวดา จึงไม่ยอมใส่ไฟ หลีกไปแล้ว. ทารก
เป็นผู้ไม่มีโรคออกจากต้องมารดา ด้วยอานุภาพแห่งเทวดา เพราะเป็นผู้จะ
กระทำให้แจ้งพระอรหัตในภพสุดท้าย. ส่วนมารดากระทำกาละแล้ว.
เทวดาอุ้มทารกไปวางไว้ในเรือนของคนเฝ้าป่าช้า ด้วยรูปของมนุษย์
เลี้ยงดูด้วยอาหาร อันสมควรตลอดเวลาเล็กน้อย. และต่อจากนั้น คนเฝ้าป่าช้า
ก็ทำทารกนั้นให้เป็นบุตรของตน เลี้ยงดูให้เติบใหญ่. เขาเจริญเติบโตอย่างนั้น
เที่ยวเล่นอยู่กับทารกชื่อว่า สุปปิยะ ผู้เป็นบุตรของคนเฝ้าป่าช้า. เพราะความ
ที่เขาเกิดเจริญเติบโตในป่าช้า จึงได้นามว่า โสปากะ.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไป
ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งเวไนยสัตว์ ทรงเห็นเขาหยั่งลงสู่
ภายในข่ายคือพระญาณ จึงได้เสด็จไปสู่ที่แห่งป่าช้า. ทารกอันบุพเหตุตักเตือน
อยู่ เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วยืนอยู่.
พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขา. เขาฟังธรรมแล้ว ทูลขอบรรพชา
อันพระบรมศาสดาตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้อันบิดาอนุญาตแล้วหรือ จึงนำบิดา
ไปสู่สำนักของพระบรมศาสดา. บิดาของเขาเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ถวาย

บังคมแล้ว อนุญาตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงยังทารกนี้
ให้บวชเถิด. พระบรมศาสดาให้เขาบวชแล้ว ทรงแนะนำในเมตตาภาวนา-
กรรมฐาน.
ท่านเรียนกรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์ อยู่ในป่าช้า ยังฌานมีเมตตา
เป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก กระทำฌานให้เป็นบาท เจริญ-
วิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าว
ไว้ในอปทานว่า
พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ ทรงรู้จบธรรม
ทั้งปวง ทรงพระนามว่า กกุสันธะ พระองค์เสด็จหลีก
ออกจากหมู่ ไปสู่ภายในป่า เราถือเมล็ดพืชเครือเถา
เที่ยวมา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าฌานอยู่
ณ ระหว่างภูเขา เราเห็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นเทพของ
ทวยเทพแล้ว มีใจเลื่อมใส ได้ถวายเมล็ดพืชแด่พระ-
พุทธเจ้า ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล เป็นนักปราชญ์ ใน
กัปนี้เอง เราได้ถวายพืชใดในกาลนั้น ด้วยการถวาย
พืชนั้น เราไม่รู่จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งเมล็ดพืช.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.

ท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อจะแสดงวิธีแห่งการเจริญเมตตา แก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้มีปกติอยู่ในป่าช้าเหล่าอื่น ได้ภาษิตคาถาว่า
บุคคลพึงมีเมตตา ในบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รัก
ฉันใด ภิกษุพึงมีเมตตาในสัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน
ฉันนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอุปมา.
บทว่า เอกปุตฺตสฺมึ ความว่า ที่ชื่อว่าบุตร ด้วยอรรถว่า ทำให้บริสุทธิ์
และดำรง (ต้านทาน) ไว้ซึ่งวงศ์ตระกูล ได้แก่บุตร มีบุตรที่เกิดแต่อก
เป็นต้นเป็นประเภท. บุตรคนเดียวชื่อว่า เอกปุตฺโต ในบุตรคนเดียวนั้น.
บทว่า เอกปุตฺตสฺมึ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในวิสัย (อารมณ์เป็นที่ยึดเหนี่ยว).
บทว่า ปิยสฺมึ ความว่า ชื่อว่าเป็นฐานที่ตั้งแห่งเหตุของความรัก
เพราะเป็นผู้มีความประพฤติน่ารัก เพราะเป็นบุตรคนเดียว และเพราะรูป
ศีล และอาจาระเป็นต้น.
บทว่า กุสลี ความว่า ความเกษม ความสวัสดี ท่านเรียกว่า กุศล
บุคคลชื่อว่า กุสลี เพราะเป็นผู้มีกุศลอันจะพึงได้ คือผู้แสวงประโยชน์ต่อสัตว์
ทั้งหลาย ได้แก่ผู้มีอัธยาศัยประกอบด้วยเมตตา.
บทว่า สพฺเพสุ ปาเณสุ ได้แก่ ในสัตว์ทั่วไป. บทว่า สพฺพตฺถ
ความว่า ในทิศทั้งปวง คือในที่ทั้งปวงมีภพเป็นต้น หรือในทิศทั้งปวงที่ไม่
ได้กำหนดไว้. ท่านอธิบายว่า มารดาบิดาพึงเป็นผู้มีเมตตา คือ พึงแสวงหา
ประโยชน์โดยส่วนเดียว ในบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น พึงเป็นผู้มีเมตตา โดยมุ่งประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียว ใน
สัตว์ทั่วไป ผู้ตั้งอยู่แล้วในทิศทั้งปวง ต่างด้วยทิศบูรพาเป็นต้น ในภพทั้งปวง
ต่างด้วยกามภพเป็นต้น และในวัยทั้งปวงไม่มีกำหนด ต่างโดยวัยหนุ่มเป็นต้น
คือพึงแผ่เมตตาซึ่งมีรสเดียวกัน ไปในที่ทั้งปวง โดยไม่แบ่งชั้นไม่จำกัดเขต
ว่าเป็นมิตร เป็นคนกลาง ๆ หรือเป็นศัตรู. ก็พระเถระครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว
ได้ให้โอวาทว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านพึงประกอบเนือง ๆ

ซึ่งเมตตาภาวนาอย่างนี้ ท่านทั้งหลายพึงเป็นผู้มีส่วน แห่งอานิสงส์ของเมตตา
11 ประการ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมหลับ
เป็นสุข ดังนี้ โดยส่วนเดียว.
จบอรรถกถาโสปากเถรคาถา

4. โปสิยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโปสิยเถระ


[171] ได้ยินว่า พระโปสิยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
หญิงเหล่านี้ ดีแต่เมื่อยังไม่เข้าใกล้ เมื่อเข้าใกล้
นำความฉิบหายมาให้เป็นนิตย์ทีเดียว เราออกจากป่า
มาสู่บ้าน เข้าไปสู่เรือนแห่งญาติแล้ว ไม่ได้บอกลา
ใคร ๆ ออกจากเรือนนั้นหนีมาแล้ว.

อรรถกถาโปสิยเถรคาถา


คาถาของท่านพระโปสิยเถระเริ่มต้นว่า อนาสนฺนวรา. เรื่องราว
ของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เป็น
อันมาก ท่องเที่ยวอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น เกิดเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในป่า