เมนู

อรรถกถาวีรเถรคาถา


คาถาของท่านพระวีรเถระเริ่มต้นว่า โย ทุทฺทมโย ดังนี้. เรื่องราว
ของท่านเป็นมาอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ 90 นับถอยหลังแต่ภัตรกัปนี้ ท่านปฏิบัติที่ประทับ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า วิปัสสี. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านเก็บดอก
คนทิสอ มีลักษณะคล้ายกับดอกยางทราย มาบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วย
บุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ ในกัปที่ 35 ถอยหลังแต่ภัทรกัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
พระนามว่า มหาปตาปะ. ท้าวเธอเสวยราชย์โดยธรรมสม่ำเสมอ ยังหมู่สัตว์
ให้ตั้งอยู่ในทางสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปะ. ในกัปนี้อีก บำเพ็ญทานแก่คน
กำพร้าและคนเดินทางไกลเป็นต้น ได้ถวายขีรภัตรแก่พระสงฆ์ ท่าน บำเพ็ญ
กองการบุญกุศลอันสำเร็จด้วยทาน และสั่งสมประโยชน์ คือ พระนิพพาน
นอกนี้ ในภพนั้น ดังพรรณนามานี้ แล้วท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลอมาตย์ของพระเจ้าปเสนทิ ในกรุงสาวัตถี ใน
พุทธุบาทกาลนี้ คนทั้งหลายขนานนามท่านว่า วีระ.
ท่านเจริญวัยแล้ว ประกอบด้วยคุณทั้งหลาย มีความสมบูรณ์ด้วยพละ
และชวนะเป็นต้น สมชื่อ เป็นผู้กล้าหาญในสงคราม เมื่อมารดาบิดา จัดหาภรรยา
ให้ โดยการทำความผูกพัน ก็ได้บุตรคนเดียวเท่านั้น อันเหตุแห่งบุรพกรรม
ตักเตือนอยู่เห็นโทษในกามทั้งหลายและในสงสารเกิดความสลดใจ บวชแล้ว

เพียรพยายามอยู่ ได้เป็นผู้มีอภิญญา 6 ต่อกาลไม่นานเลย. สมดังคาถาประพันธ์
ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นคนเฝ้าพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้ถือเอาดอกยางทรายไปบูชา
พระพุทธเจ้า ในกัปที่ 91 แต่ภัทรกัปนี้ เราได้บูชา
พระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่-
รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ 35 แต่
ภัทรกัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิองค์หนึ่ง เป็น
จอมประชามีนามว่า มหาปตาปะ มีพละมาก คุณวิเศษ
เหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6
เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราทำ
สำเร็จแล้ว ดังนี้.

ก็ภรรยาเก่า (ของท่าน) ประสงค์จะให้พระเถระ ผู้บรรลุพระอรหัต
อย่างนี้แล้ว ยับยั้งอยู่ด้วยความสุข อันเกิดแต่ผลสมาบัติ ให้สึก พยายาม
ประเล้าประโลม โดยนัยต่าง ๆ ในระหว่าง ๆ วันหนึ่งไปถึงที่ท่านพักในกลางวัน
เริ่มแสดงมายาหญิง มีเล่ห์มายาเป็นต้น. ลำดับนั้น ท่านพระวีระ คิดว่า
หญิงคนนี้ เป็นคนโง่แท้หนอ ประสงค์จะเล้าโลมเรา อุปมาดุจมีความประสงค์
ให้เขาสิเนรุราชสั่นสะเทือน ด้วยลมปีกของลิ่นไรฉะนั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดง
ความที่กิริยาของหญิงนั้น ไม่มีประโยชน์ จึงได้ภาษิตคาถาว่า
เมื่อก่อน ผู้ใด เป็นผู้อันบุคคลอื่นฝึกได้โดยยาก
แต่เดี๋ยวนี้ ผู้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฝึกฝน
ได้ดีแล้ว เป็นนักปราชญ์ มีความสันโดษ ข้ามความ

สงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะกิเลสมาร ปราศจากขนพอง
สยองเกล้า ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่น ดับ-
กิเลสและควานเร่าร้อนได้แล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น เนื้อความของบททั้งหลายมีอาทิว่า โย ทุทฺทมโย
ดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น. ส่วนคำ (ที่จะกล่าวต่อไป) นี้
เป็นเพียงโยชนา (คำประกอบความ) ในคาถานี้. เมื่อก่อนผู้ใด ชื่อว่าเป็นผู้
อันบุคคลอื่นฝึกได้ยาก เพราะยังมีกิเลสที่ยังไม่ได้ปราบ หรือเพราะอันข้าศึก
ทั้งหลาย ไม่สามารถเพื่อจะปราบ คือ เพื่อจะชนะในสนามรบได้ แต่บัดนี้
ผู้นั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ฝึกพระองค์แล้ว ทรงฝึกแล้วด้วยธรรมเครื่องฝึก
อันสูงสุด ชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วยความเพียร คือ สัมมัป-
ปธาน 4 อย่าง จึงเป็นผู้มีความสันโดษ ข้ามความสงสัยได้แล้ว เป็นผู้ชนะ
กิเลสมาร ปราศจากความขนพองสยองเกล้า เป็นปราชญ์ได้นามว่า วีระ ชื่อว่า
ดับกิเลสและความเร่าร้อนได้ เพราะดับกิเลสได้โดยไม่มีส่วนเหลือ ต่อแต่นั้นไป
ก็เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวด้วยมารเช่นท่านตั้ง 100 ตน 1,000 ตน หญิง
นั้นฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า เมื่อพระเถระผู้เป็นสามีของเรา ปฏิบัติได้เช่นนี้
การอยู่ครองเรือนของเราจะมีประโยชน์อะไร ดังนี้ เกิดความสลดใจ บวชใน
สำนักนางภิกษุณีทั้งหลาย เป็นผู้มีวิชชา 3 ต่อกาลไม่นานเลย.
จบอรรถกถาวีรเถรคาถา

9. ปิลินทวัจฉเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระปิลินทวัจฉเถระ


[146] ได้ยินว่า พระปิลินทวัจฉเถระ ได้ภาษิตคาถานี้ไว้อย่างนี้ว่า
การที่เรามาสู่สำนักของพระศาสดานี้ เป็นการ
มาดีแล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ การที่เราคิดไว้ว่า จักฟัง
ธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักบวช
เป็นความคิดที่ไม่ไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ทรงจำแนกธรรมทั้งหลายอยู่ เราได้บรรลุ
ธรรมอันประเสริฐแล้ว.

อรรถปิลินทวัจฉเถรคาถา


คาถาของท่านพระปิลินทวัจฉเถระ เริ่มต้นว่า สฺวาคตํ ดังนี้.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้ เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ณ กรุงหงสาวดี ใน
กาลของพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ฟังธรรมในสำนักของ
พระศาสดา โดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแล เห็นพระบรมศาสดาทรง
แต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่ง ไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ โดยเป็นที่รักเป็นที่พอใจ
ของเทวดาทั้งหลาย ปรารภนาตำแหน่งอันเลิศนั้น บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต
จุติจากอัตภาพนั้นแล้วท่องเที่ยวไป ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย แล้วบังเกิด