เมนู

อรรถกถาหาริตเถรคาถา


คาถาของท่านพระหาริตเถระ เริ่มต้นว่า สมุนฺนมยมตฺตานํ. เรื่อง
ราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการ อันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้า-
องค์ก่อน ๆ เข้าไปสั่งสมกองการบุญกุศล อันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้
ในภพนั้น ๆ เห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า สุทัสสนะ ในกัปที่ 31
แต่ภัทรกัปนี้ เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว กระทำการบูชาด้วยดอกอัญชันเขียว
ท่องเที่ยวไปในสุคติภพอย่างเดียว ด้วยบุญกรรมนั้น บังเกิดในตระกูลพราหมณ์
มหาศาล ในพระนครสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ท่านได้มีนามว่า หาริตะ
เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาได้นำกุมารีผู้เป็นบิดาของพราหมณ์
ซึ่งสมควรกันโดยตระกูลและรูปเป็นต้นมาให้. เขาเสวยโภคทรัพย์ร่วมกับกุมารี
นั้น มองดูรูปสมบัติของตนและของนางแล้ว อันธรรมดาตักเตือนอยู่ ได้ความ
สลดใจว่า ขึ้นชื่อว่า รูปเช่นนี้ จะถูกชราและมัจจุราชย่ำยีต่อกาลไม่นานเลย.
โดยล่วงไปไม่กี่วันนัก งูเห่า กัดภรรยาของเขาจนถึงตาย เขาเกิด
ความสลดใจด้วยเหตุนั้น เกินประมาณ ไปสำนักของพระศาสดาแล้ว ฟังธรรม
ตัดความผูกพันในเรือนได้แล้ว ออกบวช เมื่อท่านเรียนกรรมฐานอันสมควร
แก่จริงอยู่ กรรมฐานก็ไม่สำเร็จ จิตไม่แล่นไปตรงทาง ท่านเข้าไปสู่บ้าน
เพื่อบิณฑบาต เห็นช่างศรคนหนึ่ง ใส่ลูกศรเข้าในเครื่อง ทำการดัดให้ตรง
ก็คิดว่า ช่างศรเหล่านี้ ยังดัดลูกศรแม้ชื่อว่าหาเจตนามิได้ให้ตรง เหตุไรเราจึง
ไม่ทำจิต (ของตน) ให้ตรงเล่า ดังนี้แล้ว กลับแค่นั้นเองนั่งปรารภวิปัสสนา
ในที่พักกลางวัน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในอากาศเบื้องบนของท่าน
เมื่อจะประทานโอวาท ได้ตรัสพระคาถาความว่า
ดูก่อนหาริตะ เธอจงยกตนของเธอขึ้นจากความ
เกียจคร้าน เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัด ฉะนั้น
เธอจงทำจิตให้ตรง แล้วทำลายอวิชชาเสีย ดังนี้.

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระนี้แหละ เมื่อจะสอนตนเหมือน
สอนคนอื่น ได้กล่าว (คาถานี้) ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมุนฺนมยํ ความว่า เมื่อจะยกตนขึ้น
โดยชอบ อธิบายว่า เมื่อยกตนจากความเกียจคร้านนั้น ไม่ให้ตกไปในฝ่าย
โกสัชชะ ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติ ประกอบให้บริบูรณ์ด้วยความเพียร.
บทว่า อตฺตานํ ได้แก่ จิต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
สมุนฺนมยํความว่า ยกตนขึ้นจากธรรมที่เป็นฝ่ายโกสัชชะ. ม อักษร กระทำการเชื่อมบท.
อธิบายว่า ถ้าจิตของเธอไม่ดำเนินไปตรงแนวกรรมฐาน เพราะความเป็น
ผู้มีความเพียรเลวไซร้ เธอจงยกจิตนั้นขึ้นโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งการ
ปรารภความเพียร คือ กระทำไม่ให้ย่อหย่อน ไม่ให้มีปมด้อย ความก็ว่า
ดูก่อนหาริตะ เมื่อเธอทำอย่างนี้ ชื่อว่า (ยกตนขึ้นจากความเกียจคร้าน)
เหมือนช่างศรยกลูกศรขึ้นดัดฉะนั้น เธอจงทำจิตให้ทรงแล้ว ทำลายอวิชชาเสีย
เปรียบเหมือนช่างศร เมื่อจะดัดลูกศรที่คดและไม่ตรง แม้นิดหน่อยย่อมดัดให้
ตรง เพื่อจะยิงได้ตรงเป้า ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเมื่อจะดัดจิตที่หดหู่ เพราะ
ตกไปในโกสัชชะ โดยไม่ได้รักษาไว้ จิตที่หดหู่ เพราะตกไปในอุทธัจจะ
โดยที่ไม่ได้รักษาไว้ ต้องทำจิตให้ตรง โดยการถึงอัปปนา เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น

แล้ว ขวนขวายวิปัสสนา จงทำลาย คือ ขจัดอวิชชา ด้วยมรรคญาณอันเลิศ
โดยพลัน. พระเถระฟังพระคาถามนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนา ได้เป็นพระอรหันต์
โดยกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีภูเขาลูกหนึ่ง ชื่อว่า
วสละ พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า สุทัสสนะ
อยู่ที่ซอกเขา เราถือดอกไม้ที่เกิดในป่าหิมพานต์ เหาะ
ขึ้นสู่อากาศ ณ ที่นั้น เราได้เห็นพระสัมพุทธะผู้ข้ามพ้น
โอฆะ ไม่มีอาสวะ ครั้งนั้น เราถือเอาดอกอัญชันเขียว
จบเหนือเศียรเกล้าแล้ว บูชาพระสยัมภูพุทธเจ้า ผู้แสวง
หาประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ในกัปที่ 31 แต่ภัทรกัปนี้
เราได้เอาดอกไม้ใดบูชา ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จัก
ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา. เราเผากิเลสทั้งหลาย
แล้ว ฯ ล ฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำสำเร็จแล้ว
ดังนี้.

ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว แม้เมื่อพยากรณ์อรหัตผลก็ได้
กล่าวคาถานั้นแหละ.
จบอรรถกถาหาริตเถรคาถา

10. อุตติยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระอุตติยเถระ


[167] ได้ยินว่า พระอุตติยเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เมื่ออาพาธบังเกิดขึ้นแก่เรา สติก็เกิดขึ้นแก่เราว่า
อาพาธเกิดขึ้นแก่เราแล้ว เวลานี้ เป็นเวลาที่เราไม่ควร
ประมาท.

จบวรรคที่ 3

อรรถกถาอุตติยเถรคาถา


คาถาของท่านพระอุตติยเถระเริ่มต้นว่า อาพาเธ เม สมุปฺปนฺเน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ท่านเป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ
สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ไว้ในภพนั้น ๆ เป็นอันมาก เกิดเป็น
จระเข้มีรูปร่างใหญ่โต ณ แม่น้ำจันทภาคา ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า สิทธัตถะ ในกัปที่ 94 นับแต่ภัทรกัปนี้ถอยหลังไป.
มันเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปสู่ฝั่งแม่น้ำ เพื่อจะข้ามฟาก
มีจิตเลื่อมใส ประสงค์จะนำเสด็จข้ามฟาก จึงนอนในที่ใกล้ฝั่งน้ำ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ประทับยืนบนหลัง เพื่อจะทรงอนุเคราะห์มัน. มันร่าเริงชื่นชม
โสมนัส ด้วยกำลังแห่งปีติ ทำให้มีอุตสาหะเป็นทวีคูณ ว่ายตัดกระแสน้ำ
นำพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปสู่ฝั่งโน้น ด้วยกำลังอันรวดเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตรวจดูความเลื่อมใสแห่งจิตของเขาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า จระเข้นี้
จุติจากภพนี้แล้ว ไปบังเกิดในเทวโลก จำเดิมแต่นั้น ก็ท่องเที่ยวไปในสุคติภพ
อย่างเดียว จักบรรลุอมตธรรม ในกัปที่ 94 แต่ภัทรกัปนี้ ดังนี้แล้ว เสด็จ
หลีกไป. เขาวนไปวนมาอยู่แต่ในสุคติภพเท่านั้น ด้วยอาการอย่างนั้น เกิดเป็น