เมนู

3. นันทกเปตวัตถุ



ว่าด้วยขัดขวางการให้ทานไปเกิดเป็นเปรต



[123] มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม
ว่าปิงคละเป็นใหญ่ในสุรัฏฐประเทศ เสด็จไป
เฝ้าเจ้าพระโมริยะแล้ว กลับมาสู่สุรัฏฐประเทศ
เสด็จมาถึงที่มีเปือกตม ในเวลาเที่ยงซึ่งเป็น
เวลาร้อน ทอดพระเนตรเห็นทางอันรื่นรมย์ เป็น
ทางที่เปรตเนรมิตไว้ จึงตรัสบอกนายสารถีว่า
ทางนี้น่ารื่นรมย์ เป็นทางปลอดภัย มีความสวัสดี
ไม่มีอุปัทวันตราย ดูก่อนนายสารถี ท่านจงตรง
ไปทางนี้แหละ เมื่อเราไปโดยทางนี้ จักถึงเขต
เมืองสุรัฏฐะเร็วทีเดียว พระเจ้าสุรัฏฐ์ได้เสด็จไป
โดยทางนั้น พร้อมด้วยจตุรงคเสนา บุรุษคนหนึ่ง
สะดุ้งตกใจกลัว ได้กราบทูลพระเจ้าสุรัฏฐ์ว่า
พวกเราเดินทางผิด เป็นทางน่ากลัวขนพอง
สยองเกล้า เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่
ข้างหลังไม่ปรากฏ พวกเราเดินทางผิดเสียแล้ว
พวกเราเห็นจะเดินมาใกล้สำนักพวกอมนุษย์
กลิ่นอมนุษย์ฟุ้งไป ข้าพระองค์ได้ยินเสียงอัน
พิลึกน่าสะพึงกลัว พระเจ้าสุรัฏฐ์ทรงสะดุ้ง

พระทัย ตรัสกะนายสารถีว่า พวกเราเดินทางผิด
เสียแล้ว เป็นทางน่ากลัวขนพองสยองเกล้า
เพราะทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่
ปรากฏ พวกเราเดินทางผิด พวกเราเห็นจะเดิน
มาใกล้สำนักพวกอมนุษย์ กลิ่นอมนุษย์ย่อมฟุ้ง
ไป เราได้ยินเสียงอันน่าสะพึงกลัว แล้วเสด็จ
ขึ้นสู่คอช้าง ทอดพระเนตรไปในทิศทั้ง 4 ได้
ทรงเห็นต้นไทรต้นหนึ่ง มีร่มเงาชิดสนิทดี เขียว
ชอุ่มดุจสีเมฆ มีสีและสัณฐานคล้ายเมฆ จึงรับสั่ง
กะนายสารถีว่า ป่าใหญ่เขียวชอุ่มดุจสีเมฆ มีสี
และสัณฐานคล้ายเมฆปรากฏอยู่นั่นใช่ไหม.

นายสารถีกราบทูลว่า :-
ข้าแต่พระมหาราชา นั่นเป็นต้นไทร มี
ร่มเงาชิดสนิทดี เขียวชอุ่ม มีสีและสัณฐาน
คล้ายเมฆ.
พระเจ้าสุรัฏฐ์เสด็จเข้าไปจนถึงต้นไทร
ใหญ่ที่ปรากฏอยู่ แล้วเสด็จลงจากคอช้าง เสด็จ
เข้าไปสู่ต้นไทร ประทับนั่งที่โคนต้น พร้อมด้วย
หมู่อำมาตย์ราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็น
ขันน้ำมีน้ำเต็ม และขนมอันหวานอร่อย บุรุษ
มีเพศดังเทวดา ประดับด้วยสรรพาภรณ์ เข้าไป

เฝ้าพระเจ้าสุรัฏฐ์แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
หาราชา พระองค์เสด็จมาดีแล้ว และพระองค์
ไม่ได้เสด็จมาร้าย ข้าแต่พระองค์ผู้กำจัดศัตรู
เชิญพระองค์เสวยน้ำและขนมเถิด พระเจ้าข้า.
พระเจ้าสุรัฏฐ์พร้อมด้วยอำมาตย์และข้า-
ราชบริพาร พากันดื่มน้ำและกินขนมแล้ว จึง
ถามว่า ท่านเป็นเทพ เป็นคนธรรพ์ หรือเป็น
ท้าวสักกปุรินททะ พวกเราไม่รู้จักท่าน จึงจะ
ขอถาม พวกเราพึงรู้จักท่านอย่างไร.

นันทกเปรตกราบทูลว่า :-
ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์ไม่ใช่
เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกปุรินททะ
ข้าพระองค์เป็นเปรต จากประเทศสุรัฏฐ์มาอยู่
ที่นี่.

พระราชาตรัสถามว่า :-
เมื่อก่อน ท่านอยู่ในประเทศสุรัฏฐ์ มีปกติ
อย่างไร มีความประพฤติอย่างไร ท่านมีอานุภาพ
อย่างนี้ เพราะพรหมจรรย์อะไร.

นันทกเปรตตอบว่า :-
ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู ผุ้ผดุงรัฐ
ให้เจริญ ขอพระองค์ อำมาตย์ราชบริพารและ

ปุโรหิต จงสดับฟัง ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
เมื่อก่อน ข้าพระองค์เป็นบุรุษอยู่ในเมืองสุรัฏฐ์
เป็นคนใจบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล
ตระหนี่ บริภาษสมพราหมณ์ทั้งหลาย ห้าม
ปรามมหาชนซึ่งพากันทำบุญให้ทาน ทำอันตราย
แก่หมู่ชนเหล่าอื่นผู้กำลังให้ทาน ได้ห้ามว่า
ผลแห่งทานไม่มี ผลแห่งการสำรวมจักมีที่ไหน
ใคร ๆ ผู้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึกฝน
บุคคลผู้ไม่เคยฝึกฝนแล้วเล่า สัตว์ทั้งหลายเป็น
สัตว์เสมอกันทั้งสิ้น การเคารพอ่อนน้อมต่อ
ผู้เจริญในตระกูล จักมีแต่ที่ไหน กำลังหรือความ
เพียรไม่มี ความพากเพียรของบุรุษจักมีแต่ที่ไหน
ผลทานไม่มี ทานและศีลไม่ทำบุคคลผู้มีเวรให้
หมดจดได้ สัตว์ย่อมได้ของที่ควรได้ สัตว์เมื่อ
จะได้สุขหรือทุกข์ ย่อมได้สุขหรือทุกข์อันเกิด
แต่ที่น้อมมาเอง มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย
ไม่มี โลกอื่นจากโลกนี้ก็ไม่มี ทานอันบุคคลให้
แล้วย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล แม้ทานอัน
บุคคลตั้งไว้ดีแล้วก็ไม่มีผล บุรุษใดฆ่าบุรุษอื่น
และตัดศีรษะบุรุษอื่น จะจัดว่าบุรุษนั้นทำลาย
ชีวิตของผู้อื่นหาได้ไม่ ไม่มีใครฆ่าใด เป็นแต่

ศาตราย่อมเข้าไปในระหว่างอันเป็นช่องกาย
7 ช่องเท่านั้น ชีพของสัตว์ทั้งหลายไม่ขาดสูญ
ไม่แตกทำลาย บางคราวมี 8 เหลี่ยม บางคราว
กลมเหมือนงบน้ำอ้อย บางคราวสูงตั้ง 500
โยชน์ ใครเล่าสามารถตัดชีพให้ขาดได้ เหมือน
หลอดด้ายอันบุคคลซัดไปแล้ว. หลอดด้ายนั้น
อันด้ายคลายอยู่ ย่อมกลิ้งไปได้ ฉันใด ชีพนั้น
ก็ฉันนั้น ย่อมแหวกหนีไปจากร่างได้ บุคคลผู้
ออกจากบ้านนี้ไปเข้าบ้านอื่น ฉันใด ชีพนั้นก็
ออกจากร่างนี้แล้วไปเข้าร่างอื่น ฉันนั้นเหมือน
กัน บุคคลออกจากเรือนหลังนี้แล้วไปเข้าเรือน
หลังอื่น ฉันใด แม้ชีพนั้นก็ออกจากร่างนี้แล้ว
เข้าไปอาศัยร่างอื่นฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสิ้น
กำหนด 8 ล้าน 4 แสนมหากัป สัตว์ทั้งหลายทั้ง
ที่เป็นพาล ทั้งที่เป็นบัณฑิต จักยังสงสารให้
สิ้นไป แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เอง สุขทุกข์
เหมือนตักตวงได้ด้วยทะนานและกะเช้า พระ-
ชินเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงสุขทุกข์ทั้งปวง สัตว์นอกนี้
ล้วนเป็นผู้ลุ่มหลง เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์มี
ความเห็นอย่างนี้จึงได้เป็นคนหลง ถูกโมหะ
ครอบงำ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุศีล ตระหนี่ บริภาษ

สมณพราหมณ์ภายใน 6 เดือน ข้าพระองค์จัก
ทำกาลกิริยา จักตกไปนรกอันเผ็ดร้อน ร้ายกาจ
โดยส่วนเดียว นรกนั้นมี 4 เหลี่ยม 4 ประตู
จำแนกออกเป็นส่วน ๆ. ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก
ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นนรกนั้นเป็นเหล็กแดง
ลุกเป็นเปลวเพลิงโชติช่วง แผ่ไปร้อยโยชน์โดย
รอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ ล่วงไปแสนปี ในกาลนั้น
ข้าพระองค์จึงจะไดยินเสียงในนรกนั้นว่า แน่ะ
เพื่อนยาก เมื่อพวกเราไหม้อยู่ในนรกนี้ กาล
ประมาณแสนปีล่วงไปแล้ว ข้าแต่พระมหาราชา
แสนโกฏิปีเป็นกำหนดอายุของสัตว์ผู้หมกไหม้
อยู่ในนรก ชนทั้งหลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคน
ทุศีล ตีเตียนพระอริยเจ้า ย่อมหมกไหม้อยู่ใน
นรกแสนโกฎิปี ข้าพระองค์จักเสวยทุกขเวทนา
อยู่ในนรกนั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นผลแห่งกรรม
ชั่วขอข้าพระองค์ เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึง
เศร้าโศกนัก ข้าแต่พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู
เป็นที่เจริญใจของชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์
จงทรงสดับคำของข้าพระองค์ ขอความเจริญจงมี
แด่พระองค์ ธิดาของข้าพระองค์ชื่ออุตตรา ทำ
แต่กรรมดี ยินดีแล้วในนิจศีลและอุโบสถศีล

ยินดีในทานจำแนกแจกทาน รู้ความประสงค์
ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ มีปกติทำไม่ให้
ขาดในสิกขา เป็นสะใภ้อยู่ในตระกูลอื่น เป็น
อุบาสิกาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้
ทรงศิริ ข้าแต่พระมหาราชา ขอความเจริญจง
มีแด่พระองค์ นางอุตตราได้เห็นภิกษุผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน มีจักษุอันทอด
ลงแล้ว มีสติ คุ้มครองทวาร สำรวมดีแล้ว เที่ยว
ไปตามลำดับตรอก เข้าไปสู่บ้านนั้น นางได้ถวาย
น้ำขันหนึ่งและขนมมีรสหวานอร่อย แล้วอุทิศ
ส่วนกุศลให้ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้ จงพลันสำเร็จแก่บิดา
ของดิฉันที่ตายไปแล้วเถิด ในทันใดนั้น ผลแห่ง
ทานก็บังเกิดมีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์มีความ
ประสงค์สำเร็จได้ดังความปรารถนา บริโภค
กามสุขเหมือนดังท้าวเวสวัณมหาราช ข้าแต่
พระมหาราชาผู้กำจัดศัตรู เป็นที่เจริญใจของ
ชาวแว่นแคว้น ขอพระองค์จงทรงสดับคำของ
ข้าพระองค์ พระพุทธเจ้าอันบัณฑิตกล่าวว่า เป็น
ผู้เลิศแห่งโลกพร้อมตั้งเทวโลก ขอพระองค์
พร้อมทั้งพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึง

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นสรณะเถิด ชนทั้ง
หลายย่อมบรรลุอมตบทด้วยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 ขอพระองค์พร้อมด้วยพระโอรส
และพระอัครมเหสี จงถึงมรรคมีองค์ 8 และ
อมตบทเป็นสรณะเถิด พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติ
อยู่ในมรรค 4 จำพวก และผู้ต้องอยู่ในผล 4
จำพวก นี้เป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ประกอบ
ด้วยปัญญาและศีล ขอพระองค์พร้อมทั้งพระ-
โอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็น
สรณะเถิด ขอพระองค์จงรีบงดเว้นจากการฆ่า
สัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของ
พระองค์ ไม่ตรัสเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด.

พระราชาตรัสว่า :-
ดูก่อนเทวดา ท่านเป็นผู้ปรารถนาความ
เจริญแก่เรา ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา
เราจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของ
เรา เราจักเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและ
พระสงฆ์อันยอดเยี่ยมกว่าเทวดาและมนุษย์ว่า
เป็นสรณะ เราจะรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลัก
ทรัพย์ จะยินดีด้วยภรรยาของตน จะไม่พูดเท็จ
ไม่ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า

เหมือนโปรยแกลบลอยไปในลมอันแรง เหมือน
ทิ้งหญ้าและใบไม้ลอยไปในแม่น้ำมีกระแสอัน
เชี่ยว จักเป็นผู้ยินดีในพระพุทธศาสนา พระเจ้า
สุรัฐครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงงดเว้นจากความเห็นอัน
ชั่วช้า ทรงนอบน้อมต่อพระผู้มีพระศาสดาแล้ว
เสด็จขึ้นทรงรถพระที่นั่ง บ่ายพระพักตร์ไปทาง
ทิศตะวันออก กลับคืนสู่พระนคร.

จบ นันทกเปตวัตถุที่ 3

อรรถกถานันทกเปตวัตถุที่ 3



เรื่องนันทกเปรตนี้ มีตำเริ่มต้นว่า ราชา ปิงฺคลโก นาม
ดังนี้. การอุบัติขึ้นของเรื่องนั้น เป็นอย่างไร ?
นับแต่พระศาสดาปรินิพพาน ล่วงไปได้ 200 ปี ในสุรัฐวิสัย
ได้มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ปิงคละ. เสนาบดี
ของพระราชานั้น ชื่อว่า นันทกะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความผิดแปลก
เที่ยวยกย่องการถือผิด ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ทายกถวายแล้ว
ไม่มีผล ดังนี้. ธิดาของนายนันทกะนั้น เป็นอุบาสิกา ชื่อว่า อุตตรา
เขาได้ยกให้แต่งงานในตระกูลที่เสมอกัน. ฝ่ายนันทกเสนาบดี
ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเวมานิกเปรต ที่ต้นไทรใหญ่ ในดงไฟไหม้.
เมื่อนันทกเสนาบดีนั้น ทำกาละแล้ว นางอุตตรา ได้ถวายหม้อน้ำดื่ม
เต็มด้วยน้ำหอมสะอาดและเยือกเย็น และขันอันเต็มด้วยขนม เพียบ