เมนู

12. อัมพวนเปตวัตถุ



ว่าด้วยเปรตฝากทรัพย์ไปให้ลูกใช้หนี้



พวกพ่อค้าได้ถามเวมานิกเปรตตนหนึ่งว่า :-
[132] สระโบกขรณีของท่านนี้น่ารื่นรมย์ดี มี
พื้นราบเรียบ มีท่าอันงดงาม มีน้ำมาก ดารดาษ
ไปด้วยปทุมชาติต่าง ๆ มีดอกอันบานดีเกลื่อน-
กล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้สระโบกขรณี อันเป็น
ที่ฟูใจนี้อย่างไร สวนมะม่วงของท่านนี้น่า
รื่นรมย์ดี เผล็ดผลทุกฤดู มีดอกบานเป็นนิตย์
นิรันดร์ เกลื่อนกล่นด้วยหมู่ภมร ท่านได้วิมาน
นี้อย่างไร.

เวมานิกเปรตนั้นตอบว่า :-
สระโบกขรณีมีร่มเงาอันเยือกเย็น น่า
รื่นรมย์ใจ ข้าพเจ้าได้ในที่นี้ เพราะทานที่ธิดา
ของข้าพเจ้าถวายมะม่วงสุก น้ำ ข้าวยาคู แด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย.

เวมานิกเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงนำพวกพ่อค้า
ไปดูทรัพย์ 500 กหาปณะ แล้วสั่งว่า พวกท่านจงถือเอาเป็นส่วนตัว
กึ่งหนึ่งจากทรัพย์นี้ แล้วให้ธิดาของเราใช้หนี้ที่เรายืมเขามากึ่งหนึ่ง
เถิด.

พวกพ่อค้ากลับมาถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ได้บอกแก่ธิดาของ
เปรตนั้น แล้วได้ให้ทรัพย์ส่วนที่เปรตนั้นให้แก่ตนแก่เทพธิดานั้น
นางได้ให้กหาปณะร้อยกหาปณะแก่เจ้าหนี้แล้วให้ทรัพย์ที่เหลือ
แก่สหายของบิดา ส่วนตนรับทำการใช้สอยกฏุมพีนั้นอยู่ กฏุมพีนั้น
กลับคืนทรัพย์นั้นให้แก่นาง แล้วยกนางให้เป็นภรรยาของบุตรชาย
คนหัวปี ต่อมาภายหลัง นางมีบุตรคนหนึ่ง ได้กล่าวคาถาเป็นเชิง
กล่อมบุตรว่า :-
ขอท่านทั้งหลาย จงดูผลแห่งทานที่จะพึง
เห็นเอง และผลของความข่มใจ ความสำรวม
เราเป็นทาสีอยู่ในตระกูลของลูกเจ้า บัดนี้ มาเป็น
ลูกสะใภ้เป็นใหญ่ในเรือน.

ภายหลัง พระศาสดาทรงเห็นนางมีญาณแก่กล้าจึงทรงแผ่
พระรัศมีไปแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ดุจประทับอยู่เฉพาะหน้า
แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ความว่า :-
ความประมาท ย่อมครอบงำบุคคลผู้ติด
อยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชังใน
ทุกข์และสุข.

จบ อัมพวนเปตวัตถุที่ 12

อรรถกถาอัมพวนเปตวัตถุที่ 12



เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
อัมพเปรต จึงตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า อยญฺจ เต โปกฺขรณี
สุรมฺมา
ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เสื่อมสิ้นจาก
โภคสมบัติ. ภริยาของเขาก็ตาย ยังมีธิดาคนเดียวเท่านั้น. เขาได้
ให้ธิดานั้นไปอยู่เรือนมิตรของตน เอาเงินที่ยืมมา 100 กหาปณะ
ไปซื้อสิ่งของ บรรทุกเกวียนไปค้าขาย ไม่นานนักก็ได้เงิน 500
กหาปณะ อันเป็นกำไรพร้อมทั้งต้นทุนแล้วกับมาพร้อมด้วยเกวียน
ในระหว่างทางพวกโจรดักซุ่มปล้นหมู่เกวียน. พวกหมู่เกรียนแตก
กระจายหนีไป. ฝ่ายคฤหบดีนั้น ซ่อนกหาปณะไว้ที่กอไม้แห่งหนึ่ง
แล้ว แอบอยู่ในที่ไม่ไกล. พวกโจรจับคฤหบดีนั้นฆ่าทิ้งเสีย. เพราะ
ความโลภในทรัพย์ เขาจึงบังเกิดเป็นเปรตในที่นั้นนั่นเอง.
พวกพ่อค้าไปยังกรุงสาวัตถี เล่าเรื่องนั้น ให้ธิดาของเขาทราบ.
ธิดานั้น เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง ร่ำไรอย่างหนัก เพราะความตาย
ของบิดา และเพราะภัยแห่งเลี้ยงชีพ. ลำดับนั้น กฏุมพีผู้เป็นสหาย
ของบิดานั้น จงกล่าวปลอบโยนนางว่า ธรรมดาว่า ภาชนะดิน
ทั้งหมดมีความแตกไปเป็นที่สุด ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็มี
การแตกไปในที่สุด ฉันนั้นเหมือนกัน. ธรรมดาว่า ความตายย่อม
ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ และไม่มีการตอบแทนได้ เพราะฉะนั้น เจ้า